TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

คำถามที่พบบ่อย

e-Meeting Documents

1
1337

    การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.ก.การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2563 ได้แก่ การประชุมที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุม โดยได้จัดให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากผู้ร่วมประชุมไม่ได้รวมอยู่ในที่เดียวกัน โดยผู้ร่วมประชุมอาจจะอยู่ในที่ประชุมเดียวกันบางส่วนหรือไม่ก็ได้ ซึ่งครอบคลุมทั้งการประชุมของหน่วยงานรัฐและการประชุมของหน่วยงานเอกชน เช่น การประชุมคณะกรรมการ การประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น


    ทั้งนี้ พ.ร.ก.การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2563 ถือได้ว่าเป็นกฎหมายกลาง ที่รองรับการประชุมที่ดำเนินการโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่าสามารถทำได้โดยมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกันกับการประชุมแบบปกติที่เชิญผู้เข้าร่วมประชุมมาร่วมประชุมในที่เดียวกัน หากว่าการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ดำเนินการสอดคล้องกระบวนการและมาตรฐานการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ประกาศกำหนด โดยที่หลักเกณฑ์ เงื่อนไขหรือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมแต่ละประเภทยังคงเป็นไปตามกฎหมายสำหรับการประชุมเรื่องนั้นๆ

2
1059
    การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้ได้กับทั้งกรณีที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนร่วมประชุมผ่านทางออนไลน์จากทั้งในและต่างประเทศ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งเข้าร่วมทางออนไลน์จากทั้งในและต่างประเทศก็ได้ เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน มีผู้มาประชุมอยู่ในห้องประชุมร่วมกัน 2 คน มี 1 คนเข้าร่วมประชุมผ่านทางออนไลน์จากในประเทศ และอีก 2 คนเข้าร่วมประชุมผ่านทางออนไลน์จากต่างประเทศ เป็นต้น
3
1318
    การรับรองระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) เป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานระบบควบคุมการประชุม ที่นอกจาก ผู้ให้บริการจะพิจารณาความสอดคล้องตามมาตรฐานด้วยตนเองแล้ว หากต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือของการให้บริการระบบควบคุมการประชุม สามารถยื่นขอให้ ETDA เข้าไปดำเนินการตรวจประเมินและรับรองความสอดคล้องของระบบฯ ที่ตนให้บริการได้
4
1108
    คือ การที่ผู้ให้บริการระบบ e-Meeting ประเมินความสอดคล้องของระบบที่ให้บริการกับมาตรฐานที่ สพธอ. กำหนด ตามแบบประเมินความสอดคล้องด้วยตนเอง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.etda.or.th/th/Our-Service/e-meeting/list_provider.aspx
    โดย สพธอ. ไม่ได้เป็นผู้ตรวจประเมินหรือให้การรับรองว่าระบบมีความสอดคล้องตามมาตรฐาน ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาสอบทานความสอดคล้องของระบบได้โดยสอบถามกับผู้ให้บริการโดยตรง
     
5
887
    การตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบ e-Meeting แบ่งเป็น 2 ขอบข่าย คือ
    1. การประชุมทั่วไป
    2. การประชุมลับ
    โดยการตรวจประเมินเพื่อการรับรองครอบคลุมทั้งระบบที่ให้บริการแบบ On-Cloud และแบบ On-Premise
6
1287
    การแสดงตนของผู้เข้าร่วมประชุม e-Meeting ก็เพื่อยืนยันว่าผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุม โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดวิธีการแสดงตัวตนไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมจึงสามารถกำหนดวิธีการแสดงตนของผู้เข้าร่วมประชุมได้ตามความเหมาะสม เช่น การขานชื่อ การให้ผู้เข้าร่วมประชุมอื่นรับรอง การ login ด้วย passcodeที่ผู้จัดประชุมกำหนดให้ เป็นต้น
7
1156
    มาตรฐานทั่วไปสำหรับ e-Meeting ที่เป็นการประชุมลับ ตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นอกจากจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบควบคุมการประชุมของ สพธอ. แล้ว ยังมีประเด็นพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้
    1. ผู้จัดประชุม ต้องกำหนดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไม่ให้บุคคลที่ไม่มีสิทธิเข้าประชุมรู้ข้อมูลในการประชุมลับ
    2. ผู้ร่วมประชุม ต้องรับรองต่อที่ประชุมว่าไม่มีใครรู้ถึงข้อมูลการประชุมลับ
    3. ผู้ร่วมประชุม ควรประชุมในพื้นที่ปิด ที่ไม่มีคนอื่นเข้าออกในบริเวณดังกล่าวได้
    4. ห้ามบันทึกเสียง หรือทั้งภาพและเสียงในการประชุมลับ
    นอกจากนี้ กรณีที่เป็นการประชุมลับสำหรับหน่วยงานของรัฐยังต้องพิจารณาเรื่องการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยและจัดให้มีการเข้ารหัสลับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยต้องมีนโยบายการเข้ารหัสลับข้อมูลจากต้นทางถึงปลายทางหรือในลักษณะที่ผู้ให้บริการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่รับส่งระหว่างการประชุมได้
8
1007
    ในการประชุมแบบ e-meeting ในเรื่องลับตามมาตรฐานระบบ e-meeting กำหนดให้ต้องมีการยืนยันตัวตนผู้ร่วมประชุมแบบหลายปัจจัย (Multi-factor Authentication) ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีการ โดยอาจจะยืนยันตัวตนโดยอาศัยความสามารถของระบบควบคุมการประชุม หรือใช้ความสามารถของระบบประกอบกับปัจจัยอื่น เช่น การใช้ password ควบคู่กับ one-time password หรือ การ log-in ด้วย username/password และให้ผู้ร่วมประชุมอื่นซึ่งอยู่ในที่ประชุมรับรองการแสดงตัวตน เป็นต้น
    ทั้งนี้ หากระบบควบคุมการประชุมสำหรับการประชุมลับมีช่องทางการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย ก็จะทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือและยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของระบบควบคุมการประชุมมากยิ่งขึ้น
9
23
    ตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ​2563 กำหนดว่าระบบควบคุมการประชุมจะต้องมีเสียง หรือทั้งภาพและเสียง