TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

ข่าวประชาสัมพันธ์

ETDA จัดงาน 1ST THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019 ชวนกูรูนานาชาติแชร์ไอเดีย ผลักดันดิจิทัลไอดีไทยให้สำเร็จ

e-Standard Documents
  • 28 มิ.ย. 62
  • 1372

ETDA จัดงาน 1ST THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019 ชวนกูรูนานาชาติแชร์ไอเดีย ผลักดันดิจิทัลไอดีไทยให้สำเร็จ

จับมือภาคีเครือข่ายจัดงานครั้งยิ่งใหญ่ เสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทย มองนานาชาติ เขาใช้ดิจิทัลไอดีอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ดันระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่ไม่ซ้ำซ้อน สะดวก ปลอดภัย ใช้งานง่าย เร่งสปีดเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้ทันโลก


443476(3).jpg        443487(2)-(1).jpg

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง, กรมการปกครอง, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พร้อมองค์กรและภาคเอกชนชั้นนำ จัดงานประชุมวิชาการ “1ST THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019” ภายใต้แนวคิด  “Unlocking the Potential of Thailand Digital Economy: International Digital ID Use Cases” ปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทย มองนานาชาติ เขาใช้ดิจิทัลไอดีให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนานาชาติ ในการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลหรือ Digital ID (ดิจิทัลไอดี) ร่วมกัน นับเป็นงานประชุมวิชาการด้านดิจิทัลไอดีสุดแห่งปี ณ ห้องอินฟินิตี้  บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เน้นการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม

Digital ID เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัล ทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาล เดินหน้าผลักดันกฎหมายดิจิทัล หลายฉบับ หนึ่งในนั่นคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3 และ 4) พ.ศ. 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

“ดังนั้น การมีดิจิทัลไอดี หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่มีมาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอุดช่องโหว่ของปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัล ทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ มั่นคงปลอดภัย ได้มาตรฐาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเชื่อมต่อระบบกับนานาชาติในอนาคตได้ เพราะดิจิทัลไอดีจะมาช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มสูบ” ดร.พิเชฐ กล่าว

443471(2).jpg        443482(2).jpg

1561700544714.jpg        1561700552578.jpg

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ETDA ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์และอีคอมเมิร์ซของประเทศ มีบทบาทหน้าที่ใน 2 เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการผลักดัน และกำหนดมาตรฐาน คือ การกำกับดูแลผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3 และ 4) พ.ศ. 2562

อีกทั้งย้งรับช่วงต่อในการผลักดันกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 4  พ.ศ. 2562 โดยคาดว่าว่าจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงต้นเดือน กรกฎาคม 2562 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มกำลัง เพราะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัย

การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งาน และความเห็นของการใช้ Digital ID รวมถึงแนวทางการใช้ Digital ID ในอนาคต ในลักษณะ International Symposium มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องของ Digital ID จากหลากหลายสาขา ที่ร่วมชี้ให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้ต้องมีพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการและธุรกรรมต่าง ๆ ทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย โดยมีกฎหมายรองรับ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมกันในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Thailand  เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนไทย

443490(2).jpg        443496(1).jpg

“ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องร่วมกันผลักดันให้การใช้ดิจิทัลไอดีเปลี่ยนโฉมหน้าการทำธุรกรรมและการใช้บริการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษและสำเนาบัตรประชาชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย”  สุรางคณา กล่าว

443499(1).jpg        IMG_0308(1).jpg

งาน 1st THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019 นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องดิจิทัลไอดี ร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่จะเปิดมุมมองให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการมีดิจิทัลไอดี ด้วยการเปลี่ยนเรียนรู้กับกูรูผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ผลักดันการใช้ดิจิทัลไอดี ได้แก่
  • Estonia - “Providing digital access to all of Estonia’s secure e-services without physical contact” กับกว่า 20 ปีการใช้ Digital Signature ในรูปแบบ ID-Card, Mobile-ID และ Smart-ID ในบริการภาครัฐ โดยไม่ต้องใช้เอกสารอีกต่อไป
  • India - The methods and the challenges “Managing more than 1.2 billion population with the most sophisticated Digital ID program” ออกแบบการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วยข้อมูลชีวมิติ (Biometric) เพื่อรองรับการจัดการข้อมูลประชากรถึง 1,200 ล้านคน ความมั่นคงปลอดภัยคือสิ่งสำคัญ พวกเขาจะได้อะไรบ้างจากการเปลี่ยนแปลงนี้
  • Singapore - “Smart Citizens: The next episode of Singaporeans MOBILE ID” หลักสำคัญของ Smart Nation คือการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ กรอบแนวคิดของ NDI (National Digital Identity) ของสิงคโปร์เป็นอย่างไร ทำไมประชาชนและภาคธุรกิจ สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และก้าวต่อไปในการพัฒนาระบบบนโทรศัพท์มือถือหรือ MOBILE ID
  • Malaysia - “Digital Infrastructure makes the prosperity for the country as physical infrastructure” ประเทศที่มีการลงทุนอย่างมากในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์จากแนวคิดของเขา ซึ่งพร้อมแล้วที่จะเปิดใช้งานในปี 2563 เป็นอย่างไร
  •  World Bank - “Digital ID make the world develop equally” ที่เน้นย้ำให้เห็นว่าดิจิทัลไอดีจะทำให้โลกของเราพัฒนาได้อย่างเท่าเทียมกัน หากประชากรโลกสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลได้ในมาตรฐานเดียวกันอย่างมั่นคงปลอดภัย

TDID-QUOTE_190628_0009.jpg        TDID-QUOTE_190628_0008.jpg

TDID-QUOTE_190628_0005.jpg        TDID-QUOTE_190628_0006(1).jpg

นอกจากนี้ในงานยังมีการออกบูทโชว์นวัตกรรมแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีในอนาคตจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำ อย่าง NDID, DataONE, NCB ฯลฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลไทยที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนเท่าเทียมกัน

443493(2).jpg        443497(1).jpg

TDID-QUOTE_190628_0019(1).jpg        TDID-QUOTE_190628_0021.jpg

TDID-QUOTE_190628_0013.jpg        TDID-QUOTE_190628_0022.jpg

 

Rating :
Avg: 5 (2 ratings)