TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

Digital Workforce & Literacy

ETDA LOCAL DIGITAL COACH Documents

สร้างกำลังคนดิจิทัล พัฒนาชุมชนวิถีใหม่ อย่างยั่งยืน

coach_1.png ETDA LOCAL DIGITAL COACH เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนที่สนใจ ได้มีโอกาสเข้ามาเรียน อบรมยกระดับทักษะด้านดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ เพื่อก้าวเข้ามาเป็นโค้ชดิจิทัล และพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ชุมชน

history_timeline_1.jpg

66_1.jpg
ทีมชนะเลิศ

ทีม ตัวตึง SPU

จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี  แผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด สมาชิกในทีม
นายสันติ หมัดหมัน
น.ส.ศุภวรรณ บุญรอด
น.ส. ปริยากร บุญส่ง
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
แผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด” ด้วยวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจในการนำไอเดียที่จะช่วยปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาดแห่งใหม่ของทาง จ.ตราด สู่การเพิ่มมูลค่าเมืองท่องเที่ยวเมืองรองแห่งนี้ ให้เป็นแหล่งเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่ม Gen Y, Gen Z และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
Key Success
  • สร้างความหลากหลายของสินค้า ร่วมกับการท่องเที่ยวที่ให้ประโยชน์แก่ชุมชน พร้อมขยายผลทในวงกว้างง
  • เลือกใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และมีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น TikTok อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และ LINE Official Account (LINE OA)  เพื่อช่วยให้ชุมชนดำเนินกิจการท่องเที่ยวชุมชนได้ง่ายยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสสร้างงานสร้างรายได้ที่หลากหลายให้กับชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้าง Story Telling ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนได้อย่างชัดเขน และสามารถเห็นผลลัพธ์ได้
  • ชุมชนให้ความร่วมมือ ด้วยการมีพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ที่พร้อมนำมาพัฒนาร่วมกัน และเปิดกว้างในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการออกแบบแผนธุรกิจ อีกทั้งมีจุดแข็งหลายด้านที่พร้อมสำหรับการต่อยอดสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนได้จริง
66_2.jpg

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1
ทีม The Winner

จากมหาวิทยาลัยมหาสงขลานครินทร์แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ “กาแฟเขาวังชิง” ของวิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
นายสันติ หมัดหมัน
น.ส.ศุภวรรณ บุญรอด
น.ส. ปริยากร บุญส่ง

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “กาแฟเขาวังชิง” ภายใต้แนวคิด “จากต้น สู่แก้ว” นำกระบวนการวิจัยและพัฒนา เมล็ดกาแฟของชุมชนให้คุณภาพสูงขึ้น สร้างให้เกษตรกรเป็นนักชิมกาแฟ นักพัฒนาได้ด้วยตัวเอง การส่งเสริมการผลิตกาแฟ วางแผนการตลาดออนไลน์อย่างครบวงจร สามารถสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Key Success
  • สินค้าที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลดตันทุนการผลิดได้ เมื่อเทียบกับการผลิตสินค้าในลักษณะเดียวกัน
  • ความโดดเด่นในการสร้างเอกลักษณ์ของ Brand กาแฟเขาวังชิง การสร้างภาพจำของ Brand ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ตอกย้ำสโลแกน “เขาวังชิง ตัวจริงด้านกาแฟ” ผ่านทุกช่องทาง
  • ผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ การร่วมศึกษาและพัฒนาสินค้าไปด้วยกัน

66_3.jpg

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2
ทีม TTU Lanna

จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา แผน TTU Umbrella ร่มล้านนาผ้ามัดย้อมจากใบชา ของวิสาหกิจชุมชนชาและสมุนไพรบ้านเด่นหลวง และจากวิสาหกิจชุมชนโคมลอยบ้านหนองโค้ง จ.เชียงใหม่
น.ส.ปิยะมาศ ทรายคำ
น.ส.จิรัชญา บาลเย็น
น.ส.ภาวินี ลุงสุข

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาบริหารธุรกิจการค้าและบริการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่
 
ผสมผสานและดึงจุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นทุนของ 2 ชุมชน เพื่อต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ และสร้างแบรนด์ใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวิสาหกิจชุมชนชาและสมุนไพรบ้านเด่นหลวง จ.เชียงใหม่ และวิสาหกิจชุมชนโคมลอยบ้านหนองโค้ง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเดิมมีการผลิตร่มกระดาษสา และการผลิตใบชา มาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ “ร่มล้านนาผ้ามัดย้อมใบชา”
Key Success
  • เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีหลายหมวดหมู่สินค้า เน้นของที่ระลึกชิ้นเล็ก ๆ เพิ่มความน่าสนใจพร้อมกับการขยายไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่
  • สร้างความร่วมมือระหว่างสองชุมชนเพื่อสร้างธุรกิจร่วมกัน
  • ลูกค้าเป้าหมาย เน้นที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยแบรนด์จะเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อง่ายต่อการใช้คำค้นหาของลูกค้ากลุ่มนี้ และติดแฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง

 

history_timeline_2.jpg

65_1.jpg
ทีมชนะเลิศ
ทีม This heart for the Community (หัวใจดวงนี้เพื่อชุมชน)

จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิสากิจชุมชนผลไม้แปรรูปบ้านควนนายพุฒ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
นายธกร กำเนิดผล
นางสาวพัฒน์นรี รุ่งวีรธรรม
นางสาวอาอิชาฮ์ มามุอุมา

 
ขยายช่องทางร้านค้าออนไลน์ให้ครอบคลุม เพื่อให้คนรู้จักสนใจและทำการซื้อสินค้ากับชุมชน ทำให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น และปรับ Packaging ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นตัวดึงดูดให้น่าสนใจ เจาะกลุ่มลูกค้าที่จะซื้อเป็นของฝากหรือของขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ
Key Success
  • นำเสนอรูปแบบการสื่อสารให้เห็นกลิ่นอายของภาคใต้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือในสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • ใช้หลักการ Omni Channel ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหลากหลายช่องทาง
  • สร้างภาพจำให้ลูกค้าโดยปรับกล่องแพคเกจจิ้ง
  • พัฒนา Packaging เพื่อให้มี Shelf Live ที่ยาวนานขึ้น
  • เพิ่มกำไรให้ชุมชนมากขึ้นโดยการใช้กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค
65_2.jpg
ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1
ทีม DO PRO
จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิสาหกิจชุมชนเพ็ชรคีรี อ.คีรีวง จ.นครศรีธรรมราช
นายปัฐทวีกานต์ แซ่เตีย
นางสาวพรรณนิภา นิลรัตน์
นายอนิวัฒน์ สังคหพงค์

 
ต่อยอดผลิตภัณฑ์  PETCHKIRI ULTRA SENSITIVE MANGOSTEEN Gel เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งของหมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงมุ่งเน้นการขยายไปทุกช่องทางในการขายผลิตภัณฑ์ และช่องทางการติดต่อกับลุกค้าเพื่อให้เข้าถึงให้ตรงกลุ่ม รับฟังความต้องการจากลูกค้าอยู่ตลอดเวลา เมื่อเขาคนที่เรารักพอใจ คนรอบตัวเราก็มีรายได้ ธรรมชาติไม่สูญสลายไป เพชรคีรีจะเป็นที่รักของชุมชนไปอีกนาน
Key Success
  • เลือกกลยุทธ์ Moment-based Marketing สื่อสารกับลูกค้าในเวลาที่ใช่
  • กระตุ้นการรับรู้ด้วย Micro Influencer พร้อมสร้างเว็บไซต์เพื่อกระตุ้น Search Engine และใช้เทรนด์ของ #(Hashtag)
  • ใช้หลักการ Omni Channel ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหลากหลายช่องทาง
  • ใช้กลยุทธ์ Collaboration Marketing ร่วมกับแบรนด์ชุดชั้นในในชั้นนำของเมืองไทย เพื่อช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์มากขึ้น
  • กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ทุก ๆ การสั่งซื้อ 1 ขวด ทางแบรนด์จะบริจาคโลชั่น ขนาดพกพา ให้กับผู้ป่วยจากสถาบันมะเร็ง 1 ขวด
65_3.jpg ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2
ทีม Poison Angels
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านหนองบัว ต.กุดรัง จ.มหาสารคาม
นางสาวจิราธิป โทมา
นางสาวจันทรัตร์ อาศัย
นางสาววริษา พลซา

 
ใช้กลยุทธ์ Collaborative Marketing และสื่อสารร่วมกับ Chaksarn (จักสาน) สร้างยอดขาย ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก
Key Success
  • ใช้กลยุทธ์ Collaboration Marketing ร่วมกับ Chaksarn (จักสาน) แบรนด์กระเป๋าแฟชั่นเพื่อขยาย Brand Exposure ขยายฐานลูกค้า และรักษา Momentum ของแบรนด์
  • ทำการสื่อสารร่วมกับ Chaksarn (จักสาน) ให้คอนเทนต์ดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากได้ยอดขายตามมา
  • นำเสนอเอกลักษณ์ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก คือลายดอกเล็กละเอียด ทักทอด้วยมือ 100%
  • ช่วย Training การสร้างยอดขาย กับชุมชนโดยการ Live ผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์
  • หาคนรุ่นใหม่มาช่วยดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนมีรายได้ที่ยั่งยืน
history_timeline_3.jpg
64_1.jpg

ทีมชนะเลิศ
ทีม แอสเตอร์

จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิสาหกิจชุมชนขนุนทอด หมู่ 10 ตราทองประเสริฐ จ.ฉะเชิงเทรา
นายธีระพงษ์ หม่า
นางสาวนริสรา อนุสาสนะนันท์
นางสาวธมลวรรณ ทวีทรัพย์
นางสาวบุษกร บัวงาม

 
ขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ สู่ “OTOP แปรรูป” เปลี่ยนผลผลิตของท้องถื่นให้เป็นรายได้เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมให้ยั่งยืน
แผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด” ด้วยวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจในการนำไอเดียที่จะช่วยปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาดแห่งใหม่ของทาง จ.ตราด สู่การเพิ่มมูลค่าเมืองท่องเที่ยวเมืองรองแห่งนี้ ให้เป็นแหล่งเพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่ม Gen Y, Gen Z และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
Key Success
  • แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มฐานลูกค้า และกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เช่น กลุ่มรักสุขภาพ
  • ลดต้นทุน โดยใช้กรรมวิธีผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในการอบขนุน
  • Zero Waste โดยการนำเปลือกขนุนไปเป็นอาหารสัตว์
  • พัฒนา Packaging เพื่อให้มี Shelf Live ที่ยาวนานขึ้น
  • ขยายช่องทางการขายทั้ง Offline และ Online
  • TikTok และ Facebook คือช่องทางโฆษณาหลัก ที่จะสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้า
  • สร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในชุมชน เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของสินค้า และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป 
  • สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนด้วย Social Enterprise 
64_2.jpg

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1
ทีม Energen

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Chorhon (ชอร์ฮัน) ชุมชนเรียนรู้ อยู่คู่ช้างป่า
นางสาวณัฐนิช ตั้งจิตจิรภัทร
นางสาวภัทรลดา วงศ์ประทุม
นางสาวลลิตภัทร นิพาสพงษ์
นางสาวณัฐวรรณ เนื้ออ่อน

 
จากดอกไม้หลากหลายสายพันธ์ที่มีอยู่ในชุมชน นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งดอกไม้ตามฤดูกาล สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชน พร้อมการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชน
Key Success
  • สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานและคุณภาพ
  • พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย มีรสชาติให้เลือก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
  • ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
  • สร้างช่องทางการขายออนไลน์ผ่าน Platform พร้อมทั้งสร้าง Campaign เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจและทำการสั่งซื้อ
64_3.jpg

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2
ทีม ชิบะคุง

จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุมชนการทำผ้ามัดย้อม แม่อิงชิโบริ - mae ing shibori ของ จ.พะเยา
นางสาวพิชญาภา แสงศรีจันทร์
นางสาวณัฐธิดา ชัยนวน
นายบดินทร์ คูพัฒน์
นายกฤษฎา โพธา

 
ขยายธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้มากขึ้น และสนับสนุนให้สินค้าชุมชนสามารถจำหน่ายในตลาดโลกได้โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนทางด้านการตลาด
Key Success
  • เพิ่มรายการสินค้า DIY เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
  • เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ ผ่าน Social Media และ e-Commerce Platform
  • สร้าง Content ที่น่าสนใจ นำมาถ่ายทอดผ่าน Social Media ดึงดูดลุกค้า
  • Collaborate กับ Brand ต่าง ๆ
  • ผลักดันการขายสู่ระดับโลก ด้วยการขายศิลปะในรูปแบบดิจิทัล NFT (Non-Fungible Token)

coach_2.png