TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการดิจิทัลและโครงสร้าง

ทำไมต้องปรับเข้าสู่การออกเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ Documents

ทำไมต้องปรับเข้าสู่การออกเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

 

ทําไมหน่วยงานภาครัฐจึงต้องจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐโดยมากเกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสำคัญ หรือหนังสือรับรองเพื่อให้การรับรองแก่ผู้รับบริการทั้งบุคคลและนิติบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความพยายามปรับการบริการให้เข้าสู่รูปแบบดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ยังมีข้อจำกัดในขั้นตอนการออกเอกสารให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความไม่แน่ใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ด้านเทคโนโลยี หรืออุปสรรคด้านกฎหมาย ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานส่วนมากยังคงออกเอกสารแบบกระดาษ ซึ่งมีความท้าทายหลายด้าน เช่น

  • การออกเอกสารมีขั้นตอนมาก ใช้เวลานาน และไม่คล่องตัว
  • เอกสารอาจถูกปลอมแปลง จึงต้องตรวจสอบย้อนกลับมาที่หน่วยงานผู้ออก เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการนำไปใช้
  • การจัดเก็บเอกสารรูปแบบกระดาษมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะเอกสารที่ต้องเก็บเป็นระยะเวลานาน

ดังนั้น การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จึงถือเป็นส่วนสำคัญ ในการทำให้บริการของหน่วยงานภาครัฐเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ ซึ่งความสำคัญไม่ใช่เพียงแค่การสร้างเอกสาร แต่ต้องครอบคลุมทั้งวัฏจักรของเอกสาร (Document Lifecycle) ได้แก่ การจัดทำ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การส่งและการรับ การตรวจสอบ การนำไปใช้งานหรือประมวลผลเพื่อใช้งาน การเก็บรักษา ตลอดไปจนถึงการยกเลิกเอกสาร  

วัฏจักรของเอกสาร

T0_01_Document-Lifecycle.png
 
 

ประโยชน์ของการเปลี่ยนจากกระดาษไปสู่อิเล็กทรอนิกส์

T0_02_01_Advantage-Reduce-Budget.png

ลดค่าใช้จ่าย

หากคำนึงถึงค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อมในการจัดทำเอกสารแบบกระดาษ เช่น จัดทำเอกสารที่มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ค่ารับ-ส่งเอกสาร ค่าจัดเก็บรักษา ต้นทุนเวลาของบุคลากร การออกเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์มีค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่ต่ำกว่า

T0_02_02_Advantage-Gain-Credibility.png

เพิ่มความน่าเชื่อถือ

ปัจจุบันองค์กรระดับสากล เช่น ISO ได้กำหนดแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารและการลงลายมือชื่อ ซึ่งเมื่อจัดทำได้ตามแนวทางแล้ว เอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะยากต่อปลอมแปลงกว่าเอกสารกระดาษมาก อีกทั้งยังตรวจสอบย้อนกลับได้ด้วยตัวผู้ใช้เอกสารเอง

T0_02_03_Advantage-Exchange-Data.png

แลกเปลี่ยนข้อมูลได้

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะมีการแนบไฟล์ เช่น ไฟล์ XML ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ จึงสามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้โดยสะดวก ไม่ต้องรอให้บุคคลเป็นผู้นำเข้าข้อมูล

 

หน่วยงานจะปรับไปสู่การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไร ?

ในการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้ปรับสู่การออกเอกสารเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้น ETDA ได้จัดทำคำแนะนำโดยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอนหลักเพื่อเข้าสู่การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหน่วยงานสามารถศึกษาแนวทาง เพื่อนำไปประยุกต์และปฏิบัติได้ตามบริบทของหน่วยงาน

6 ขั้นตอนเพื่อเข้าสู่การออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ

T0_03_05_Drive-Adoption_CropH460.png

ทำให้เกิดการใช้งานจริง

การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เอกสารถูกนำไปใช้จริง ในส่วนนี้จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้สำหรับสร้างความเชื่อมั่นแก่หน่วยงานผู้รับเอกสาร เช่น รูปแบบของการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบที่แนะนำให้หน่วยงานจัดทำเพื่อให้ผู้ใช้เอกสารสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต้นทาง รวมถึงแนวทางการเก็บรักษา แก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์ / ต่ออายุ และยกเลิกของเอกสาร เพื่อให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการเอกสารได้ตลอดวงจรชีวิตของเอกสาร


 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ e-Licensing Transformation ได้ที่