TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

OUR SERVICES

บริการของเรา

กฎหมายดิจิทัล

กฎหมายดิจิทัล

เสริมทักษะคนไทยอย่างรู้เท่าทัน เพิ่มโอกาสใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

สถาบัน ADTE (เอดเต้) ACADEMY OF DIGITAL TRANSFORMATION BY ETDA

KNOWLEDGE

SHARING

คลังความรู้

ETDA เปิดเวทีฮีลใจชวนคนต่าง Gen เช็คความเหงา เผย 3 สาเหตุ…ที่พาเราเหงาแบบไม่รู้ตัว

ในยุคที่โทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะที่ 33 อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยที่ 5 และมีโซเชียลมีเดียเป็นโลกใบที่ 2 เทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้ พาทุกคนก้าวข้ามทุกขีดจำกัด เชื่อมโลกทั้งใบให้ใกล้เพียงปลายนิ้ว พาคนไกลให้พูดคุยกันได้แบบเรียลไทม์ แต่ในวันที่เราติดต่อใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งยังหาความบันเทิงได้ตลอดเวลา ความเป็นจริงแล้วพบว่า ไลฟ์สไตล์ที่ดูเหมือนแทบไม่มีเวลาให้โดดเดี่ยว

ETDA เปิดข้อเงื่อนไข ‘กฎหมาย DPS’ ที่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต้องทำก่อนเลิกให้บริการ พร้อมชี้ช่องรักษาสิทธิที่ ‘ผู้ใช้’ ต้องรู้!

การใช้งาน “แพลตฟอร์มดิจิทัล” น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนคุ้นเคยและเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันกันไปแล้ว เพราะไม่ว่าจะซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ สั่งอาหาร การรับชมความบันเทิง ไปจนถึงขั้นการสืบค้นข้อมูลก็สามารถใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยอำนวยความสะดวกแต่เราเคยตั้งคำถามกันไหมว่า

ปฏิทินกิจกรรม

EVENT CALENDAR

ETDA

NEWS

22 ส.ค. 67

ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จับมือพาร์ทเนอร์ ได้แก่ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.), บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จัดใหญ่! การแข่งขัน

21 ส.ค. 67

เตรียมพบกับ Pitching สุดปัง กับนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่จะมานำเสนอแผนธุรกิจเพื่อที่จะช่วยพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง สู่การเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน กับ 12 ทีมสุดท้าย ในรอบ Final Pitching ​

21 ส.ค. 67

การแข่งขัน Craft Idea ปีที่ 4 รอบ Final Pitching ภายใต้โครงการ ETDA Local Digital Coach (ELDC) ปีที่ 5 ที่เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ แผนธุรกิจที่หลากหลายไอเดีย ที่มุ่งเน้นในการช่วยพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง สู่การเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืนโดยผนวกการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ​

ศัพท์ความรู้

คำที่ถูกค้นหามากที่สุด

  • e-Commerce

    e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง [1]   e-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) ที่ขอบเขตกว้างกว่า โดยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมทางออนไลน์ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์, การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่าง ๆ บนเครือข่าย, การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย, การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร และการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น [2]   ที่มา: [1] สวทช. [2] ICT Law Center

  • ISP (Internet Service Provider)

    Internet service provider (ISP) หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เช่น Dial, DSL, เคเบิลโมเด็ม ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น   แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://www.thefreedictionary.com/isp

  • กฎหมายอาญา

    หมายถึง กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและสังคม โดยกฎหมายอาญากำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด แบ่งได้ ๕ ประการ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘) ดังนี้ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน