Digital Transformation
- 15 ก.ย. 66
-
565
-
ETDA จับมือ นิด้า จัด Focus Group ผลการสำรวจสุขภาวะทางดิจิทัล (Digital Wellbeing) ปี 2566 เพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ดีของคนไทย
ETDA ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการสำรวจสุขภาวะทางดิจิทัล (Digital Wellbeing) ปี 2566 (ครั้งที่ 1) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.), สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุมเพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม Think Big ชั้น 20 ETDA
ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ETDA ได้กล่าวถึงความสำคัญ และการพัฒนากรอบแนวคิดสำหรับการสำรวจสุขภาวะทางดิจิทัล (Digital Wellbeing) ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยมิติของความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัลทั้ง 5 มิติ
1. สุขภาวะทางกาย (Physical Wellbeing)
2. สุขภาวะทางจิต (Mental Wellbeing)
3. สุขภาวะทางสังคม (Social Wellbeing) 4
4. ผลิตภาพในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Productivity)
5. การเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)
จากนั้น คณะที่ปรึกษาจากนิด้า ได้แก่ 1. รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ 2. ผศ.ดร.ปนันดา จันทร์สุกรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และ น.ส.ไพลิน เชื้อหยก ผู้จัดการศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ ได้นำเสนอถึงวัตถุประสงค์และผลการสำรวจสุขภาวะทางดิจิทัล (Digital Wellbeing) ปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ทั้งในมุมของการสำรวจความพร้อม ความต้องการ ผลกระทบทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การนำไปใช้ รวมถึงการพัฒนาสุขภาวะที่ดีของคนไทย และกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้เห็นประเด็นสำหรับการคาดการณ์อนาคตสู่การเกิดข้อเสนอแนะในระดับนโยบายที่สำคัญ
หลังจากการนำเสนอผลการสำรวจสุขภาวะทางดิจิทัล (Digital Wellbeing) ปี 2566 ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญที่สามารถนำมาพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการตั้งรับ การกำหนดแนวทางป้องกัน/แก้ไขปัญหา และผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น