TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

Knowledge Sharing

ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยปี 2019 โดย World Economic Forum

Digital Trend Documents
  • 19 ธ.ค. 62
  • 3442

ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยปี 2019 โดย World Economic Forum

ปี 2562 นี้ 2 สถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกเรื่องการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน คือ IMD (International Institute for Management Development) และ WEF (World Economic Forum) ได้จัดอันดับประเทศไทย ไว้อย่างน่าสนใจ

สำหรับ IMD ที่ประกาศ World Competitiveness 2019 ในช่วงกลางปี ได้ให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 63 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ จากอันดับที่ 30 ในปี 2561 ซึ่งนับว่าเป็นอันดับที่ดีที่สุดในรอบสิบปี โดย 3 ปัจจัยหลักที่ดีขึ้นคือ ปัจจัยหลักด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 8 (ดีขึ้น 2 อันดับ) ปัจจัยหลักด้านประสิทธิภาพของภาครัฐอยู่ในอันดับที่ 20 (ดีขึ้น 2 อันดับ) และปัจจัยหลักด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในอันดับที่ 45 (ดีขึ้น 3 อันดับ)

ในช่วงปลายปี ทางฝั่ง WEF ก็ประกาศ Global Competitiveness Index 4.0 โดยประเทศไทยมีคะแนนดัชนีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจาก 67.5 คะแนนเป็น 68.1 คะแนน อย่างไรก็ตาม อันดับกลับลดลงอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก จากทั้งหมด 141 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ จากปี 2561 ที่อยู่ในอันดับ 38

อันดับของไทยจาก 141 ประเทศอยู่ในอันดับที่ 40

 

อันดับที่ ประเทศ ปี 2561 ปี 2562 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
1 สิงคโปร์ 83.5 84.8 เพิ่มขึ้น
2 สหรัฐอเมริกา 85.6 83.7 ลดลง
3 ฮ่องกง 82.3 83.1 เพิ่มขึ้น
4 เนเธอร์แลนด์ 82.4 82.4 ลดลง
5 สวิตเซอร์แลนด์ 82.6 82.3 เพิ่มขึ้น
6 ญี่ปุ่น 82.5 82.3 ลดลง
7 เยอรมัน 82.8 81.8 ลดลง
8 สวีเดน 81.7 81.2 เพิ่มขึ้น
9 อังกฤษ 82.0 81.2 ลดลง
10 เดนมาร์ก 80.6 81.2 คงที่
40 ไทย 67.5 68.1 ลดลง

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน+3
 
อันดับที่ ประเทศ ปี 2561 ปี 2562 เพิ่มขึ้น/ ลดลง
1 สิงคโปร์ 83.5 84.8 เพิ่มขึ้น
2 ญี่ปุ่น 85.6 83.7 ลดลง
3 เกาหลีใต้ 78.8 79.6 เพิ่มขึ้น
4 มาเลเซีย 74.4 74.6 ลดลง
5 จึน 72.6 73.9 คงที่
6 ไทย 67.5 68.1 ลดลง
7 อินโดนีเซีย 64.9 64.6 ลดลง
8 บรูไน 61.4 62.8 เพิ่มขึ้น
9 ฟิลิปปินส์ 62.1 61.9 ลดลง
10 เวียดนาม 58.1 61.5 เพิ่มขึ้น


ไทย ยังตามหลังคะแนนของมาเลเซียอยู่ เช่น เรื่องพาสปอร์ตของมาเลเซียสามารถใช้เดินทางเข้าได้หลายประเทศมากกว่าของไทย อาจเป็นเพราะว่าประเทศมาเลเซียได้รับความไว้วางใจมากกว่าประเทศไทยหรือไม่?

เกณฑ์ในการประเมินใช้ 4 Criteria
  1. Enabling Environment สิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจ เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจไหม ครอบคลุมไปถึงสถาบันต่าง ๆ เช่น กฎหมาย ราชการ ระบบต่าง ๆ ระเบียบในการดำเนินงาน การกำกับดูแล เรื่องเหล่านี้สนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถแข่งขันได้ดีไหม ใช้วิธีวัดโดยดูว่า ถ้าจะเปิดธุรกิจใช้เวลากี่วัน ต้องไปติดต่อกับกี่หน่วยงาน ต้องเซ็นเอกสารกี่ฉบับ ต้องใช้ใบอนุญาตกี่ฉบับ ซึ่งประเทศไทยต้องทำหลายอย่าง การทำธุรกิจต้องมีใบอนุญาตค่อนข้างเยอะ ต้องติดต่อหลายหน่วยงาน
  2. Human Capital ทักษะความสามารถของคน คนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการสนับสนุนให้คนสามารถทำงานได้ดีด้วย นั่นก็คือ โครงสร้างทางด้านสาธารณสุข สวัสดิภาพทางสังคม เช่น ประกันสังคม
  3. Markets ความหลากหลายของสินค้า มีสินค้าให้เลือกกี่ยี่ห้อ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงตลาดการเงิน เพราะเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการลงทุน วัดว่าถ้าไม่มีเงินทุน จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากน้อยแค่ไหน
  4. Innovation Ecosystem การมีสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม มีการสนับสนุนโดยภาครัฐเพื่อให้เงินทุนกับการทำวิจัยเพื่อใช้ในการสร้างนวัตกรรม นวัตกรรมถูกแปลงออกมาในเชิงพาณิชย์ได้มากน้อยแค่ไหน
Thailand's Best Performance (ด้านที่ไทยทำได้ดี)
  • Macro-economic Stability เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้อ Enabling Environment ซึ่งวัดจากสินค้านำเข้า สินค้าส่งออก การเกิดดุลทางการค้า อัตราเงินเฟ้อ ความเข้มเเข็งของธนาคาร
  • Health สวัสดิการด้านสุขภาพของเราดีกว่าหลาย ๆ ประเทศ Outcome ของโครงการด้านสุขภาพต่าง ๆ ค่อนข้างดี เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
  • Financial System มีระบบการเงินที่ดีมาก ธนาคารปล่อยกู้ให้กับเอกชนอย่างทั่วถึง โอกาสที่ธุรกิจต่าง ๆ จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนมีสูง และตลาดทุนของไทยค่อนข้างดี มี Financial Asset ที่หลากหลาย รวมถึงมีผู้กำกับดูแลที่เข้มเเข็ง ไม่ว่าจะเป็น ธปท. หรือ กลต. ก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในข้อนี้ก็มีจุดที่ไทยมีคะแนนน้อย คือ การสนับสนุน Startup ไทยยังทำได้ไม่ดี แต่ไม่ได้แย่ เรามี Venture Capital มากขึ้น แต่ยังเข้าถึง Startup ได้ไม่เพียงพอ ถ้าเทียบกับ International Benchmark
Challenge ของไทย (สิ่งที่ปรับปรุงได้)
  • Institutions สถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ สามารถสนับสนุนธุรกิจในประเทศให้ดำเนินไปได้ดีแค่ไหน เช่น ระบบกฎหมาย ที่มีข้อห้ามต่าง ๆ การแก้ข้อพิพาท หรือระบบการเงิน ถ้าหากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ จะต้องเจรจา ฟ้องร้อง พิทักษ์ทรัพย์ ฟ้องล้มละลาย อย่างไร หรือขั้นตอนในการติดต่อราชการ ความซับซ้อนในการติดต่อ และประเด็นสำคัญในข้อนี้ คือ คอร์รัปชัน
  • Skills ทักษะความรู้ของเด็กจบใหม่ว่ามีทักษะสอดรับกับการทำงานในระดับใด โลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้ มีการพัฒนาทักษะไปในทิศทางใด รวมไปถึงการ Train พนักงานบริษัทเอกชน การให้ความสำคัญกับ Lifelong Learning มีการ upskill reskill อยู่เสมอ
  •  Product Market ตลาดที่มีสินค้าที่หลากหลาย และมาจากหลายบริษัท หลายอย่างให้เลือก และหลายผู้ขาย ไม่มีการแข่งขันตลาดที่ดีพอ มีลักษณะตลาดผูกขาด
ด้านอื่น ๆ ที่ไทยที่ได้คะแนนน้อย
  • Innovation Capability หรือความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม
  • Labor Market ตลาดแรงงาน ซึ่งพูดเรื่องของนโยบายแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน สหภาพแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำ สิทธิประโยชน์ ซึ่งไทยอาจยังมีปัญหาอยู่ แต่สิทธิในบางเรื่องก็ดี เช่น การลาคลอด ซึ่งในบางประเทศ ไม่สามารถลาคลอดได้
  • Infrastructure โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถยนต์ รถประจำทาง รถไฟ ซึ่งถ้าวัดในระดับประเทศ ไทยยังต้องปรับปรุงอยู่
  • ICT Adoption ไม่ได้วัดจากปริมาณผู้ใช้สมาร์ตโฟน แต่พูดถึงความรู้ด้านดิจิทัล ความตระหนักรับรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ไม่ได้ดูเพียงว่า 'ใช้' อย่างเดียว แต่ดูว่า 'ใช้เป็น รู้ถึงประโยชน์และโทษ' นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงาน หลาย ๆ งานในประเทศไทยยังเป็นแบบต้องทำด้วยมือหรือ Manual อยู่ รวมทั้งยังใช้กระดาษกันอยู่

ถึงแม้จะชูนโยบายไร้กระดาษ (Paperless) แต่ยังมีการเซ็นเอกสาร สแกนเอกสารเก็บเข้าระบบอยู่ โดย WEF ชี้ว่า เรายังมีพื้นที่ที่จะต้องเร่งพัฒนาอยู่มากในเรื่องของ Technology Adoption 

20191106-iub-02_p002(1).jpg

ที่มา innovative wisdom World Economic Forum IMD

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)