อื่นๆ
- 29 Sep 18
-
50343
-
SMART CONTRACT คืออะไร ?
..ความเป็นมาของคำว่า Blockchain กับ Smart Contract ..
Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง และเป็น platform ในการทำธุรกรรมแบบ peer-to-peer ที่มีการบันทึกข้อมูลรายการธุรกรรมทั้งหมดแบบกระจายศูนย์ (Decentralize)
ภาพที่ 1 : ภาพด้านซ้ายเป็นระบบ Payment ในปัจจุบันที่ต้องผ่านคนกลาง ภาพด้านขวาเป็นการทำธุรกรรมแบบ peer-to-peer ที่มีการบันทึกข้อมูลรายการธุรกรรมทั้งหมดแบบกระจายศูนย์ (Decentralize)
ที่มารูปภาพ : https://techsauce.co/wp-content/uploads/2016/04/blockchain.png
ภาพที่ 2 : พัฒนาการของ Blockchain
ที่มารูปภาพ : https://coinsutra.com/3rd-generation-blockchain/
โดยพัฒนาการของ Blockchain นั้น (จากรูปภาพที่ 2) ในยุคแรก (Blockchain 1.0) เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 2008 ได้ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในภาคการเงิน เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับเงินดิจิทัล (cryptocurrency) เช่น Bitcoin ซึ่งสามารถใช้แทนสกุลเงินจริงได้
ต่อมา การพัฒนา Blockchain ในระยะต่อมา (Blockchain 2.0) เมื่อปี ค.ศ. 2014 ได้กำเนิดสกุลเงินดิจิทัล (Cyptocurrency) ที่ชื่อว่า Ethereum ขึ้น ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain (พัฒนาขึ้นโดย Vitalik Buterin) โดยในยุคนี้เป็นยุคที่ Blockchain พัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกกันว่า
Smart Contract บน Blockchain ที่ไม่มีตัวกลางควบคุมและไม่ต้องกลัวใครไม่ทำตามเงื่อนไข
ต่อมาการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ในระยะถัดมา (Blockchain 3.0) ในปี ค.ศ. 2017 ซึ่งเป็น ยุคของ Dapp หรือ Decentralized application โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับ smart contract เพื่อสร้างกระบวนการแบบกระจายศูนย์ที่เป็นอิสระ ที่ต้องมีการกำหนดกฎการทำธุรกรรมของกลุ่มกันเองและดำเนินการด้วยความเป็นอิสระ ในรูปแบบธุรกรรมอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยผู้ประกอบการสามารถนำ smart contract มาสร้าง Application ที่แก้ปัญหาในชีวิตจริงและ disrupt ธุรกิจโมเดลเดิมๆ
..Smart contract คืออะไร ??..
จากที่กล่าวความเป็นมาของ Blockchain ข้างต้นแล้ว คำว่า “Smart contract” ถือกำเนิดมาในยุคของ Blockchain 2.0 โดยอาจจะเกิดคำถามที่ว่า Smart contract คืออะไร …??
“smart contract” หมายถึง กระบวนการทางดิจิทัล ที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง อย่างเช่น ธนาคาร ซึ่งการสร้าง smart contract ที่เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้ ถึงขั้นตอน กลไกในการทำรายการธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งการพัฒนานี้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมของธนาคาร
Smart contract เกิดมาจาก Mr. Nick Szabo ที่เป็นผู้เสนอไอเดียว่า Blockchain สามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร โดยทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และการ Hack ข้อมูลทำได้ยาก
..ตัวอย่าง Smart Contract..
ภาพที่ 3 : กระบวนการซื้อขายรถยนต์โดยการทำสัญญาทั่วไป
ที่มารูปภาพ : https://blockchainhub.net/smart-contracts/
ในที่นี่จะขอยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์ โดยการทำสัญญาทั่วไปจะเป็นการทำสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย จากตัวอย่าง (ในรูปภาพที่ 3) หากอลิซต้องการซื้อรถยนต์จากบ๊อบ ซึ่งต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้จะต้องยืนยันและรับรองความถูกต้องของข้อตกลงซึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน แต่โดยปกติแล้วบุคคลที่สามต้องเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานด้านทะเบียนยานยนต์ร่วมกับทนายความและ / หรือ บริษัท ประกันภัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานานและต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนมากสำหรับคนกลางเหล่านี้
ภาพที่ 4 : กระบวนการซื้อขายรถยนต์ด้วย Smart contract
ที่มารูปภาพ : https://blockchainhub.net/smart-contracts/
ภาพที่ 5 : กระบวนการตรวจสอบความเป็นเจ้าของรถยนต์
ที่มารูปภาพ : : https://blockchainhub.net/smart-contracts/
กรณีที่เป็น Smart contract เมื่อทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาอยู่ในเครือข่าย blockchain แล้ว (ดังรูปภาพที่ 5 และ 6) ถ้าอลิสต้องการซื้อรถจากบ๊อบ โดยใช้ Smart contract บน blockchain ธุรกรรมจะได้รับการตรวจสอบโดยแต่ละ Node ในเครือข่าย Blockchain เพื่อดูว่าบ๊อบเป็นเจ้าของรถหรือไม่และถ้าอลิสมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเงินให้กับบ๊อบ
..ข้อแนะนำเกี่ยวกับ Smart contract..
ภาพที่ 6 : ตัวอย่างของการนำ Smart Contract ไปใช้ ในแบบธุรกรรมทั่วไป ไปถึงธุรกรรมที่มีความซับซ้อน
ที่มารูปภาพ : https://blockchainhub.net/smart-contracts
ในบางธุรกิจของบางประเทศที่อาจนำ Smart contract ไปใช้งานบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดและพิจารณาความเหมาะสมของการนำไปใช้โดยอาจจะเริ่มทำเป็นโครงการนำร่องทดลองเพื่อเป็นต้นแบบการใช้งานเพื่อรองรับกรณีที่อาจจะเกิดปัญหาจะสามารถนำข้อมูล เป็นพยานหลักฐานอย่างไร จะต้องมีกระบวนการอย่างไรบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับในฝั่งของภาครัฐเองอาจจะต้องมีการพิจารณาในกระบวนการ Smart contract ต้องมีการกำกับ/ดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่ หากประเทศไทยมีการนำกระบวนการ Smart contract มาใช้กับธุรกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันที่อาจจะเกิดผลกระทบจากการใช้งานดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง:
- https://techsauce.co/tech-and-biz/understand-blockchain-in-5-minutes/
- https://blockchainhub.net/smart-contracts/
- https://www.it24hrs.com/2017/blockchain-evolution/
- https://money.kapook.com/view188398.html
- https://siamblockchain.com /2017/06/08/smart-contract-คืออะไร/
- https://www.uih.co.th/th/knowledge/blockchain-evolution
- https://coinman.co/2017/08/27/blockchain-1-2-3-investment/
ผู้เขียน: กลุ่มงานกำกับฯ