TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

ข่าวประชาสัมพันธ์

สพธอ. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Google จัดทำโครงการฝึกอบรม AI Policy & Skilling Lab Thailand

AIGC Documents
  • 13 ก.ค. 67
  • 4

สพธอ. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Google จัดทำโครงการฝึกอบรม AI Policy & Skilling Lab Thailand

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์ (สพธอ.) ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท Google ประเทศไทย จำกัด จัดทำโครงการฝึกอบรม AI Policy & Skilling Lab Thailand ณ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายชาติชาย สุทธาเวศ รองผู้อำนวยการ สพธอ. และ Mr.Andrew Ure, Managing Director of Government Affairs and Public Policy for Southeast Asia, Google ร่วมเปิดงานและแสดงวิสัยทัศน์ในการดำเนินโครงการร่วมกันดังกล่าว

โครงการนี้มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในด้านการนำ AI ไปประยุกต์ใช้ การกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนา AI และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และธรรมาภิบาล AI ซึ่งในโครงการนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 64 คน ทั้งจากหน่วยงานทางด้านสุขภาพ การเงิน ภาครัฐ การศึกษา และ รัฐวิสาหกิจ

ไฮไลท์สำคัญภายในงาน:
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในวงการสุขภาพของไทย ผ่าน 3 แอปพลิเคชัน ได้แก่

  • Deep GI: เทคโนโลยี AI ที่สามารถตรวจพบติ่งเนื้อเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • AIMET: แอปพลิเคชันที่ใช้ AI ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า
  • ARDA: AI สำหรับคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นตา ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น
คุณเพิ่มศักดิ์ ลีลากุล, Google Thailand นำเสนอวาระขับเคลื่อนโอกาส ด้าน AI สำหรับประเทศไทย ด้วยข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 3 เสาหลัก ได้แก่
  • เสาที่ 1: การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม
  • เสาที ่2: การเตรียมแรงงานให้พร้อม รับมือกับเทคโนโลยี
  • เสาที ่3: ส่งเสริมการยอมรับและการเข้าถึงอย่างทั่วถึง
Slide5.PNG
สพธอ. นำเสนอในหัวข้อ "AI and Generative AI Governance" โดยมี ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สพธอ. ร่วมเป็นวิทยากรหลัก กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง AI และ Generative AI รวมทั้งตัวอย่างสำคัญภายในเล่มเนื้อหา “Generative AI Governance Guideline” ได้แก่
  • ประโยชน์และข้อจำกัดของ Generative AI
  • รูปแบบการประยุกต์ใช้ Generative AI ประเภท LLM (Using/Basic Prompting, RAG, Fine-tuning, Pre-training)
  • ประเด็นความเสี่ยงและตัวอย่างแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงของ Generative AI
นอกจากนี้ ทางศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AIGC) ยังได้จัดกิจกรรม workshop เพื่อแนะนำวิธีการใช้เครื่องมือสำหรับประเมินเรื่อง AI ได้แก่ AI readiness scan และ AI use case canvas โดยคุณธิติกร ตระกูลศิริศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ AIGC
Slide8.PNG
Slide3.PNG
Slide2.PNG
Slide9.PNG
ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรม AI Policy & Skilling Lab Thailand จะจัดอบรมต่อเนื่องในกลุ่มเป้าหมายต่อไป สามารถติดตามข่าวสารการอบรมได้ที่ Facebook: ETDA Thailand

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)