AIGC
- 28 ก.ย. 66
-
433
-
การประชุม "3rd International Policy Advisory Panel [IPAP] 2023"
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 66 ที่ผ่านมาศูนย์ AI Governance Clinic by ETDA หรือ AIGC ได้จัดประชุม " 3rd International Policy Advisory Panel [IPAP] 2023" เพื่อสรุปผลภาพรวมการดำเนินงานที่ผ่านมาของศูนย์ AIGC และการแลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์จากคณะที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ IPAP เรื่อง Generative AI Governance
ซึ่งครั้งนี้ จัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid โดย Prof.Dr.Urs Gasser (TUM, Germany) ประธานในที่ประชุม ร่วมกับ Prof.Dr. Albert Bifet, นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์, ดร. รอม หิรัญพฤกษ์, ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ และ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม Wind โรงแรม Avani+ Riverside Bangkok โดยมี Prof.Dr. Christian Fieseler, Prof.Dr. Peter Parycek, Prof.Dr. Stefaan Verhulst, Dr. Sandra Cortesi, Prof.Dr. Kerstin Vokinger เข้าร่วมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
การประชุม 3rd International Policy Advisory Panel [IPAP] นี้ ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส สพธอ. ได้กล่าวถึงผลดำเนินกิจกรรมสำคัญที่ผ่านมาของศูนย์ AIGC เช่น การพัฒนาเล่มแนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารองค์กร (AI Governance Guideline for Executives) และ นำแนวทางดังกล่าวมาจัดประชุมโต๊ะกลมกับหน่วยงานเครือข่าย ใน 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การแพทย์ ภาครัฐ และภาคการเงิน การจัดหลักสูตร AI Governance Program (AiX) for Healthcare รุ่นที่ 1
ประเด็นสำคัญจากประชุมครั้งนี้ Prof. Dr. Urs Gasser (TUM, Germany) ประธานการประชุมและ คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IPAP ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเสนอแนะให้ประเทศไทย โดยศูนย์ AIGC สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรต่าง ๆ รวมถึงการร่วมมือภายในประเทศกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดการดูแลในประเด็นด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล AI นอกจากนี้ ยังเสนอแนะแนวทางให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมด้าน AI Governance ระดับนานาชาติ และการแบ่งปันความรู้ด้าน AI Governance ผ่านการดำเนินการทำงานของศูนย์ AIGC
นอกจากนี้ ในที่ประชุมโดยคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IPAP ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง Generative AI Governance ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- Prof.Dr. Kerstin Vokinger และ นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ ประเด็น Generative AI and Medicine Trends, Use cases, and Governance Issues
- Dr. Sandra Cortesi ประเด็น The Impacts of Generative AI on People’s Perception of Information Quality
- Prof.Dr. Stefaan Verhulst และ Prof.Dr. Peter Parycek ประเด็น Generative AI Use and Practices in Government and Opportunities for Thailand
- ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ประเด็น Emerging Cyber Security Risks in the Context of Generative AI
- Prof.Dr. Christian Fieseler ประเด็น Generative AI for Innovation, Entrepreneurship, and Experimentation
- Prof .Dr. Albert Bifet ประเด็น Generative AI: Source Models, Architecture, Energy and Privacy Efficiency
ในช่วงท้ายการประชุม ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวขอบคุณคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IPAP ทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมและเน้นเรื่องการวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไปตามที่ได้รับข้อเสนอแนะ จากที่ประชุม เพื่อส่งเสริมการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้อย่างมีธรรมาภิบาลในประเทศไทย ด้วยการพัฒนานโยบายที่ครอบคลุม แนวปฏิบัติทางจริยธรรม เพื่อช่วยสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลต่อไป