TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

About ETDA

ข่าวสารและกิจกรรม

รายการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Documents

รายการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

1. การจัดเก็บเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

1.1 ข้อมูลพื้นฐานเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์
เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record) เป็นการพัฒนาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่อำนวยความสะดวกเพื่อการแพทย์ ที่ดำเนินการโดยจัดเก็บเอกสารผู้ป่วยทั้งแฟ้มโดยการสแกนภาพลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดี หรือฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น และการบันทึกข้อมูลประวัติผู้ป่วยเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง เพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บเอกสารและประโยชน์ในการสืบค้น

แผนภาพที่ 1 ปริมาณเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

P1(3).jpg
ที่มา: โรงพยาบาลที่มีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ให้ข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ในปี 2553-2557 ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 

เวชระเบียนในโรงพยาบาลที่มีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งจัดเก็บในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2558 มีปริมาณทั้งสิ้น 542,126 ราย มีอัตราการเติบโต ร้อยละ -54.6 จากปีก่อนหน้า เมื่อดูภาพรวมการเติบโตของในช่วงตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 พบว่าปริมาณเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 28.9 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาของโรงพยาบาลในปีนั้น ๆ ด้วย ดังแสดงตามแผนภาพที่ 1 ทั้งนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีจัดเก็บเวชระเบียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะผู้ป่วยในอย่างเดียวในปี 2557-2558 

1.2 สถานภาพการใช้บริการเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

แผนภาพที่ 2 ปริมาณการใช้บริการเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์
P2(4).jpg
ที่มา: โรงพยาบาลที่มีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ให้ข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ในปี 2553-2557 ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ปริมาณการใช้บริการเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น  4,529,863 ราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราการเติบโต ร้อยละ 253.9 จากปีก่อนหน้า และการเติบโตตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 พบว่าปริมาณการเรียกใช้บริการเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 73.4 ซึ่งเป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้บริการจากเวชระเบียนในรูปแบบต่างๆ ผ่านเครือข่ายของโรงพยาบาลนั้นๆ ดังแสดงตามแผนภาพที่ 2

2. การรับ-ส่งข้อมูลผู้ป่วยทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านการรับ-ส่งข้อมูลผู้ป่วยทางอิเล็กทรอนิกส์
การโอนเงินค่าบริการสาธารณสุขให้กับหน่วยบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการขอรับการจ่ายชดเชยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้ดำเนินการจ่ายชดเชยการจัดและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่เน้นการให้บริการได้อย่างทั่วถึง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีการขอเบิกชดเชยผ่านทางระบบ e-Claim และจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ผ่านระบบ e-Payment เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยบริการ

แผนภาพที่ 3 มูลค่าการโอนเงินค่าบริการสาธารณสุขให้กับหน่วยบริการทางอิเล็กทรอนิกส์

P3(3).jpg
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

การโอนเงินค่าบริการสาธารณสุขให้กับหน่วยบริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์จาก สปสช.ในปี พ.ศ.2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 117,373.72 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ -3.5 จากปีก่อนหน้า เมื่อดูภาพรวมการเติบโตตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 พบว่า การโอนเงินค่าบริการสาธารณสุขให้กับหน่วยบริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 11.5 ดังแสดงตามแผนภาพที่ 3 ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่มีการเริ่มใช้ระบบการบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยอำนวยความสะดวกและสามารถเข้าถึงการบริการให้แก่โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 การขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (e-Claim)
e-Claim คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์จาก สปสช. ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีขั้นตอนของการขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ดังแสดงแผนภาพที่ 4

แผนภาพที่ 4 ขั้นตอนของการขอรับค่าใช้จ่าย
P4(1).jpg
หมายเหตุ หน่วยบริการ หมายถึง โรงพยาบาล สถานี อนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียน เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ
(ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)) 

แผนภาพที่ 5 ปริมาณการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (e-Claim)
P5.jpg
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 

ปริมาณรายการขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์หลังการให้บริการผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ผ่านระบบ e-Claim ทั้งประเภทผู้ป่วยนอก (กรณีค่าใช้จ่ายสูง กรณีฉุกเฉินข้ามเขต และกรณีส่งต่อข้ามจังหวัด) และผู้ป่วยใน ในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 20,196,780  รายการ มีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.6 จากปีก่อนหน้า ดังนั้น เมื่อดูภาพรวมการเติบโตของในช่วงตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 พบว่า จำนวนการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (e-Claim) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 35.1 ดังแสดงในแผนภาพที่ 5

2.3 การขอเบิกจ่ายยาจากหน่วยบริการ ภายใต้ระบบ Vendor Managed Inventory หรือ VMI
ระบบ Vendor Managed Inventory หรือ VMI เป็นระบบซึ่ง สปสช.ได้ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการกระจายยาส่งไปยังหน่วยบริการทั่วประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยลดปัญหาการจัดเก็บยาของโรงพยาบาลได้ เนื่องจากเป็นระบบที่มีการรายงานรายการยาในระบบต่อเนื่อง และดูความต้องการยาของพื้นที่ ทำให้มีการตรวจสอบและการเติมยาเข้าสู่คลังยาของโรงพยาบาลและพื้นที่ต่อเนื่อง จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องยาขาด ยาหมดอายุ และการจัดส่งไม่ทัน เป็นระบบที่รับประกันได้ว่าทั้งยาและวัคซีนจะมีใช้ในโรงพยาบาลโดยไม่ขาดแคลน ช่วยลดปัญหาการจัดเก็บยาของโรงพยาบาล 

แผนภาพที่  6 ปริมาณการขอเบิกจ่ายยาจากหน่วยบริการ ภายใต้ระบบ Vendor Managed Inventory: VMI (ข้อมูลเฉพาะยา จ.2 เท่านั้น)
P6.jpg
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ปริมาณการขอเบิกจ่ายยาจากหน่วยบริการภายใต้ระบบ VMI (ข้อมูลเฉพาะยา จ.2 เท่านั้น) ในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 821,563 รายการ มีอัตราการเติบโตสูงถึง ร้อยละ 23.9 จากปีก่อนหน้า เมื่อดูภาพรวมการเติบโตตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 พบว่า ปริมาณการขอเบิกจ่ายยาจากหน่วยบริการ ภายใต้ระบบ VMI มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี ร้อยละ 427.8 ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงรวดเร็ว ส่งผลให้การขอเบิกจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังแสดงแผนภาพที่ 6

2.4 การตรวจสอบสิทธิ์การรักษา
เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลส่วนตัวของผู้รับบริการ โดยประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิ์ของการรับการรักษาสุขภาพว่า สามารถเข้ารับบริการจากหน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติได้ จากคำนิยามของ การตรวจสอบสิทธิ์ คือ การตรวจสอบสิทธิ์ที่หน่วยบริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับการบริการจาก สปสช. 

แผนภาพที่  7 ปริมาณการตรวจสอบสิทธิ์การรักษาทางอิเล็กทรอนิกส์
P7.jpg
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

การตรวจสอบสิทธิการรักษาทางอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2558 มีจำนวนรายการทั้งสิ้น1,109,205,905  รายการ มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.3 จากปีก่อนหน้า เมื่อดูภาพรวมการเติบโตตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 การตรวจสอบสิทธิการรักษาทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 19.9 ดังแสดงแผนภาพ 7