TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

ข่าวประชาสัมพันธ์

Check ก่อน Share… ไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย

Digital Law Documents
  • 10 ก.ค. 58
  • 1377

Check ก่อน Share… ไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย

ในยุคนี้ Social Network ทำให้การรับรู้ข่าวสารและส่งต่อข่าวรวดเร็วอย่างมาก แต่ความรวดเร็วนี้อาจทำให้มีข้อมูลหรือข่าวมากมายที่มีการส่งต่อเพียงแค่กดแชร์โดยไม่ได้รับการตรวจสอบ หลายคนเมื่อได้รับข่าว รูปภาพหรือข้อมูลเรื่องใด ๆ มา ก็เชื่อและกดแชร์ในทันที โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าข่าวดังกล่าวนั้นจริงหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณกำลังกลายเป็นผู้ร่วมเผยแพร่ข่าวลวงโดยไม่รู้ตัว

IMG_5152.jpg

จากประเด็นดังกล่าว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA (เอ็ดด้า) ICT Law Center ร่วมกับ ThaiCERT จึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและพูดคุยหัวในข้อ Check ก่อน Share: ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2558 ณ ห้อง Open Forum ชั้น 21 ETDA

ผู้อำนวยการ ETDA - สุรางคณา วายุภาพ กล่าวว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์บนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลลักษณะ “ข่าวลือ ข่าวกระแส” หากผิดพลาดไปจะส่งผลกระทบเสียหายในวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวลือที่อาจสร้างความเกลียดชังให้เพิ่มขึ้น พร้อมย้ำถึงข้อควรระมัดระวังและตระหนัก คือ ให้ตรวจสอบก่อนส่งต่อหรือเช็คข้อมูลก่อนแชร์ หากไม่แน่ใจข้อมูลจากโซเชียล หรือแหล่งที่มา ไม่ควรแชร์หรือส่งต่อในทันที

IMG_5140.jpg

ดร.สรณันท์ จิวะสุรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ETDA เสริมว่า สังคมไทยควรเปลี่ยนแนวคิดเป็น เช็คก่อนแชร์ แม้การตรวจสอบข้อมูลหรือภาพจะทำได้ยากกว่าการแชร์ซึ่งทำง่ายกว่า แต่เราสามารถใช้ search engine ทุกเจ้า ตรวจสอบความเหมือนของภาพนั้น ๆ ได้ ว่าเคยได้รับการโพสต์หรือมีแหล่งที่อยู่อื่น ๆ มีวันและเวลาบอก ดังนั้น ต่างชาติจึงมีวลี “Stop Think Connect” แต่ไทยเรา “Stop Think Share” ซึ่งควรจะมีเช็คหรือการตรวจสอบก่อนด้วย เพื่อลด viral message หรือการส่งต่อข้อความที่ผิดเพี้ยน

IMG_4926.jpg

ขณะเดียวกันผู้ที่โพสต์ แชร์ หรือไลค์ข้อความ ล้วนมีความผิดด้วยกันทั้งหมด สอดคล้องกับคำอธิบายของ พงศกร มาตระกูล กก.ผจก. ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและหัวหน้าทีมทนายความ บจ.สแตรนด์ แอนด์ เกรท จอร์จ อินเตอร์เนชั่นแนล กรณีแชร์ข้อความอันเป็นเท็จในโซเชียลแต่ได้ลบแล้วจะผิดไหม? ยืนยันว่า “ผิด” เพราะความผิดสำเร็จแล้ว เป็นความผิดตาม มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นคดีอาญา ยอมความไม่ได้ ส่วนการตัดต่อภาพเข้าข่ายผิดมาตรา 16 แต่ยอมความได้ ยกตัวอย่าง การแชร์ข้อมูลผิดแล้วลบ เหมือนเราเอานาฬิกาเพื่อนไปซ่อนเพื่อจะแกล้งเฉย ๆ แต่เพื่อนไปแจ้งความว่าของหาย แม้เราจะเอามาคืนแล้วบอกว่าไม่ได้ขโมย ก็ถือว่าผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จึงต้องพึงระวังในการส่งต่อข้อมูลในโซเชียล และฝากสื่อมวลชนให้ระมัดระวังการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับบุคคลในคดีความต่าง ๆ เพราะหากคดียังไม่ถึงที่สุดก็ยังถือว่าเป็น “ผู้บริสุทธิ์” ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมกับบุคคลดังกล่าว

IMG_5041.jpg

ติดตามความคืบหน้าของชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล และการพูดคุยในประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจของเวที ICT Law Center Open Forum ซึ่งในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคมนี้จะพูดคุยในหัวข้อ “แนวทางการจัดการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดี (Handling Electronic Data That May be Used as Evidence)” 

IMG_4977.jpg

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)