TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ความเป็นมาคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ความเป็นมาคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ความเป็นมาคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

     พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 กำหนดให้มี คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นรองประธานกรรมการฯ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 8 คน ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนจำนวน 8 คน ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมีร์ซ), นิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์, สังคมศาสตร์ หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ 
     ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งของแต่ละด้านต้องมาจากภาคเอกชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ชุดแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546
 ปัจจุบันสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมทาง

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดองค์ประกอบ ด้านความเชี่ยวชาญ (ตามมาตรา 36) 
กำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์คณะหนึ่ง ประกอบด้วย

  • ประธานกรรมการ  คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
  • รองประธานกรรมการ  ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 8 คน คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
  • กรรมการและเลขานุการ  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในด้าน ดังต่อไปนี้
  • ด้านการเงิน    
  • ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ด้านนิติศาสตร์
  • ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์
  • ด้านสังคมศาสตร์
  • ด้านอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการ