TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

Knowledge Sharing

ETDA ถอดบทเรียน Future Economy and Internet Governance

Digital Trend Documents
  • 18 ก.พ. 63
  • 1229

ETDA ถอดบทเรียน Future Economy and Internet Governance

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเวทีแลกเปลี่ยนกับคณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปศส.) รุ่นที่ 18 ในหัวข้อ "Future Economy and Internet Governance" โดย ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ รองผู้อำนวยการ ETDA ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ ETDA ณ ห้อง Walk the Talk ชั้น 15 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563

CHK_4901.png

ประเทศไทยพร้อมหรือยังกับเรื่อง Digital Economy

ดร.ชัยชนะ กล่าวว่า  เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลงาน โดยใช้เวลาน้อยและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยรัฐ เป็นผู้ส่งเสริม (Promoter) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ซึ่งจะครอบคลุมใน 5 เรื่องสำคัญ ทั้ง Hard Infrastructure, Soft Infrastructure, Service  Infrastructure, Digital Economy และ Digital Society


20200131_Future-Economy-v06-034_s.jpg

เมื่อถามว่า “ประเทศไทยพร้อมหรือยังกับเรื่อง Digital Economy” จากตัวเลขต่าง ๆ ที่สนับสนุนในเรื่องนี้มากมาย สะท้อนให้เห็นว่า เราพร้อมยิ่งกว่าพร้อม เพราะจากสถิติพบว่า ประเทศไทยมีประชาชนทั้งหมดเกือบ 70 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้อินเทอร์แล้วกว่า 70% หรือราว 47.5 ล้านคน นั่นหมายความว่า ในทุก ๆ 10 คน จะมีคนใช้อินเทอร์เน็ต 7 คน และมีการใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 129.7 ล้านเลขหมาย ที่เป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะการขยายฐานของโครงการเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่แล้วกว่า 24,700 หมู่บ้าน และบริการ Free WI-FI ที่ครอบคลุมชุมชนกว่า 10,000 จุด ทำให้คนพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และมีชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 10 ชั่วโมง 5 นาที ส่วนใหญ่นิยมใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก การติดต่อผ่านแอปพลิเคชั่นแชท อย่างไลน์ ตลอดจนใช้ซื้อขายออนไลน์ ซึ่งขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 กิจกรรมยอดฮิต 2 ปีซ้อน ส่งผลให้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Transactions และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce ของไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2561 ไทยจะมีมูลค่าอีคอมเมิร์ซกว่า 3.15 ล้านล้านบาท นอกจากนั้น ยังพบว่า มีผู้ใช้บริการพร้อมเพย์แล้วกว่า 46.5 ล้านหมายเลข

20200131_Future-Economy-v06-036.jpg

แม้เราพร้อมกับเศรษฐกิจดิจิทัล แต่กลับพบว่า เราอยู่ในบทบาทของ “ผู้ใช้” มากกว่าการเป็น “ผู้ผลิต” หรือ “ผู้ประกอบการเจ้าของแพลตฟอร์มต่าง ๆ" ที่ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ

ขณะที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันก็กำลังส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนและธุรกิจ ส่งผลให้เกิดธุรกิจและความต้องการบุคลากรประเภทใหม่ ๆ ขึ้น โดยข้อมูลจากบริษัท การ์ทเนอร์บริษัทให้คำปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐฯ พบว่า มีเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับธุรกิจ ปี 2562 ที่น่าจับตา 4 กลุ่ม ดังนี้

20200131_Future-Economy-v06-038.jpg

  1. กลุ่ม Intelligent เน้นสร้างโปรแกรม อุปกรณ์ หรือซอฟต์แวร์อัจฉริยะ ที่สามารถพัฒนาเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนตัวเองได้ตลอดเวลา เช่น
    • Autonomous Things หรือ AI ที่ทำงานได้อย่างอิสระ หุ่นยนต์ โดรน หรือรถยนต์ไร้คนขับ
    • Augmented Analytics ใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
    • AI-Driven Development พัฒนาขับเคลื่อนด้วย AI เช่น การใช้ใบหน้า เสียง ลายนิ้วมือในการระบุตัวตน
  2. กลุ่ม Digital เน้นเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างโลกดิจิทัลกับโลกที่แท้จริง สร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
    • Digital Twin โมเดลจำลองวัตถุในรูปแบบ 3 มิติ รวมถึงการบันทึกและเชื่อมต่อข้อมูลของสิ่งนั้น เพื่อตรวจสอบการทำงาน หรือคาดการณ์ความผิดปกติล่วงหน้า
    • Empowered Edge ระบบคอมพิวเตอร์ Edge Computing ช่วยให้การประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น
    • Immersive Experience ประสบการณ์ที่ได้จากเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง โดยการใช้ VR, AR และ MR
  3. กลุ่ม Mesh เทคโนโลยีเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง คน ธุรกิจ อุปกรณ์ เนื้อหา และบริการ ประยุกต์ใช้ในธุรกิจดิจิทัล
    • Blockchain ระบบฐานข้อมูล (Database) ที่ไม่มีตัวกลาง แต่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้
    • Smart Spaces พื้นที่อัจฉริยะ เน้นให้มนุษย์และเทคโนโลยีสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยเทคโนโลยีแบบเปิด การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อย่าง Smart City, Digital Workplace, Smart Home
  4. กลุ่ม Support
    • Privacy and Ethics ประเด็นด้านจริยธรรมและความเป็นส่วนตัวบนโลกดิจิทัลจะได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งในระดับบุคคล องค์กรและภาครัฐ
    • Quantum Computing ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ศาสตร์ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูล ที่มีความรวดเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
20200131_Future-Economy-v06-039.jpg

ทิศทางเศรษฐกิจอนาคต

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจอนาคต (Future Economy) ของไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเทรนด์อีคอมเมิร์ซไทยในปี 2563 ดังนี้

20200131_Future-Economy-v06-0311.jpg
  • อีคอมเมิร์ซจะดุเดือดขึ้น เพราะการรุกคืบของธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะจีน และนโยบายการค้าเสรี
  • โซเชียลคอมเมิร์ซ จะมาแรง ตอบกระแสสังคม ผู้ประกอบการปิดการขายได้ในแอปพลิเคชันเดียว
  • แบรนด์จะหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าหรือ Customer Insight 
  • การให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันหรือ Ride-Hailing จะขยายตัวผนวกอีคอมเมิร์ซ รับส่งสินค้าตรงถึงมือผู้บริโภคในวันเดียว
  • ขายผ่าน e-Marketplace ยังคงมาแรง เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย และไม่เสียโอกาสในการขายให้กับพ่อค้าคนกลาง
  • Omni Channel คือโอกาสที่ห้ามพลาด คือเป็นการผสมผสานช่องทางการขายทั้งแบบ Offline และ Online เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อในการชอปปิงสินค้า
20200131_Future-Economy-v06-0312.jpg

ขณะที่ Digital Disruption ได้สร้างปรากฏการณ์ ก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ มากมาย จนทำให้หลายบริษัททั้งเล็กและใหญ่ต่างปฏิวัติ ปรับตัว ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่าง Disney ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองจากการเป็นผู้ผลิตและฉายภาพยนตร์ผ่านทางโรงภาพยนตร์หรือเครือข่ายโทรทัศน์ของตัวเอง มาเปิดแพลตฟอร์มสตรีมมิงทางออนไลน์ของตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ

ธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต คือสิ่งที่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะรัฐ เอกชน และประชาสังคม ต้องร่วมกันดูแล พัฒนา การใช้งานให้เป็นประโยชน์

สำหรับ Internet Governance หรือที่เรียกกันว่า ธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต คือสิ่งที่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะรัฐ เอกชน และประชาสังคม ต้องร่วมกันดูแล พัฒนา การใช้งานให้เป็นประโยชน์ ไม่เป็นโทษ เพราะอินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของ ดังนั้น จึงมี  ICANN (The Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers) ขึ้น เพื่อเป็นสถาบันหลักในการธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ตของโลก มีหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานหลักของระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดความร่วมมือในด้านการจัดสรรชื่อและหมายเลขทางอินเทอร์เน็ต (IP Address Address) โดยการบริหารงานจาก บอร์ด คณะกรรมการบริหารบริษัท ที่มาจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชน ที่มาร่วมกำกับดูแล เพราะหากขาดหน่วยงานที่เข้ามาดูแลจัดการในเรื่องดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหาย เสี่ยงต่อการสูญเสียผลประโยชน์ของประเทศ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงทางความมั่นคงปลอดภัยและการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตได้ยกระดับเศรษฐกิจในภาพรวม

CHK_4923.png  CHK_4889.png

ที่ผ่านมา ETDA ร่วมกับ ICANN ลงนาม MOU เปิดพรมแดนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโลกเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันและสร้างการเรียนรู้ผ่านการแปลเอกสารที่สำคัญของ ICANN ให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโลก และมีเจ้าหน้าที่ของ ETDA ทำหน้าที่ GAC (Government Advisory Committee) หรือคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาลของประเทศไทย เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการบริหาร ICANN ให้เกิดความสมดุลระหว่างข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดโดย ICANN กับการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนที่จะพึงได้รับ

20200131_Future-Economy-v06-0322.jpg

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)