TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

ข่าวประชาสัมพันธ์

ETDA ร่วมประกาศยืนยันเจตจำนง พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยความครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส

ITA Documents
  • 23 มี.ค. 66
  • 799

ETDA ร่วมประกาศยืนยันเจตจำนง พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยความครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดินหน้าเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานปี 2566 รองรับการทำงานทุกรูปแบบของพนักงาน ไม่ว่าจะในสำนักงานหรือการปฏิบัติงานนอกสถานที่ (Work from Anywhere) รวมพลังทุกส่วนงาน ผู้บริหาร-พนักงาน เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนมีทัศนคติ ค่านิยม ในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต พร้อมจัดมาตรการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น

1. การมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมหน่วยงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสETDA จัดกิจกรรม Homeday ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องการทำงานระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ETDA ได้จัดกิจกรรม Homeday เพื่อมอบนโยบาย “ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

2-(1).JPG

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ ETDA ที่เน้นย้ำให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ ETDA ทุกคนต้องไม่รับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิด (No Gift Policy) ทั้งในขณะปฏิบัติหน้าที่ ก่อนปฏิบัติหน้าที่ และหลังปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกัน และหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะส่งผลต่อดุลพินิจหรือการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจะทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนอันจะนำไปสู่ปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่

โดยผู้บริหาร และพนักงานรวมใจเป็นหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของ ETDA ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ เพื่อให้ ETDA เป็นองค์กรที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม มีความโปร่งใสต่อไป
และ ETDA ประกาศเจตจำนงในการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยความครบถ้วน ถูกต้อง (Integrity) โปร่งใส (Transparency) ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดย ดร.ชัยชนะ เป็นผู้นำในประกาศเจตจำนงพร้อมกันในรูปแบบ Hybrid ที่ห้อง Open Forum (ETDA) และผ่านระบบออนไลน์
 

3.JPG

2. การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้พนักงานมีทัศนคติ ค่านิยม ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีคุณธรรม ETDA ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ปลูกฝังให้พนักงานประพฤติปฏิบัติตนในการทำงานได้อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เกิดแบบแผนและแนวทางในการผลักดันให้พนักงานประพฤติตนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี พระธรรมเทศนา จาก พระมหาธีรกานต์ ฐานวฑฺฒโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพลีลามาบรรยายธรรม ณ ETDA เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ในหัวข้อ “การปลูกจิตสำนึกที่ดีในการทำงาน” และได้สอนถึงหลักธรรมพื้นฐานที่จะปลูกฝังให้คนเกิดความซื่อสัตย์สุจริตคือ หลักศีล 5 หรือเบญจศีล 5 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สอนให้มนุษย์งดเว้นจากความชั่ว ความทุจริตทางกายและวาจา รวมทั้งสิ่งไม่ดีทุกประการ โดยในการทำงาน ท่านทั้งหลายจะต้องระลึกถึงเสมอว่า เราจะต้องทำงานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือปฏิบัติงานโดยไม่รับผลตอบแทนที่ไม่ควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ใดๆ ทำความดีโดยไม่หวังผล เป็นผู้ให้ก่อนเป็นผู้รับ เช่น การทำจิตอาสาต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ก็เป็นการทำไปโดยไม่หวังผล ซึ่งในการทำความดีนั้นสามารถนำหลักธรรมทั้ง 5 ข้อมาปรับใช้กับชีวิตการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

  • ศีลข้อที่ 1 การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย (ปาณาติปาตา เวรมณี) หมายถึง การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน การทำงานร่วมกันต้องมีความเมตตาการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน ศีลข้อนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความสงบสุข ป้องกันการเบียดเบียนชีวิตและความหวาดระแวงระหว่างกัน
  • ศีลข้อที่ 2 การละเว้นจากการลักขโมย เบียดบังแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน (อทินนาทานา เวรมณี) การทำงานจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลักขโมยไม่นำทรัพย์สินของราชการไปใช้ในทางส่วนตัว ในเรื่องของการทำงาน การไม่โกงไม่ใช่เพียงแค่ทรัพย์สิน แต่รวมไปถึงเวลาในการทำงาน การเข้างานออกงานจะต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่โกงเวลาทำงาน ดังนั้น ศีลข้อนี้ไม่ใช่เพียงแค่การลักขโมยทรัพย์สินหรือวัตถุเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่ไม่เป็นวัตถุด้วย โดยจะต้องรักษาศีลข้อนี้ให้มั่นคงเพื่อสร้างสังคมที่สุจริตไม่คดโกง
  • ศีลข้อที่ 3 การละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) หากมีการประพฤติผิดศีลข้อนี้ไม่ว่าจะในหรือนอกสถานที่ทำงานย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย เกิดข้อครหานินทา หากยึดถือธรรมข้อนี้ได้ สถาบันครอบครัวและสังคมก็จะมั่นคง
  • ศีลข้อที่ 4 การละเว้นจากการพูดเท็จโกหกหลอกลวง (มุสาวาทา เวรมณี) การเบียดเบียนทางวาจา การพูดจามุสา ส่อเสียดกัน ย่อมสร้างความแตกแยกและก่อให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน
  • ศีลข้อที่ 5 การละเว้นจากสุราเมรัย สิ่งเสพติด (สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี) อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหาย ผิดพลาดเพราะขาดสติ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สอนให้มนุษย์ใช้ชีวิตตั้งอยู่บนความไม่ประมาทและอยู่อย่างมีสติกับปัจจุบันขณะ

ท้ายที่สุด หากทุกคนสามารถดำรงตนอยู่ในศีล 5 ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานได้ ยึดมั่นในศีลธรรม ละเว้นซึ่งความโลภ โกรธ หลง เราจะเป็นคนที่มีศีลมีธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่สงบสุขร่มเย็นต่อไป
4.JPG

นอกจากนี้ ETDA ยังได้นำหลักธรรมดังกล่าวมาเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ภายในองค์กร (อินทราเน็ต) ตลอดจนบนจอประชาสัมพันธ์ภายในสำนักงาน เพื่อให้พนักงานได้นำหลักธรรมดังกล่าวไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานและให้สอดคล้องกับค่านิยม (Core Value) ของ ETDA ซึ่งประกอบด้วย

1. E มาจาก Excellence หมายถึง เป็นเลิศในงานที่ทำ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. T มาจาก Teamwork หมายถึง ทำงานเป็นทีม สอดประสานกัน
3. D มาจาก Devotion หมายถึง มุ่งมั่น ทุ่มเท อุทิศตนในการทำงาน และ
4. A มาจาก Adaptability หมายถึง ปรับตัวอยู่เสมอ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

5.png

รวมไปถึงการเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพื่อให้สามารถนำไปปรับเป็นหลักใช้ในชีวิตประจำวันอีกหนึ่งทางเลือกได้ ผ่าน เว็บไซต์ และ เฟซบุ๊ก ทั้งนี้ ETDA จะเผยแพร่หลักธรรมดังกล่าว ให้แก่พนักงานและสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอต่อไปอีกด้วย

3. การสื่อสารข่าวสารและรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ ETDA
3.1 ติดต่อร้องเรียนได้ 3 ช่องทาง โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.etda.or.th/th/contact/suggestions-compliments.aspx

3.2 ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยเว็บไซต์ที่สามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ (Friendly Use) ผ่านเมนูย่อยต่าง ๆ ที่สะดวก ไม่ซับซ้อน ทั้งบนเดสก์ท็อป และอุปกรณ์เคลื่อนที่ และโซเชียลมีเดียหลัก ครบทุกช่องทาง
💡 Website: : https://www.etda.or.th
💡 Facebook: https://www.facebook.com/ETDA.Thailand/
💡 YouTube: https://www.youtube.com/c/ETDAChannel/
💡 Twitter: https://twitter.com/etda_thailand/
💡 Instagram: https://www.instagram.com/etda.thailand/
💡 TikTok: https://www.tiktok.com/@etda_thailand

6.jpg

4. การเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ร่วมตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)
แบบวัดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลนำไปประกอบการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการทุจริต โดยข้อมูลการตอบของผู้ตอบ จะได้รับการปกปิดเป็นความลับ และไม่มีการแสดงผลที่บ่งชี้การตอบรายบุคคล การตอบแบบวัดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 – 10 นาที โดยจะต้องตอบให้ครบทุกข้อ จึงจะสามารถส่งคำตอบได้ กรณีที่ยังตอบไม่ครบทุกข้อสามารถบันทึกคำตอบและกลับมาแก้ไขในภายหลังได้ในระยะเวลาที่กำหนด แต่เมื่อส่งคำตอบแล้ว จะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้ โดยผู้ตอบสามารถให้คำตอบและข้อเสนอแนะได้โดยอิสระ และสามารถยุติขณะใดก็ได้โดยไม่ส่งผลใด ๆ หากประสงค์จะตอบแบบวัด สามารถเข้าร่วมได้ที่ https://itas.nacc.go.th/go/eit/7xjesl หรือสแกนคิวอาร์โค้ด ภายใน 31 พฤษภาคม 2566 นี้
 

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)