TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

OUR SERVICES

บริการของเรา

กฎหมายดิจิทัล

กฎหมายดิจิทัล

เสริมทักษะคนไทยอย่างรู้เท่าทัน เพิ่มโอกาสใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

สถาบัน ADTE (เอดเต้) ACADEMY OF DIGITAL TRANSFORMATION BY ETDA

KNOWLEDGE

SHARING

คลังความรู้

ทำอย่างไรให้ ลายมือชื่อดิจิทัล (digital signature) มีคุณสมบัติรองรับการตรวจสอบความถูกต้องในระยะยาว (long-term digital signature) ?

โครงสร้างของลายมือชื่อดิจิทัล และการเพิ่มคุณสมบัติลายมือชื่อดิจิทัล (signature augmentation) ให้รองรับการตรวจสอบความถูกต้องได้ในระยะยาว

ETDA จุดพลังดิจิทัล! กับ 2 บิ๊กแคมเปญแห่งปี ‘Moot Court 2024 และ EDC Pitching’

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแยกไม่ออก ไม่เพียงเปลี่ยนวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตของเราให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับผู้คนทั่วโลก การเข้าถึงข้อมูลและบริการอย่างไร้ขีดจำกัด แต่ในความก้าวหน้านี้ก็มีความท้าทายที่มาพร้อมกับความเสี่ยง เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ การหลอกลวงทางออนไลน์ และ

ปฏิทินกิจกรรม

EVENT CALENDAR

ETDA

NEWS

18 พ.ย. 67

หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จับมือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานแถลงผลการศึกษาการจัดทำมาตรฐานการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับกลุ่มเปราะบาง ประจำปี 2567 โชว์

14 พ.ย. 67

EDC นำทัพน้องๆ Gen Z ตัวแทนคนรุ่นใหม่ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพทุกชั้นปี กว่า 60 คน มาร่วมกันอบรมทักษะการเป็นเทรนเนอร์ดิจิทัลที่ดี เตรียมขยายผลสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ผ่านหลักสูตร EDC Plus ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่ปูพื้นฐานให้น้อง ๆ ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมั่นใจและมีทักษะที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

13 พ.ย. 67

ในยุคดิจิทัลที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่เพียงแค่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือ (Tool) ที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน

ศัพท์ความรู้

คำที่ถูกค้นหามากที่สุด

  • e-Commerce

    e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง [1]   e-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) ที่ขอบเขตกว้างกว่า โดยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมทางออนไลน์ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์, การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่าง ๆ บนเครือข่าย, การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย, การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร และการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น [2]   ที่มา: [1] สวทช. [2] ICT Law Center

  • ISP (Internet Service Provider)

    Internet service provider (ISP) หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เช่น Dial, DSL, เคเบิลโมเด็ม ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น   แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://www.thefreedictionary.com/isp

  • กฎหมายอาญา

    หมายถึง กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและสังคม โดยกฎหมายอาญากำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด แบ่งได้ ๕ ประการ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘) ดังนี้ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน