TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

Knowledge Sharing

Passion Economy : เศรษฐกิจจากความหลงใหล

Foresight Documents
  • 23 ม.ค. 66
  • 1048

Passion Economy : เศรษฐกิจจากความหลงใหล

เมื่อผู้คนเปลี่ยนความชอบให้กลายเป็นงานเพื่อสร้างรายได้ ความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพจิตและเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

Passion Economy เป็นแนวคิดของบุคคลที่สร้างรายได้จากทักษะและความหลงใหลส่วนบุคคล โดยเป็นการสร้างรายได้ผ่านการทำงานรับจ้างอิสระหรือฟรีแลนซ์ แนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้คนในยุคดิจิทัลมองเห็นโอกาสสร้างรายได้นอกจากการทำงานประจำ นอกจากนี้ การเข้าถึงและการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย มีผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 พบว่าที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 7 ชั่วโมง 4 นาที ยังเป็นประโยชน์ให้บุคคลสามารถหาข้อมูลเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและประชาสัมพันธ์ผลงานตนเองได้ง่ายขึ้น  และในยุคดิจิทัลก็ยังสร้างช่องทางการเผยแพร่ผลงานผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ก่อให้เกิดวิธีการสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ ในขณะเดียวกันก็เกิดความยืดหยุ่นและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่จำเป็นอย่างมาก และจากข้อมูลของ World Economic Forum มีการคาดการณ์ว่างานจากเศรษฐกิจแพชชันจะมีสัดส่วนเป็นถึง 85% ของตำแหน่งงานที่จะเกิดขึ้นใหม่ภายในปี พ.ศ. 2573

จะเห็นได้ชัดจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนเริ่มปรับเปลี่ยนการทำงานแบบเดิม และก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจความหลงใหล ที่ขับเคลื่อนด้วยค่านิยมใหม่ เช่น ความยืดหยุ่น การทำงานจากระยะไกล และการให้คุณค่ากับเวลาว่างเพื่อนำมาวางแผนการใช้ชีวิตกับการให้เวลากับการทำงานที่น้อยลง และให้ความสำคัญกับการใช้เวลาว่างในการท่องเที่ยว พักผ่อน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับจำนวนการตกงานที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยทั่วโลกสูญเสียงานประจำกว่า 400 ล้านตำแหน่ง (อ้างอิงจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)) และค่าจ้างจริงที่ซบเซาทำให้ผู้คนต้องประเมินสภาพการทำงานและเป้าหมายระยะยาวใหม่อีกครั้ง

การนำทักษะ ประสบการณ์ และความสนใจส่วนบุคคลจึงกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้และขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ โดยมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนที่ทำงานอย่างมีความสุขจะสามารถทำผลงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 13%  และ 78% ของแรงงานใน passion economy ระบุว่าสาเหตุที่ตนเองต้องการทำงานลักษณะนี้เป็นเพราะสามารถจัดการภาระงานได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ 69% ชอบที่ได้มีชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น

ในยุคที่ผู้คนเริ่มถอยห่างออกจากสื่อออนไลน์เพราะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในฐานะผู้ชม/ผู้บริโภคข้อมูลได้ และมีผลการวิจัยที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Forbes พบว่า 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกที่จะใช้เวลากับบัญชีโซเชียลมีเดียของตนน้อยลง และหันมาสร้างพื้นที่เพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่อยู่บนพื้นฐานของความสนใจที่มีร่วมกัน จึงเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน นำมาซึ่งการสร้างเป็นชุมชนและมีส่วนในการยกระดับสุขภาวะด้านสังคมและความสัมพันธ์ส่งผลให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย

อ้างอิง :
- https://www.forbes.com/sites/benjaminvaughan/2020/07/17/the-rise-of-the-passion-economyand-why-you-should-care/?sh=40d37b9517b9
- https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/iub2022.aspx
- https://www.weforum.org/agenda/2022/02/how-the-passion-economy-is-shaping-the-future-of-work/
- https://signalfire.com/blog/creator-economy/#:~:text=50%20million%20independent%20content%20creators
- https://www.weforum.org/agenda/2022/02/how-the-passion-economy-is-shaping-the-future-of-work/
- https://www.europeanbusinessreview.com/the-rise-of-the-passion-economy-and-its-impact-on-the-vc-market-and-traditional-employment-2/
- https://newsroom.mastercard.com/wp-content/uploads/2019/05/Gig-Economy-White-Paper-May-2019.pdf?fbclid=IwAR2FmyVczM2NxbNNTxQ287toFYS89rJSqV887AmyJmN4FKpb9UCIJTlGSQA
- https://www.ox.ac.uk/news/2019-10-24-happy-workers-are-13-more-productive

 

 

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)