TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

ข้อมูลข่าวสาร

ข้อมูลสถิติ ข้อมูลสถิติ

รายงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตราขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีสถานะเสมอด้วยการทำธุรกรรมโดยหนังสือ มีความน่าเชื่อถือ และมีผลทางกฎหมายเสมอเหมือนวิธีการทำธุรกรรมโดยทั่วไปที่ได้ปฏิบัติอยู่แต่เดิม และด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป กับธุรกรรมภาครัฐและธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาและได้มีการออกประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตามหลักสากลซึ่งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดขึ้น บทความนี้นำเสนอสถิติในการติดตามและประเมินผลความคืบหน้าของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตาม พรบ. ฉบับนี้ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ

ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการใดๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐ หรือโดยหน่วยงานของรัฐมีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ ตลอดจนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จากการรวบรวมข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 มีจำนวนหน่วยงานภาครัฐที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ้น 56 หน่วยงาน จำแนกเป็นหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบในปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1 หน่วยงาน ปีงบประมาณ 2554 จำนวน 16 หน่วยงาน ปีงบประมาณ 2555 จำนวน 23 หน่วยงาน และปีงบประมาณ 2556 จำนวน 16 หน่วยงานตามลำดับ โดยแสดงดังตารางที่ 1 และภาพที่ 1

ตารางที่ 1 : แสดงข้อมูลจำนวนหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ในแต่ละปีงบประมาณ

ปีงบประมาณ จำนวนหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบ
2553 1
2554 16
2555 23
2556 16

ตารางที่ 1 : แสดงข้อมูลจำนวนหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ ในแต่ละปีงบประมาณ

ปีงบประมาณ จำนวนหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบ
2553 1
2554 16
2555 23
2556 16
 
pic_agency_pass_sp.png
ภาพที่ 1 แสดงข้อมูลจำนวนหน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ
ในแต่ละปีงบประมาณ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556)

 
2. ธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 (กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์) โดย พ.ร.ฎ. ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและหลากหลาย และเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าโดยรวมทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง การควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.ฎ. นี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดจากการประกอบธุรกิจกล่าวคือ บัญชี ก เป็นธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ทราบ บัญชี ข เป็นธุรกิจบริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียน และบัญชี ค เป็นธุรกิจบริการที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก่อนให้บริการ ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2556 ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับใบอนุญาต (บัญชี ค) มีจำนวนทั้งสิ้น 82 หน่วยงาน โดยแบ่งเป็นหน่วยงานประเภทสถาบันการเงิน 31 หน่วยงาน และหน่วยงานประเภทไม่ใช่สถาบันการเงิน 51 หน่วยงาน โดยแสดงดังภาพที่ 2

pic_epayment.png
ภาพที่ 2 จำนวนผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ปีงบประมาณ 2556
(ข้อมูลเป็นตัวเลขสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556)

สำหรับใบอนุญาต (บัญชี ค) ที่ออกโดยคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 จนถึงปีงบประมาณ 2557 รวมจำนวนทั้งสิ้น 130 ใบ โดยแสดงดังภาพที่ 3

pic_epayment2.png
ภาพที่ 3 จำนวนใบอนุญาต (บัญชี ค) ที่ออกโดยคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(ข้อมูลเป็นตัวเลขสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556)
 

3. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ

ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ให้บริการหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ และได้มี การรวบรวม จัดเก็บ ใช้ เผยแพร่ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใดที่ทำให้สามารถระบุตัวประชาชนได้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม มีความเชื่อถือได้ ตลอดจนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวมาเป็นประจำทุกปี โดยมีหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐรวมจำนวน 39 หน่วยงาน

ในส่วนของการผลักดันส่งเสริมเพื่อให้ความรู้หน่วยงานภาครัฐในการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติฯ นั้น สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐในปีงบประมาณ 2556 ครั้งที่ 1 จำนวน 12 หน่วยงาน ครั้งที่ 2 จำนวน 16 หน่วยงาน ครั้งที่ 3 จำนวน 14 หน่วยงาน และครั้งที่ 4 จำนวน 11 หน่วยงาน พร้อมทั้งหน่วยงานที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับสถาบันการศึกษาในปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 จำนวน 12 หน่วยงาน โดยแสดงดังตารางที่ 2 และภาพที่ 4

ตารางที่ 2 : แสดงข้อมูลจำนวนหน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมฯ ในปีงบประมาณ 2556-2557

ปีงบประมาณ ครั้งที่ จำนวนหน่วยงานที่เข้าอบรม
2556 1 12
  2 16
  3 14
  4 11
2557 1 12

pic_training_dp.png
ภาพที่ 4 แสดงข้อมูลจำนวนหน่วยงานที่ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมฯ ในปีงบประมาณ 2556-2557
(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556)
แหล่งที่มา :
  1. รายงานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

  2. (ร่าง) แผนแม่บทเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2556 – 2560

  3. หนังสือรวมกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์