Sitemap Descriptions
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเวทีแลกเปลี่ยนกับคณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปศส.) รุ่นที่ 18 ในหัวข้อ "Future Economy and Internet Governance" โดย ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ รองผู้อำนวยการ ETDA ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ ETDA ณ ห้อง Walk the Talk ชั้น 15 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยพร้อมหรือยังกับเรื่อง Digital Economy ดร.ชัยชนะ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลงาน โดยใช้เวลาน้อยและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยรัฐ เป็นผู้ส่งเสริม (Promoter) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ซึ่งจะครอบคลุมใน 5 เรื่องสำคัญ ทั้ง Hard Infrastructure, Soft Infrastructure, Service Infrastructure, Digital Economy และ Digital Society เมื่อถามว่า “ประเทศไทยพร้อมหรือยังกับเรื่อง Digital Economy” จากตัวเลขต่าง ๆ ที่สนับสนุนในเรื่องนี้มากมาย สะท้อนให้เห็นว่า เราพร้อมยิ่งกว่าพร้อม เพราะจากสถิติพบว่า ประเทศไทยมีประชาชนทั้งหมดเกือบ 70 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้อินเทอร์แล้วกว่า 70% หรือราว 47.5 ล้านคน นั่นหมายความว่า ในทุก ๆ 10 คน จะมีคนใช้อินเทอร์เน็ต 7 คน และมีการใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 129.7 ล้านเลขหมาย ที่เป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะการขยายฐานของโครงการเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่แล้วกว่า 24,700 หมู่บ้าน และบริการ Free WI-FI ที่ครอบคลุมชุมชนกว่า 10,000 จุด ทำให้คนพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น และมีชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 10 ชั่วโมง 5 นาที ส่วนใหญ่นิยมใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก การติดต่อผ่านแอปพลิเคชั่นแชท อย่างไลน์ ตลอดจนใช้ซื้อขายออนไลน์ ซึ่งขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 กิจกรรมยอดฮิต 2 ปีซ้อน ส่งผลให้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Transactions และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Commerce ของไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2561 ไทยจะมีมูลค่าอีคอมเมิร์ซกว่า 3.15 ล้านล้านบาท นอกจากนั้น ยังพบว่า มีผู้ใช้บริการพร้อมเพย์แล้วกว่า 46.5 ล้านหมายเลข แม้เราพร้อมกับเศรษฐกิจดิจิทัล แต่กลับพบว่า เราอยู่ในบทบาทของ “ผู้ใช้” มากกว่าการเป็น “ผู้ผลิต” หรือ “ผู้ประกอบการเจ้าของแพลตฟอร์มต่าง ๆ" ที่ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ ขณะที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันก็กำลังส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนและธุรกิจ ส่งผลให้เกิดธุรกิจและความต้องการบุคลากรประเภทใหม่ ๆ ขึ้น โดยข้อมูลจากบริษัท การ์ทเนอร์บริษัทให้คำปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐฯ พบว่า มีเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับธุรกิจ ปี 2562 ที่น่าจับตา 4 กลุ่ม ดังนี้