Digital Citizen
- 18 ต.ค. 64
-
32583
-
เตือนภัย e-Payment ป้องกันเงินหายไม่รู้ตัว
ที่มาของปัญหา
1.
ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราต่างปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเป็นแบบ New Normal รวมไปถึงการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงพบมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก ล่าสุดคือ
“การถูกตัดเงินจากบัญชีธนาคารโดยไม่รู้ตัว”
2.
เกิด Case ที่เงินหายจากบัญชีมีหลายรูปแบบ เช่น จาก App ซื้อของออนไลน์, จากโฆษณาใน Facebook, จากเครื่องรับบัตรหรือเครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture)
3. จากการตรวจสอบของ
ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยพบว่าเป็นการ
ทำธุรกรรมชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าออนไลน์ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ไม่ใช่ “App ดูดเงิน”
ปัญหาที่พบ
1. ประชาชนผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรเดบิตจำนวนมากประสบปัญหาทำรายการชำระเงิน โดยที่
ไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตนเองหรือถูกหักเงินจากบัญชีธนาคารโดยไม่ทราบสาเหตุ
2.กลุ่มที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เป็นพิเศษ คือ
กลุ่มที่เงินถูกหักออกจากบัญชีในจำนวนไม่มากทีละหลักสิบบาท แต่โดนไปหลายร้อยครั้งในคนเดียว เมื่ออายัดบัตรและเช็กข้อมูลพบว่าเป็นการซื้อของในเกมออนไลน์
3.
มีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบัญชีธนาคาร/บัตรเดบิต โดยมิจฉาชีพจะทำการหักเงินออกจากบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC หรือเครื่องรูดบัตร แต่ไม่มี SMS แจ้งเตือนไปยังเจ้าของบัตร เนื่องจากในการถอนเงินออกในทุกครั้งเป็นการถอนเงินออกจำนวนไม่มาก เช่น 34 บาท แต่ทำหลายครั้ง
แนวทางการรับมือเมื่อเงินหายไปจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ
1. แจ้งอายัดบัตรเดบิต/เครดิตทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเลขหน้าบัตร รวมถึงรหัส cvv ไปใช้
2. ติดต่อ call center ของธนาคารต้นเรื่อง และดำเนินการตามขั้นตอนธนาคารเพื่อปฏิเสธการจ่ายรายการหรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่ผิดปกติ
3. เก็บหลักฐานทั้งหมดที่ได้รับ เช่น SMS หน้าจอ วงเงิน statement ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ
แนวทางป้องกันและลดผลกระทบ
1.
ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือให้ข้อมูลสำคัญทางธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล หรือแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น แอปพลิเคชันสินเชื่อให้เงินกู้ เกมออนไลน์
2.
กำหนดวงเงินการใช้จ่ายของบัตรเดบิต/บัตรเครดิต ให้เหมาะสมเพื่อจำกัดมูลค่าความเสียหาย บางกรณีอาจเลือกตั้งค่าวงเงินให้ต่ำสุดที่ระบบรองรับได้ และปรับแต่งอีกครั้งเมื่อมีการเรียกใช้งาน
3.
ใช้ช่องทางการแจ้งเตือนการทำธุรกรรม เช่น แจ้งยอดการเคลื่อนไหวของบัญชีออมทรัพย์/ยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตผ่าน SMS การตั้งค่าเตือนผ่านแอปพลิเคชัน
4.
หมั่นสังเกตเงินในบัญชีตนเองว่ามียอดลดลงหรือไม่ หรือพบการใช้งานที่ผิดปกติรีบติดต่อ call center หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรโดยด่วนเพื่อแจ้งตรวจสอบ/แก้ไขการทำธุรกรรมในทันที
5.
หากได้รับการประสานจากธนาคารถึงความผิดปกติทั้งจากทางอีเมล หรือโทรศัพท์ เช่น การล็อกอินเข้าสู่ระบบที่ผิดปกติ การเปลี่ยนข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับบัญชีบัตร ให้รับทราบ และ
ประสานกลับตามช่องทาง call center ปกติของธนาคาร เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นช่องทางจากธนาคารจริง หากเป็นการแจ้งจากธนาคารจริง ให้เฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ เช่น การนำรหัสผ่านไปใช้งานต่อ
การเปลี่ยนอาจมีการฝังมัลแวร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเพื่อเฝ้าดูพฤติกรรมตลอดเวลา
นอกจากนี้ ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ดังนี้
1. ยกระดับความเข้มข้นในการตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ ให้ครอบคลุมทั้งธุรกรรมที่มีจำนวนเงินต่ำและที่มีความถี่สูง หากพบธุรกรรมที่ผิดปกติ ธนาคารจะระงับการใช้บัตรทันทีและแจ้งลูกค้าในทุกช่องทาง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังรายการธุรกรรมจากต่างประเทศเป็นพิเศษ
2. เพิ่มการแจ้งเตือนลูกค้าในการทำธุรกรรมทุกรายการ ตั้งแต่รายการแรกผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ระบบ Mobile banking อีเมล หรือ SMS
3. กรณีที่ตรวจสอบพบว่าลูกค้าได้รับผลกระทบจากการทุจริตตามข้างต้น กรณีบัตรเดบิต ลูกค้าจะได้รับการคืนเงินภายใน 5 วันทำการ ส่วนกรณีบัตรเครดิต ธนาคารจะยกเลิกรายการดังกล่าว ลูกค้าไม่ต้องชำระเงินตามยอดเรียกเก็บที่ผิดปกติ และจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย
4. ธปท. และสมาคมธนาคารไทยจะเร่งหารือกับผู้ให้บริการเครือข่ายบัตร เช่น Visa Mastercard เพื่อกำหนดให้มีการใช้การยืนยันตัวตนเพิ่มเติม เช่น OTP กับบัตรเดบิตสำหรับร้านค้าออนไลน์
กรณีลูกค้าพบความผิดปกติของธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด
(ที่มาภาพ: ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย)
ดูแลธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ให้มั่นคงปลอดภัย ป้องกันเงินหายจากบัญชีไม่รู้ตัว