Digital Transformation
- 03 ส.ค. 64
-
2264
-
ETDA หนุนโซลูชัน e-Office ยกระดับ Work From Home รัฐ-เอกชน ด้วยดิจิทัล
ETDA จับมือทุกภาคส่วน เร่งเครื่องดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมธุรกิจและบริการดิจิทัลต่าง ๆ ร่วมพาคนไทยฝ่ากระแสวิกฤตโควิด-19 สร้างความรู้ความเข้าในในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ และเตรียมจับมือ บริษัทเทคโนโลยี เฟ้นหาโซลูชันด้าน e-Office เพื่อเป็นทางเลือกให้ทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน ได้ทดลองใช้ฟรี เพื่อให้การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือ Work From Home ไม่สะดุด สะดวก และง่ายกว่าที่คิด
ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การยกระดับวิถีชีวิตของคนไทยด้วยดิจิทัล เพื่อให้ก้าวผ่านกระแสวิกฤต โดยเฉพาะช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือภารกิจสำคัญที่ ETDA เร่งขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างการปลดล็อกข้อจำกัดของการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ในทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน ประชาชน ให้สามารถทำงาน ประชุม จัดทำเอกสาร และลงนามได้ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต่างจากการทำงานที่สำนักงานหรือออฟฟิศ
ด้วยการทำงานในรูปแบบ “สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เราเรียกกันว่า e-Office” ผ่านการขับเคลื่อนทั้งกฎหมาย มาตรฐาน รวมถึงข้อเสนอแนะมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สู่การเกิดระบบหรือโซลูชันที่จำเป็นต่อการทำงาน มีแนวทางการใช้งานที่มั่นคงปลอดภัยและกฎหมายรองรับ
e-Meeting & e-Voting
ไม่ว่าจะเป็น
การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ที่วันนี้เราสามารถประชุมทางออนไลน์แม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทั้งยังมีระบบการใช้งานที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ เพราะมีกระบวนการประเมินและรับรองความสอดคล้องของระบบควบคุมการประชุมจาก ETDA ที่การันตีว่าระบบ e-Meeting จากผู้ให้บริการมีความมั่นคงปลอดภัย เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานตามกฎหมาย ให้หน่วยงานได้เลือกใช้งานหากต้องการจัดประชุมตามกฎหมาย เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น หรือการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ นอกจากมีระบบที่ได้รับการรับรองจาก ETDA แล้ว ยังมีระบบที่ผู้ให้บริการระบบควบคุมการประชุมได้ประเมินความสอดคล้องด้วยตนเองตามหลักเกณฑ์ที่ ETDA กำหนด
และในอนาคต เพื่อเพิ่มความมั่นใจในเรื่องร
ะบบลงคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voting System) ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ยัง
อยู่ระหว่างการปรับปรุง ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 และ ETDA อยู่ระหว่างการ
รับฟังความคิดเห็นต่อ ร่างข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยระบบการลงคะแนนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Voting System) ภายใน 4 สิงหาคม 2564 นี้ เพื่อให้ผู้ให้บริการระบบมีแนวทางในการพัฒนาระบบที่มีมาตรฐาน และผู้ใช้งานก็ได้ใช้ระบบที่น่าเชื่อถือและมั่นใจในการใช้งาน
e-Signature & e-Saraban
ที่ผ่านมา ETDA ยังส่งเสริมในเรื่อง การใช้
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature อย่างต่อเนื่อง นอกจากจัดทำ
มาตรฐาน ให้ผู้สนใจเลือกใช้ตามความเหมาะสมของธุรกรรมทางออนไลน์ในแต่ละประเภท และเพื่อให้ภาครัฐ เอกชน เกิดการเปลี่ยนผ่านงานด้านเอกสารจากกระดาษไปสู่
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) รวมถึงการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ
ภายใต้ ระเบียบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ หรือ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ในฐานะหน่วยงานนำร่องร่วมกับอีก 6 หน่วยงานที่จะ
เริ่มใช้อีเมลกลางใหม่ของหน่วยงานภายในสิงหาคมนี้ ETDA ได้พัฒนาและใช้
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Saraban) และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบงานของสำนักงาน ที่สามารถใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์ ทั้ง คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน จนนำมาสู่การขยายผลในหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเป็นหนึ่งในคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Office ของกระทรวงฯ ที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดเกิดการใช้งานระบบ e-Saraban และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้การรับ-ส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกฯ อย่างมั่นคงปลอดภัย เชื่อถือได้ โดยมีหน่วยงานพาร์ตเนอร์สำคัญ อย่าง
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ
NT มาช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานครั้งนี้ โดยคาดว่าจะสามารถขับเคลื่อนให้หน่วยงานในสังกัดเกิดการใช้งาน e-Saraban ร่วมกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบบครบ 100 % ได้ภายในสิ้นปีนี้
Sandbox & Co-creation
นอกจากนี้ ยังได้เปิด
ETDA Sandbox รอบใหม่ ปรับหลักเกณฑ์ทดสอบสนาม Sandbox ใหม่ ขยายคุณสมบัติเจ้าของนวัตกรรม ไม่จำกัดแค่รัฐ-เอกชน และไม่จำกัดรอบการสมัคร เน้นร่วมสร้างนวัตกรรม ยกระดับชีวิตด้วยดิจิทัล ใน 3 โซลูชันคือ
1) เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) 2) การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) และ
3) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ผู้สนใจอ่านรายละเอียดได้
ที่นี่
ETDA ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา
ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
Consulting Service ที่จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำตลอดจนคำปรึกษาในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนา
สถาบัน ADTE หรือ
Academy for Digital Transformation by ETDA ซึ่งได้ทยอยจัดคอร์สต่าง ๆ ให้แก่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่สนใจ ล่าสุดคือ หลักสูตร
“Lift Your Business with Digital” ซึ่งเพิ่งจัดให้แก่ธุรกิจร้านอาหารไป
ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดการดำเนินงาน การผลักดัน ให้เกิดการทำงานในรูปแบบ e-Office สามารถขยายไปยังผู้ประกอบการที่สนใจเพิ่มมากขึ้นและเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs สตาร์ตอัป และภาครัฐที่สนใจ ได้เข้าถึงระบบหรือโซลูชันด้าน e-Office ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ETDA จึงเตรียมจะจับมือกับภาคเอกชน อย่าง บริษัทเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบและโซลูชัน e-Office ต่าง ๆ ในการนำระบบหรือโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับ e-Office มาสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในช่วง Work From Home ได้ทดลองใช้งานฟรี เช่น Package promotion และ Free trial ซึ่งระบบหรือโซลูชัน e-Office ที่จะนำมาให้ใช้กันในเร็ว ๆ นี้ เช่น ระบบ e-HR ที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานในด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น, ระบบ Video Conference เพื่อสนับสนุนการจัดประชุมออนไลน์ รวมถึงแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกในการจัดการองค์กรที่รองรับเทรนด์การทำงานแบบ Hybrid ฯลฯ
นอกจากนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเกิดเป็น Community ต่อยอดการใช้งานระบบหรือโซลูชัน e-Office ใหม่ ๆ ทั้งในกลุ่มผู้ให้บริการ เจ้าของนวัตกรรมและกลุ่มผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ETDA จึงร่วมกับพาร์ตเนอร์ เตรียมจัด
กิจกรรม Virtual Series ในรูปแบบ Live Streaming Talk ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในสิ้นปีนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ ในลักษณะการทำเวิร์กชอปเชิงปฏิบัติการ (Hands-on Workshop) เพื่อนำเสนอโซลูชันที่เกี่ยวข้อง (Showcase) และต่อยอดไปสู่กิจกรรม e-Office Hackathon ที่จะเฟ้นหาสุดยอดโซลูชันด้าน e-Office ใหม่ ๆ จากเจ้าของนวัตกรรมและสตาร์ตอัป เกิดการสร้าง Business Matching ระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับโซลูชันหรือนวัตกรรมหรือบริการที่เข้าร่วมกิจกรรม e-Office Hackathon เข้าสู่การทดสอบนวัตกรรมในสนาม ETDA Sandbox เพื่อทดสอบระบบและการใช้งานในกลุ่มผู้ใช้วงจำกัด ก่อนนำมาให้บริการจริงในอนาคตด้วย
ETDA เพื่อสังคมดิจิทัลที่มั่นคงปลอดภัยและมีคุณภาพ
ในยามที่ทุกตลาดและทุกกิจกรรมมุ่งสู่ออนไลน์ ETDA ยังมี 2 ทีมสำคัญ คือ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC (1212 Online Complaint Center) ที่ให้บริการรับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ประสบปัญหาจากการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ เช่น ได้สินค้าไม่ครบ ผิดสเปก ผิดสี ผิดขนาด ไม่ได้รับสินค้า ถูกหลอก ถูกโกง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฯลฯ ผ่านสายด่วน 1212
นอกจากนี้ยังมี ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) ในการรับแจ้งเหตุและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศไทย และหน่วยงาน CSIRT ในต่างประเทศ เพื่อตอบสนองและจัดการต่อเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ รวมถึงการให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยงานเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ที่ได้รับแจ้ง
ETDA ยังเสริมสร้างคนดิจิทัลคุณภาพ ด้วยสื่อเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งข่าวสาร บทความ คู่มือ อินโฟกราฟิก วิดีโอ ฯลฯ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https://www.etda.or.th/ และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ครอบคลุมเกือบทุกสื่อยอดนิยม
ETDA จับมือทุกภาคส่วน เร่งเครื่องดันธุรกรรมออนไลน์ ส่งเสริม Digital Service พาคนไทยฝ่ากระแสวิกฤตโควิด-19