Digital Transformation
- 17 ก.ย. 67
-
183
-
SMEs Growth ประสบความสำเร็จ พลิก SMEs ไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน (EEC - ภาคใต้) : ปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่เศรษฐกิจดิจิทัล
โครงการยกระดับนวัตกรรมดิจิทัลเชิงพื้นที่ (EEC - ภาคใต้) “SMEs GROWTH” พลิก SMEs ไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน สร้างปรากฏการณ์ความสำเร็จด้วยการนำพาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ ภาคใต้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของเทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยความมุ่งมั่นของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ที่ทุกภาคส่วนมีความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ ได้อย่างมั่นใจและมั่นคงปลอดภัย ได้จัดทำโครงการยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และภาคใต้ มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับหน่วยงาน และธุรกิจ โดยให้ความสำคัญไปที่การแก้ไขปัญหาในการ Transformation เชิงพื้นที่ ร่วมยกระดับศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงผู้พัฒนานวัตกรรม (Service Provider) ที่ ETDA มีความตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านการพัฒนาทักษะ และความรู้ด้านดิจิทัล การเชื่อมโยง และสร้างเครือข่าย รวมถึงส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation)
โครงการ “SMEs GROWTH” จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของ SMEs ในพื้นที่ ที่ช่วยยกระดับ และต่อยอดความสามารถทางดิจิทัลของ SMEs ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และภาคใต้เติบโตมากขึ้น ภายใต้แนวคิด พลิกโฉม SMEs ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
จุดประกายเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
โดยโครงการนี้ เปรียบเสมือนกุญแจที่ไขประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยได้มีการสรุปผลการประเมินโครงการ ทำการสำรวจผลกระทบจากการดำเนินโครงการจาก SMEs 23 บริษัท และ Tech Provider 9 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้าร่วมโครงการโดยแบ่งเป็นผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อมผลกระทบทางตรงแบ่งเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ มิติผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม และมิติผลกระทบเชิงสังคม โดยในการสำรวจผลกระทบ จะดำเนินการสำรวจผลกระทบกับผู้เข้าร่วมโครงการ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มผู้ให้บริการเทคโนโลยีหรือ Technology Provider โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs จะทำการสำรวจมิติผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ มิติผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม และมิติผลกระทบเชิงสังคม ส่วนผู้ให้บริการเทคโนโลยีจะสำรวจมิติผลกระทบเชิงเศรษฐกิจโดยรวม ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถเพิ่มยอดขายได้กว่า 30% หลังจากนำระบบการสั่งอาหารออนไลน์มาใช้ ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการเทคโนโลยีก็ได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดสงขลา ที่สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ได้สำเร็จ จึงเป็นที่ยืนยันได้ถึงประสิทธิภาพของโครงการในการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงกว้าง SMEs ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนนอกจากนี้ ตัวโครงการฯ ยังมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากการสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ทราบว่าเกิด การจ้างงานในชุมชนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2.6 ล้านบาท ช่วยสร้างโอกาสให้กับคนในท้องถิ่นได้มีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคง นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น การนำระบบ IoT มาใช้ในการจัดการพลังงานในโรงงาน ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสียงตอบรับเชิงบวกจากผู้เข้าร่วมโครงการ
ความสำเร็จของโครงการฯ ยังได้รับการยืนยันจากเสียงตอบรับเชิงบวกของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้ง SMEs และผู้ให้บริการเทคโนโลยีต่างแสดงความพึงพอใจต่อโครงการฯ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการ SMEs รู้สึกว่าโครงการฯ ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีก็ได้รับโอกาสในการขยายตลาดและสร้างความร่วมมือกับ SMEs ในพื้นที่ ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นเพียงก้าวแรกของโครงการฯ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกและภาคใต้ โครงการฯ จะยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างให้พื้นที่เป้าหมายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลที่แข็งแกร่งและยั่งยืน
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์
https://www.etda.or.th หรือ
เฟซบุ๊ค ETDA Thailand