TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

สถิติและข้อมูล

ข้อมูลผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) - หลักเกณฑ์การประเมินและอภิธานคำศัพท์ Documents

ข้อมูลผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) - หลักเกณฑ์การประเมินและอภิธานคำศัพท์

มิติในการประเมินการทำงานของระบบจำแนกเป็น 5 มิติ ประกอบด้วย

  1. มิติความสามารถในการทำงาน (Functionality)
  2. มิติการรู้จักและเข้าใจลูกค้า (Empathy)
  3. มิติประสิทธิภาพ (Efficiency)
  4. มิติความเชื่อมั่น (Reliability)
  5. มิติความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบ (Assurance)

วิธีการประเมิน

แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ตามมาตรฐานสำหรับ e-Document

มิติการประเมิน ตัวชี้วัด สิ่งที่ประเมิน เกณฑ์การประเมิน
ความสามารถในการทำงาน (Functionality) ความสมบูรณ์ของฟังก์ชัน (Functional Completeness) ฟังก์ชันหลักของระบบ/แพลตฟอร์ม
  • 1 คะแนน = มีฟังก์ชันหลักนั้นๆ และสามารถดำเนินการได้ และให้บริการได้ตามวัตถุประสงค์บนระบบ
  • 0 คะแนน = ไม่มีฟังก์ชันหลักนั้นๆ และไม่สามารถดำเนินการได้ และให้บริการได้ตามวัตถุประสงค์บนระบบ
การรู้จักและเข้าใจลูกค้า (Empathy) ฟังก์ชันและคุณสมบัติเสริม (Additional Functions/Features) ฟังก์ชัน/คุณสมบัติเสริมของระบบ/แพลตฟอร์ม
  • 3 คะแนน = หากมีฟังก์ชัน/คุณสมบัติเสริมมากกว่า 3 รายการ
  • 2 คะแนน = มีฟังก์ชัน/คุณสมบัติเสริม 2-3 รายการ
  • 1 คะแนน = หากมีฟังก์ชัน/คุณสมบัติเสริมอย่างน้อย 1 รายการ
  • 0 คะแนน = ไม่มีการฟังก์ชัน/คุณสมบัติเสริม
การปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการ(Personalization/Customization) ทางเลือกในการปรับแต่ง (Customization Options)
  • 1 คะแนน = มีการนำเสนอทางเลือกในการปรับแต่งให้กับผู้ใช้บริการ
  • 0 คะแนน = ไม่มีทางเลือกในการปรับแต่งให้กับผู้ใช้บริการ
การเข้าถึงบริการ (Accessibility) ทางเลือกในการติดตั้งและใช้งาน (Deployment)
  • 3 คะแนน = ทางเลือกในการติดตั้งและใช้งานระบบมากกว่า 3 รายการ
  • 2 คะแนน = มีทางเลือกในการติดตั้งและใช้งานระบบ 2-3 รายการ
  • 1 คะแนน = มีทางเลือกในการติดตั้งและใช้งานระบบ 1 รายการ
  • 0 คะแนน = ไม่มีทางเลือกในการติดตั้งและใช้งานระบบ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ปริมาณงานต่อหน่วยเวลา (Throughput) จำนวน Request/Transaction ต่อหน่วยเวลา
  • 1 คะแนน = ค่าปริมาณงานต่อหน่วยเวลามากกว่าเกณฑ์อ้างอิงที่กำหนดไว้
  • 0 คะแนน = ค่าปริมาณงานต่อหน่วยเวลาน้อยกว่าเกณฑ์อ้างอิง* ที่กำหนดไว้
ความถี่ในการพัฒนาระบบ (Deployment Frequency) จำนวนครั้งในการอัพเดตระบบหน่วยเวลา
  • 1 คะแนน = จำนวนครั้งในการอัพเดตระบบมากกว่าเกณฑ์อ้างอิงที่กำหนดไว้
  • 0 คะแนน = จำนวนครั้งในการอัพเดตระบบน้อยกว่าเกณฑ์อ้างอิง* ที่กำหนดไว้
ขีดความสามารถในการรองรับของระบบ (System Capacity) สัดส่วนเฉลี่ยของ Monthly Active User ของระบบ
  • 1 คะแนน = สัดส่วน MAU มากกว่าเกณฑ์อ้างอิง*ที่กำหนดไว้
  • 0 คะแนน = สัดส่วน MAU น้อยกว่าเกณฑ์อ้างอิง* ที่กำหนดไว้
ความเชื่อมั่น (Reliability) ความพร้อมในการให้บริการ (Service Availability) ข้อตกลงระดับการให้บริการ Service Level Agreement (SLA)
  • 3 คะแนน = มี Uptime ที่ 99.9% หรือสูงกว่า และให้ SLA หรือรายงานการทำงานแก่ผู้ใช้บริการ
  • 2 คะแนน = มี Uptime ที่ 99.9% หรือสูงกว่า แต่มิได้ให้ SLA หรือรายงานการทำงานแก่ผู้ใช้บริการ
  • 1 คะแนน = มี Uptime ที่ 99% หรือสูงกว่า
  • 0 คะแนน = มี Uptime ต่ำกว่า 99%
การให้ความช่วยเหลือลูกค้า (Customer Support) บริการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งาน
  • 3 คะแนน = มีบริการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งานมากกว่า 3 รายการ
  • 2 คะแนน = บริการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งาน 2-3 รายการ
  • 1 คะแนน = มีบริการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งาน1 รายการ
  • 0 คะแนน = ไม่มีบริการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งาน
ความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบ (Assurance) ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Security and Privacy) มาตรฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
  • ไม่มี = ไม่ผ่าน
  • มี และอธิบาย/แสดงหลักฐานได้ = ผ่าน
  • มี แต่ไม่สามารถอธิบาย/แสดงหลักฐานได้ = ไม่ผ่าน
ความน่าเชื่อถือของระบบ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ
  • ไม่มี = ไม่ผ่าน
  • มี และอธิบาย/แสดงหลักฐานได้ = ผ่าน
  • มี แต่ไม่สามารถอธิบาย/แสดงหลักฐานได้ = ไม่ผ่าน

หลักเกณฑ์การให้คะแนน

ผลการประเมินจะแบ่งออก 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ส่วนการให้คะแนน (Scored Section) ซึ่งประกอบด้วยผลการประเมินในมิติการประเมินด้านความสามารถในการทำงาน (Functionality) ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า (Empathy) ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) และด้านความเชื่อมั่น (Reliability) โดยในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องเริ่มจากการแทนคำตอบด้วยค่าคะแนนตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในหัวข้อ การออกแบบเกณฑ์การประเมิน จากนั้นจึงคำนวณรวมคะแนนรายมิติและแปลงให้อยู่ในช่วงคะแนน 0 – 5 โดยมีตัวอย่างแนวทางและวิธีการคิดคะแนนเป็นดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ตัวอย่างแนวทางและวิธีการคิดคะแนนผลการประเมินส่วนการให้คะแนน

ตัวชี้วัด คำตอบ เกณฑ์การประเมิน คะแนน
ตัวชี้วัดที่ 1 ฟังก์ชันการทำงาน A มี ไม่มี = 0 คะแนน มี = 1 คะแนน 1
ตัวชี้วัดที่ 2 ฟังก์ชันการทำงาน B ไม่มี ไม่มี = 0 คะแนน มี = 1 คะแนน 0
ตัวชี้วัดที่ 3 ฟังก์ชันการทำงาน C มี ไม่มี = 0 คะแนน มี = 1 คะแนน 1
ตัวชี้วัดที่ 4 ฟังก์ชันการทำงาน D มี ไม่มี = 0 คะแนน มี = 1 คะแนน 1
ตัวชี้วัดที่ 5 ฟังก์ชันการทำงาน E ไม่มี ไม่มี = 0 คะแนน มี = 1 คะแนน 0
ตัวชี้วัดที่ 6 ฟังก์ชันการทำงาน F มี ไม่มี = 0 คะแนน มี = 1 คะแนน 1
รวม 6 ตัวชี้วัด คะแนนสูงสุด = 6 คะแนน คะแนนที่ได้รับ = 4 คะแนน
สรุปคะแนนมิติด้านความสามารถในการทำงาน 4/6*5 = 3.3 คะแนน

สำหรับผลการประเมินมิติด้านความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบ (Assurance) จะอยู่ในผลการประเมิน ส่วนที่ 2 ส่วนการประเมิน (Assessed Section) ซึ่งจะไม่นำไปคิดคะแนนรวมกับมิติอื่นๆ โดยบริการนั้นๆ จะต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและจำเป็น และสามารถอธิบายหรือให้หลักฐานที่แสดงความถึงความสอดคล้องนั้นได้ จึงจะผ่านการประเมินในส่วนนี้ โดยมีตัวอย่างแนวทางการวิเคราะห์สรุปผลการประเมินดังแสดงในตารางต่อไปนี้

แนวทางการวิเคราะห์สรุปผลการประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐาน

กรณี คำตอบ คำอธิบายหรือหลักฐาน ผลการประเมิน
1 มี/สอดคล้อง สามารถอธิบาย/แสดงหลักฐานได้ชัดเจน มีกระบวนการดำเนินงาน
2 มี/สอดคล้อง ไม่สามารถอธิบาย/แสดงหลักฐานได้ชัดเจน ไม่มีกระบวนการดำเนินงาน
3 ไม่มี/ไม่สอดคล้อง - ไม่มีกระบวนการดำเนินงาน
4 ไม่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบาย/ให้เหตุผลได้ มีกระบวนการดำเนินงาน
5 ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถอธิบาย/ให้เหตุผลได้ ไม่มีกระบวนการดำเนินงาน

อภิธานคำศัพท์การประเมิน Digital Service

คำศัพท์/ ตัวชี้วัด ความหมาย/ รายละเอียด
บริการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document) การใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะครอบคลุมวัฏจักรของเอกสาร 6 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การส่งและการรับ การตรวจสอบ การนำไปใช้งานหรือประมวลผลเพื่อใช้งาน การเก็บรักษา และการยกเลิก บริการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การสำรวจและประเมินในครั้งนี้ จึงครอบคลุมถึง บริการ เทคโนโลยี หรือโซลูชันใดๆ ที่สนับสนุนการใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นตอนต่างๆ อาทิ ระบบการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature) และระบบระบบการจัดการเอกสาร (Document Management System: DMS) ระบบการจัดทำและนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บริการด้านการพิสูจน์ยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การลงทะเบียนและการพิสูจน์ตัวตน (Enrolment and Identity Proofing) การออกสิ่งยืนยันตัวตน (Issuance) การยืนยันตัวตน (Authentication) การบริหารจัดการตัวตน (Identity Management) โดยในการสำรวจและประเมินบริการ Digital Service ของโครงการ มีขอบเขตบริการที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล 4 บริการ คือ บริการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน บริการออกและบริการจัดการสิ่งยืนยันตัวตน บริการยืนยันตัวตน บริการเครือข่าย/ระบบเพื่อการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
มิติประเมินความสามารถในการทำงาน (Functionality) ความสมบูรณ์ของฟังก์ชันและคุณสมบัติต่างๆ และความสามารถของระบบในการบรรลุวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้บริการ
มิติประเมินประสิทธิภาพ (Effectiveness) ความสามารถในการให้บริการที่ราบรื่น รวดเร็ว และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการที่เปลี่ยนไป
มิติประเมินการรู้จักและเข้าใจลูกค้า (Empathy) การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการเข้าถึงและการใช้บริการ การออกแบบบริการที่คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก และความต้องการเฉพาะของผู้ใช้บริการรายบุคคล
มิติประเมินความเชื่อมั่น (Reliability) ความสามารถของระบบและผู้ให้บริการในการสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผู้ใช้บริการ
มิติประเมินด้านความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบ (Assurance) นโยบาย มาตรฐาน และการรับรองด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว รวมถึงข้อกำหนดและมาตรฐานคุณภาพในเชิงเทคนิคของระบบ
ตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของฟังก์ชัน (Functional Completeness) เป็นการประเมินว่าการบริการนั้นๆ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายหลักของการให้บริการหรือไม่ เช่น ระบบมีฟังก์ชันการจัดทำและนำเข้าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสามารถรองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบสามารถค้นหา เปิดดู และแก้ไขเอกสารได้ เป็นต้น
ตัวชี้วัดฟังก์ชันและคุณสมบัติเสริม(Additional Functions/ Features) เป็นคุณสมบัติรองในการดำเนินงานของบริการ ที่เพิ่มขึ้นจากคุณสมบัติพื้นฐาน และกระตุ้นให้ผู้ใช้งานตัดสินใจใช้บริการนั้น ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกในการติดตามสถานะของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงเป็นคุณสมบัติรองในการดำเนินงานของบริการ ที่เพิ่มขึ้นจากคุณสมบัติพื้นฐาน และกระตุ้นให้ผู้ใช้งานตัดสินใจใช้บริการนั้น ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกในการติดตามสถานะของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ของเอกสาร เครื่องมือสนับสนุนการทำเทมเพลตเอกสาร และฟังก์ชันการทำ Optical Character Recognition (OCR) บนระบบ เป็นต้น
ตัวชี้วัดการปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการ (Personalization/ Customization) ตัวชี้วัดนี้จะบ่งชี้ถึงความสามารถในการปรับแต่งบริการดิจิทัลให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย โดยวัดจากทางเลือกในการปรับแต่งที่นำเสนอให้กับผู้ใช้งาน เช่น custom fields, custom workflow process รวมถึงการแยกส่วนคุณสมบัติต่างๆ (features) ให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้บริการตามความจำเป็นและความต้องการ
ตัวชี้วัดการติดตั้งและใช้งานระบบ (Deployment) ตัวชี้วัดการติดตั้งและใช้งานระบบ ให้ความสำคัญกับการมีทางเลือกในการติดตั้งและใช้งานที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน
ปริมาณงานต่อหน่วยเวลา (Throughput) ปริมาณงานต่อหน่วยเวลาเป็นการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบงานรูปแบบหนึ่ง ที่บ่งบอกว่า ระบบงานมีความสามารถในการจัดการงาน (Request/Transaction) จำนวนเท่าใดในแต่ละหนึ่งหน่วยเวลานั้นๆ
ตัวชี้วัดความถี่ในการส่งมอบงานและพัฒนาระบบ (Deployment Frequency) ตัวชี้วัดนี้จะบ่งชี้ถึงความต่อเนื่องในการพัฒนาระบบ/บริการดิจิทัลว่ายังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งช่วยสะท้อนถึงความต้องการในการปรับเปลี่ยนการบริการให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
ตัวชี้วัดสัดส่วนเฉลี่ยของ Monthly Active User ตัวชี้วัดขีดความสามารถในการรองรับของระบบ วัดจากจำนวนผู้เข้าใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนที่เป็น Active user แสดงถึงความสามารถที่ระบบสามารถรองรับได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับขนาด (Scalability) ตามความต้องการผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปได้ โดย Monthly Active User (MAU) หมายถึง ผู้ใช้บริการที่มีการเข้าถึงบริการของท่านอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อเดือน โดยสัดส่วนเฉลี่ยคิดจาก ค่าเฉลี่ยของ MAU หารด้วย Maximum Active User ของปีที่ผ่านมา
ข้อตกลงระดับการให้บริการ Service Level Agreement ข้อตกลงระดับการให้บริการคือข้อตกลงระหว่าง “ผู้ให้บริการ” และ “ผู้ใช้บริการ” ว่าจะทำการรักษาระดับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าตามตกลงกันไว้ ซึ่งในงานบริการดิจิทัลจะมุ่งไปที่การกำหนด เปอร์เซ็นต์การทำงาน (Uptime Percentage) และระยะเวลาเป้าหมายในการตอบสนอง (Target Response Time) เป็นหลัก SLA เป็นตัวชี้วัดที่บ่งชี้ความสม่ำเสมอของผลลัพธ์บริการที่ส่งมอบให้กับผู้ใช้งาน การรักษาคำมั่นสัญญา และเป็นที่พึ่งพาของผู้ใช้บริการ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดบริการสนับสนุน/ช่วยเหลือลูกค้า (Customer Support) ตัวชี้วัดการให้ความช่วยเหลือลูกค้าครอบคลุมตั้งแต่การอบรมเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ใช้งาน (Customer Onboarding) ก่อนการใช้งาน ไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือ/สนับสนุนระหว่างใช้งาน และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น โดยจะต้องมีช่องทางการเข้าถึงความช่วยเหลือที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ
ตัวชี้วัดด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (Security and Privacy) ตัวชี้วัดนี้บ่งชี้ถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในการใช้บริการดิจิทัล ซึ่งวัดประเมินจากการปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนที่เกี่ยวข้อง และการมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) การจัดการสิทธิ์ในการเข้าถึง (Access Rights Management) เป็นต้น รวมถึงนโยบาย/มาตรการ/แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เช่น การตรวจสอบความปลอดภัย (Security Audits) และการรักษาความลับของข้อมูล (Data Confidentiality) เป็นต้น
ตัวชี้วัดด้านความน่าเชื่อถือของระบบ ตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือของระบบ วัดประเมินความสอดคล้องของบริการนั้นๆ กับกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเภทบริการ เช่น ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ของ สพธอ. โดยผู้ให้บริการจะต้องสามารถแสดงหลักฐานความสอดคล้องของบริการกับกฎหมาย/หรือมาตรฐานนั้นๆ หรือเข้ารับการตรวจประเมินโดยตามที่กฎหมาย/มาตรฐานกำหนด
พิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing) หมายถึง กระบวนการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบุคคล และการตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์นั้น
สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator) คือ สิ่งที่ใช้เชื่อมโยงอัตลักษณ์กับบุคคล ซึ่งบุคคลนั้นครอบครองและควบคุม เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนกับ IdP
การให้บริการ Federated Proxy/ 3rd Proxy คือ การที่ผู้ให้บริการเชื่อมโยงระบบการยืนยันตัวตนให้แก่ผู้ใช้บริการเข้ากับแพลตฟอร์ม โดยรูปแบบการใช้ดิจิทัลไอดีรูปแบบนี้จะสามารถให้ผู้ใช้บริการให้ IdP ส่งผลการยืนยันตัวตนเกี่ยวกับผู้ใช้บริการให้กับ RP ที่ใช้งานดิจิทัลไอดีคนละระบบหรือหน่วยงานได้ รวมถึง RP อาจพึ่งพาอาศัยผลการยืนยันตัวตนจาก IdP มากกว่าหนึ่งรายได้โดย IdP และ RP สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันผ่านเครือข่ายหรือระบบกลางที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านเทคนิคในการเชื่อมต่อและตั้งค่าระบบของ IdP RP และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น
บริการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing Service) คือ บริการที่ประกอบด้วยกระบวนการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับไอเดนทิตี และการตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับข้อมูลเกี่ยวกับไอเดนทิตีนั้น
บริการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Management Service) คือ บริการที่ประกอบด้วยกระบวนการเชื่อมโยงไอเดนทิตีของบุคคลที่ผ่านการพิสูจน์ตัวตนแล้วเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน และการบริหารจัดการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนนั้น
บริการยืนยันตัวตน (Authentication Service) คือ บริการที่ประกอบด้วยกระบวนการตรวจสอบสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน เพื่อยืนยันไอเดนทิตีของบุคคลที่ใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนนั้น
บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identity Platform Service) คือ บริการเครือข่ายหรือระบบเพื่อการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลาง (เช่น ผู้ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต)
ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level) หรือ IAL เป็นระดับความเข้มงวดในการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing) ของผู้สมัครใช้บริการที่ต้องการจะทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยดิจิทัลไอดี (Digital Identity หรือ Digital ID) ทำให้มั่นใจได้ว่าตัวตนหรือ Identity ที่ผู้สมัครใช้บริการกล่าวอ้าง เป็นตัวตนของเขาจริง ๆ และ IAL ที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์ตัวตนที่ผิดพลาด
ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level) หรือ AAL เป็นระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตน (Authentication) ของผู้ใช้บริการ ทำให้มั่นใจว่า ผู้ใช้บริการที่ได้พิสูจน์ตัวตนมาแล้ว คือเจ้าของหรือครอบครอง สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator) แบบต่าง ๆ นั้นจริง และ AAL ที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสของการยืนยันตัวตนที่ผิดพลาด
กฎระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริการ e-Document
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 3- 2558) ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ ข้อเสนอแนะมาตรฐานนี้ มีรายละเอียดโดยสังเขปที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการดิจิทัล ดังนี้
  • แนวคิดและแบบจำลองข้อมูลใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
  • ชุดข้อมูลหลักในใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทและองค์ประกอบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • โครงสร้างใบแจ้งหนี้ ใบรับ ใบแจ้งยกเลิก ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้และใบกำกับภาษีอย่างย่อในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 11-2560) ว่าด้วยการจัดทำหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานและวางแนวทางการจัดทำหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ มีผลผูกพันบังคับใช้ทางกฎหมายและสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 14-2560) ว่าด้วยการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ และแนวทางการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทีในรูปแบบข้อความ XML
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 21-2562) ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับผู้ให้บริการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับผู้ให้บริการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 22-2563) ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบเสร็จรับเงินภาครัฐ กำหนดโครงสร้างข้อมูลของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นมาตรฐานประกอบการจัดทำข้อมูลในใบเสร็จรับเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 23-2563) ว่าด้วยแนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ประเภทและองค์ประกอบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • การเลือกใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • คำแนะนำสำหรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในนามนิติบุคคล
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 24-2563) ว่าด้วยโครงสร้างข้อมูลของเอกสารรับรองและเอกสารสำแดง กำหนดโครงสร้างข้อมูลสำหรับเอกสารรับรอง (verifiable credential: VC) และเอกสารสำแดง (verifiable presentation: VP) รวมถึงอธิบายความเชื่อมโยงในการใช้งาน VC และ VP ระหว่างเอนทิตีที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ขมธอ. 25-2563) ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบประมวลผลการศึกษา กำหนดโครงสร้างข้อมูลของข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบประมวลผลทางการศึกษาในรูปแบบ XML เพื่อให้สถาบันการศึกษาใช้เป็นมาตรฐานประกอบการจัดทำข้อมูลในใบประมวลผลการศึกษาได้