e-Signature
- 01 มิ.ย. 65
-
9603
-
คำถามนี้ "ดี" พี่ตอบให้: ความน่าเชื่อถือของ e-Signature และการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
กลับมาอีกครั้งกับคำถามที่ทุกคนต้องถาม ! “e-Signature” คำดี คำเดิม !!
ถึงแม้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะบอกชัดเจนว่า การเซ็นด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายเซ็นลงบนกระดาษ… แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่ามันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่า ?
ต้องเป็นข้อมูลแบบไหน / ลายเซ็นอิเล็กทรอนิก์แบบไหนกันนะ ถึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ??
วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันค่ะ
1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ?
ตอบ : ได้ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า
“ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์… ”
แต่การที่ศาลจะเชื่อถือในพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือความพยายามหลักฐาน โดยศาลอาจพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้าง การเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ศาลอาจพิจารณาถึงความครบถ้วน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะ วิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล อีกด้วย
❓แล้วความหมายของคำว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์/ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมฯ คืออะไรบ้างนะ ?
"ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
2. e-Signature ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ?
ตอบ : สามารถใช้ได้ ตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณากฎหมาย ทั้งในคดีแพ่งอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์…”
✅ อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจในการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) มากยิ่งขึ้น คือ ศาลฎีกามีคำพิพากษารองรับชัดเจนว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้ได้จริง นำไปเป็นพยานหลักฐานในศาลได้
คำพิพากษาไทย (8089/2556)
- การเบิกถอนเงินสดจากบัญชีสินเชื่อเงินสดผ่านตู้ ATM เป็นธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรับฟังได้ตามมาตรา 7
- การนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเสมือนการลงลายมือชื่อตนเอง ซึ่งถือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 9
- เมื่อจำเลยนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินใส่รหัสเพื่อทำรายการถอนเงิน และ กดยินยันทำรายการ พร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน ตามมาตรา 8 วรรค 1
คำพิพากษาไทย (6757/2560)
- การส่งข้อความผ่าน Facebook เพื่อยกหนี้ให้ถือเป็นการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 7
- และถือได้ว่าได้มีการทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วตามมาตรา 8
- รวมถึงเมื่อปรากฎว่าการส่งข้อความดังกล่าวมีชื่อผู้ส่งด้วย จึงถือว่าได้มีการลงลายมือชื่อตามมาตรา 9
ตัวอย่างของ e-Signature
- การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล
- การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสาร
- การใช้สไตลัส (stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้
ตัวอย่างของหลักฐานที่ควรบันทึก
- ข้อมูลที่ลงลายมือชื่อ
- ภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือ
- วันเวลาที่ลงลายมือชื่อ
- อัตลักษณ์ (identity) ของผู้ลงลายมือชื่อ
- วิธีการที่ใช้ยืนยันตัวตน
ขอทิ้งท้ายด้วยคำศัพท์น่ารู่ น่ารู้ 😆
จาก พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กันค่ะ
🔺"ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
🔺"ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”
3. การทำสัญญาระหว่างบริษัทต้องใช้ e-Signature ในมาตราเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายหรือไม่ (เช่น ใช้มาตรา 9 เหมือนกัน หรือ ถ้าบริษัท A ใช้มาตรา 26 และบริษัท B ใช้มาตรา 9 จะมีความเสี่ยงอะไรหรือไม่)
ตอบ : 👉🏻 ตามพ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) หากทำครบตามองค์ประกอบตามมาตรา 9 หรือมาตรา 26 สามารถใช้ได้ ❌ แต่ไม่แนะนำ ควรใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ประเภทและรูปแบบเดียวกัน
✅ การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ประเภทและรูปแบบเดียวกันจะช่วยให้การเก็บรักษาหลักฐานเกี่ยวกับการแสดงเจตนา การรักษาความครบถ้วน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สะดวกต่อการตรวจสอบ
❓ แล้วถ้าต้องการเลือกใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์คนละประเภทในเอกสาร/สัญญาเดียวกัน จะมีความเสี่ยงอะไรไหม ?
👉🏻 ตามพ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) มีการกำหนดลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ไว้หลายประเภท และมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันแน่นอนว่าภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเภทย่อมแตกต่างกัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ ลักษณะ ประเภท ขนาด หรือมูลค่าของธุรกรรมที่ทำ และควรพิจารณาตามความเสี่ยงของการนำไปใช้งาน เช่น
มาตรา 9 (e-Signature แบบทั่วไป) “ผู้กล่าวอ้าง ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น น่าเชื่อถือ”
เช่น บริษัท A ฟ้องว่า บริษัท B ว่าไม่จ่ายเงินตามสัญญาเงินกู้ แต่บริษัท B โต้แย้งว่า e-Signature แบบ Stylus ดังกล่าวเป็นของปลอม ดังนั้น บริษัท A ผู้กล่าวอ้างจึงมีหน้าที่ในการหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าลายเซ็นของบริษัท B เป็นของจริง
มาตรา 26 (e-Signature แบบเชื่อถือได้) “ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย ผู้โต้แย้งต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่า ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่น่าเชื่อถืออย่างไร” เช่น บริษัท C ฟ้อง บริษัท F ว่าไม่จ่ายเงินตามสัญญาเงินกู้ แต่ บริษัท F โต้แย้งว่า Digital Signature ดังกล่าวเป็นของปลอม ดังนั้น บริษัท F ผู้โต้แย้งต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่า Digital Signature ดังกล่าวไม่น่าเชื่อถืออย่างไร
✅การเลือกใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือและความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างจะช่วยจัดการความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับลายลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะไม่เป็นที่ยอมรับได้... อ่านต่อ
4. ได้ยินมาว่าหลายคนยังสงสัยและสับสนเรื่อง “ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 9 /มาตรา 26” ที่มีการพูดถึงเรื่องวิธีการที่เชื่อถือได้ทั้งคู่เลย ❓แต่ เอ๋? คุณลักษณะของ 2 ประเภทนี้จะมันเทียบเท่ากันเลยมั้ยน้า ...
👉🏻 ตามพ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) หากทำครบตามองค์ประกอบตามมาตรา 9 หรือมาตรา 26 สามารถใช้ได้ ❌ แต่ไม่แนะนำ ควรใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ประเภทและรูปแบบเดียวกัน
✅ การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ประเภทและรูปแบบเดียวกันจะช่วยให้การเก็บรักษาหลักฐานเกี่ยวกับการแสดงเจตนา การรักษาความครบถ้วน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สะดวกต่อการตรวจสอบ
ซึ่งก่อนจะตอบคำถามนี้ได้ ต้องขอหยิบยกมาตราต่าง ๆ ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาให้เล่าให้ทุกคนฟังกันก่อนว่า แต่ละมาตราคืออะไร และมีรายละเอียดยังไงบ้าง *** อาจจะยาวหน่อยแต่ต้องอ่านกันให้หมดนะ เอาล่ะ เริ่ม! 💪🏻🤗
📍 “มาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้มีการลงลายมือชื่อ หรือกำหนดผลทางกฎหมาย กรณีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อไว้ ให้ถือว่าได้มีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อ เกี่ยวกับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ
(2) ใช้วิธีการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) วิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมทั้งปวง รวมถึงข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ
(ข) วิธีการอื่นใดที่สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงเจตนาของ เจ้าของลายมือชื่อตาม (1) ได้ด้วยวิธีการนั้นเองหรือประกอบกับพยานหลักฐานอื่น วิธีการที่เชื่อถือได้ตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) ให้คำนึงถึง
- ความมั่นคงและรัดกุมของการใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการระบุตัวบุคคล สภาพพร้อมใช้งาน ของทางเลือกในการระบุตัวบุคคล กฎเกณฑ์เกี่ยวกับลายมือชื่อที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระดับความมั่นคง ปลอดภัยของการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัวบุคคลผู้เป็นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับหรือไม่ยอมรับ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทำธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ช่วงเวลาที่มีการทำธุรกรรมและติดต่อสื่อสาร
- ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทำจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอใน การทำธุรกรรม ประเพณีทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสำคัญ มูลค่าของธุรกรรมที่ทำหรือ
- ความรัดกุมของระบบการติดต่อสื่อสาร ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการประทับตราของนิติบุคคลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยอนุโลม”
📍 “มาตรา 25 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใด ที่ได้กระทำตามวิธีการแบบปลอดภัยที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาให้สันนิษฐานว่าเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้”
📍“มาตรา 26 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
- ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่น
- ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น
- สามารถจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นได้ และ
- ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่อเป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ สามารถจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความได้ นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์”
🚨🚨 ดังนั้นคำถามที่ว่า >>> “ ถ้าทำตามมาตรา 9 (2) (ก) กับมาตรา 25 แล้ว จะถือว่าเป็นมาตรา 26 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช่หรือไม่ ?”
ตอบ : ถ้าดูภายใต้ตัวบทบทบัญญัติในเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 9 (2) (ก) ระบุว่า ให้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ หรือ (2) (ข) วิธีการอื่นใดที่สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อ โดยถ้าสามารถทำตามมาตรา 25 ได้ กฎหมายจะให้ข้อสันนิษฐานว่าใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ ❌แต่จะไม่ใช่มาตรา 26 ❌ เพราะการจะเป็นมาตรา 26 จำเป็นต้องทำครบตามองค์ประกอบของมาตรา 26 ที่กล่าวมาข้างต้นก่อน
❓แล้ววิธีการดังกล่าวทำแล้วได้อะไร ??
👉🏻 มาตรา 9 (2) (ก) + มาตรา 25 กฎหมายจะให้ข้อสันนิษฐานว่าใช้วิธีการที่เชื่อถือได้แล้ว
แม้จะไม่ได้เป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26 แต่จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเหมือนกับมาตรา 26 นั่นเอง