Digital Trend
- 15 May 20
-
1322
-
#COVID19 เศรษฐกิจ และเทรนด์ออนไลน์ที่เปลี่ยนไป
"COVID-19 กระทบเศรษฐกิจไทยยังไงบ้าง"
- ธุรกิจท่องเที่ยว/บริการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รายได้ลด แรงงาน เสี่ยงตกงาน ขาดรายได้
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เนื่องจากมีมาตรการควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดในประเทศ
- การผลิตในจีนหยุดชะงัก กระทบการผลิต/ส่งออกประเทศอื่น ๆ
- เศรษฐกิจจีนและโลกชะลอตัว การควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการซื้อ/ขาย และการลงทุนลดลง อีกทั้งกระทบการส่งออกไทย
อาจขยายผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รายได้ของธุรกิจและครัวเรือน ให้ทวีความรุนแรงได้อีก...
- คนกังวลต่อรายได้ในอนาคต ชะลอการบริโภค ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- ธุรกิจสามารถทำกำไรได้น้อยลง ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพราะเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้
- ธุรกิจขนาดเล็กและกลางเสี่ยงกระทบมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
- คนอาจลดการใช้จ่ายลงจากความรู้สึกว่าจนลง เพราะราคาสินทรัพย์ลดลง
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น คนหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับคนหมู่มาก
- กิจกรรมที่ไปส่วนหนึ่งจะเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยถาวร ไม่อาจเพิ่มกลับมาชดเชยในภายหลังถึงแม้คนจะเลิกกังวลแล้วก็ตาม
แม้คนจะชะลอการบริโภค แต่ก็ยังมีความต้องการสินค้าบางกลุ่มอยู่
"ส่องพฤติกรรมการบริโภค ช่วงวิกฤต COVID-19"
แม้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ความต้องการสินค้าบางอย่างยังมีอยู่
Priceza Insight ได้เผยถึงสินค้าที่ยอดโตช่วงวิกฤตนี้คือ
- สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 139%
- หนังสือ 105%
- ส่วนลดและแพ็กเกจท่องเที่ยว 102% (น่าสนใจ เพราะเป็นไปได้ว่าคนซื้อตุนดีลส่วนลดไว้เที่ยวหลังวิกฤต)
- สินค้าแม่และเด็ก 96%
- อุปกรณ์สำนักงานและเครื่องเขียน 95%
ส่วนรายงานข้อมูลในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ประจำวันที่ 16-29 มี.ค. 2563 ของ Zanroo บอกว่า สิ่งที่คนพูดถึงว่า จะทำหลังจบวิกฤต Covid-19 คือ
- อยากกิน “หมูกระทะ” “ผัก”
- อยากช้อปปิ้งในห้าง
- อยากเที่ยวพักผ่อน มีการวางแผนเที่ยวภายใน 3-6 เดือน หลังจบวิกฤต
- อยากใช้บริการเสริมความงาม
คนที่เป็นผู้ค้าออนไลน์หรืออยากเป็นผู้ค้าออนไลน์ จึงสามารถหาข้อมูลสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการช่วงวิกฤต COVID-19 ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้จบวิกฤต
"ช่วงวิกฤต COVID- 19 คนกระจุกตัว และใช้เวลาบนออนไลน์มากขึ้น"
จากผลสำรวจการใช้อินเทอร์เน็ตในแอปพฤติมาตร (ม.ค.-ก.พ.63) ของ
กสทช. และ
Kantar พบว่า
- Twitter, Line, Facebook,YouTube, แพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ คนใช้งาน เพิ่มสูงขึ้นกว่า 80%
- คนไทยมีการติดตามข่าวเฉลี่ย 12 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยติดตามผ่าน Social Media สูงถึง 86%
"ธุรกิจต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์" โอกาสบนออนไลน์มาแล้ว เพิ่มการทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์
- รู้ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเรากระจุกตัวอยู่ที่ไหน และเพิ่มการสื่อสารกับลูกค้า
- ขยายช่องทางการขาย เช่น ขายในแฟลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ สามารถสั่งออนไลน์ มีบริการจัดส่งถึงบ้าน
- สร้าง Brand Awareness ให้คนจดจำ เพิ่มโอกาสการเข้าไปอยู่ในใจลูกค้า และเป็นลูกค้าเราในระยะยาว เช่น
- สร้าง Content ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ให้ความรู้/สร้างแรงบันดาลใจ เปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นในช่วงวิกฤต
- สื่อให้เห็นว่าเราอยู่เคียงข้างผู้บริโภคในช่วงวิกฤต
- ทำการตลาดออนไลน์ เช่น อันดับการค้นหา ให้ Influencer ช่วยโปรโมตสินค้า
เน้นสร้างความน่าเชื่อถือในสิ่งที่ผู้บริโภคกังวล เช่น เรื่องความสะอาดปลอดภัยของสินค้า
"ธุรกิจที่ว่าเป็นไปได้ยาก นั่นแหละโอกาส"
ธุรกิจที่เป็นไปได้ยาก แต่มีความต้องการ แปลว่า มีคู่แข่งน้อย เป็นโอกาสในการทำธุรกิจ ร้านที่ปกติเป็นออฟไลน์ คนยังมีความต้องการซื้ออยู่ หากพัฒนาสินค้า/บริการให้ตอบสนองความต้องการ เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ ก็สามารถสร้างรายได้ช่วงวิกฤตได้ เช่น
- ร้านชาบู ปกติต้องทานที่ร้าน ก็พัฒนามาจัดส่งถึงบ้าน มีแถมหมอสุกี้ให้
- ร้านชานมไข่มุกเป็นแก้ว ถ้าสั่งเป็นแก้วให้มาส่งทีละครั้งจะเสียค่าจัดส่งมาก จึงเปลี่ยนมาขายเป็นถังแกลลอน จัดส่งถึงบ้าน
อย่าลืมนึกถึงสิ่งนี้ เมื่อปรับตัวมาทำออนไลน์
- จะติดต่อยังไง มีหน้าร้านออนไลน์ ให้คนเข้าถึงง่าย หลายช่องทาง เช่น Facebook Fanpage, Line Official Account, Website
- มีคนคอยตอบคำถามลูกค้าไหม ตอบแช็ตเร็ว คอยให้ข้อมูลลูกค้า
- จ่ายเงินยังไง เพิ่มช่องทางการชำระเงินออนไลน์
- ร้านนี้เชื่อถือได้หรือเปล่า รักษามาตราฐาน จัดส่งเร็ว ตรงต่อเวลา สินค้าตรงปก
เทรนด์การใช้อินเทอร์เน็ตปี 2562 ถึงปีแห่ง COVID-19
พวกเราทุกคนสามารถ update เทรนด์การใช้อินเทอร์เน็ตปี 2562 ที่ผ่านมา เพิ่มเติมได้ที่
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 หรือสแกน QR code
ที่สำคัญ ยังร่วมเป็นอีกหนึ่งเสียงที่สะท้อนการใช้งานอินเทอร์เน็ตประจำปี 2563 นี้ที่
https://www.etda.or.th/iub หรือสแกน QR code