Foresight
- 03 มี.ค. 66
-
6191
-
อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576 (Futures of Mental Health in Thailand 2033)
Foresight Center by ETDA เปิดประเด็นจัด Workshop ระดมพาร์เนอร์เพื่อถกในเรื่อง Mental Health กับอนาคตมองไกลล่วงหน้าไปถึงปี พ.ศ. 2576
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ปี 2564 พบว่า จำนวนผู้ป่วยทางจิตเวชในไทย เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จาก 1.3 ล้านคนในปี 2558 เป็น 2.3 ล้านคน ในปี 2564 นี่ยังไม่รวม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อีกราว 1.35 ล้านคน ที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในรอบสิบปีที่ผ่านมา
และที่น่าตกใจคือ บ้านเรากลับมี จิตแพทย์ รวม 860 คน เท่านั้น นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต จ่อคิวเข้ารับการรักษากันอย่างเนืองแน่น... (ที่มา: https://thematter.co/social/psychologist-is-it-enough/188828)
อนาคต แนวโน้มสุขภาพจิตของเรา จะเป็นอย่างไร ดีขึ้น หรือ แย่ลง กันนะ ?
นี่จึงเป็นอีกโจทย์สำคัญ ที่ทำให้ Foresight Center by ETDA พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้อง อย่าง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ FutureTales Lab by MQDC จัด Workshop คาดการณ์อนาคต ในหัวข้อ "อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576" (Futures of Mental Health in Thailand 2033) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ทีผ่านมา ณ FutureTales Lab by MQDC
Workshop ครั้งนี้ ได้ระดมผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร จิตแพทย์ อาจารย์ คณะจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง รวมถึง กลุ่ม start up และ ประชาชนทั่วไป รวมกว่า 30 คน มาร่วมมองหาสัญญาณการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาขับเคลื่อนทิศทางอนาคตของสุขภาพจิตของไทย ผ่านกิจกรรมการสะท้อนมุมมองของแต่ละคน ด้วยการเลือกภาพ Trends Card ที่สื่อความหมายคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ นโยบาย การเมืองและสิ่งแวดล้อม ก่อนนำภาพที่เลือกมาจัดกลุ่ม หา Impact และ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และร่วมวาดภาพอนาคตของระบบการดูแลสุขภาพจิตของสังคมไทย
โดยผลสำคัญที่ได้จากการทำ workshop ร่วมกันในครั้งนี้ คือ
- สัญญาณการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยในปัจจุบัน เช่น วิถีชีวิตคนเมือง การแพร่ระบาดของข่าวปลอม อาชญากรรมและความรุนแรง ปัญญาประดิษฐ์เพื่อดูแลจิตใจ ฯลฯ
- Mega Trend ที่สำคัญ ในเรื่องความหลากหลายในสังคม การอยู่ร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักรกล การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และวิกฤตสิ่งแวดล้อม
- Future Scenarios: 5 ภาพอนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย
- Scenarios 1: Terror Outburst การระเบิดของความหวาดกลัว
- Scenarios 2: Opportunity in Adversity วิกฤตที่แฝงด้วยโอกาส
- Scenarios 3: Packs of Lone Wolves มวลชนผู้โดดเดี่ยว
- Scenarios 4: Decentralized Mental Well-being สุขภาพใจที่กระจายถึงกัน
- Scenarios 5: Land of Smiling Minds จุดหมายแห่งความสุข
ประเด็นสุดท้ายคือ Guide to Action: ข้อเสนอต่อการปฏิบัติ โดยในส่วนของ "ภาครัฐ" ควรจัดลำดับความสำคัญประเด็นสุขภาพจิต ให้อยู่ในลำดับต้น ส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตในทุกโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน และ "ภาคเอกชน" ควรเน้นการอยู่ร่วมกันในองค์กร ดูแลคนที่กำลังประสบปัญหาให้กลับมาเป็นทรัพยากรที่ดีขององค์กรต่อไปได้ รวมถึงการมีบทบาทเข้าไปดำเนินการกับภาคส่วนต่างๆเพื่อสร้างสุขภาพจิตที่ดี ส่วน"ชุมชน"เอง ควรส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจของคนในชุมชน สำหรับในส่วนของ "ประชาชน" ควรหมั่นสำรวจและดูแลจิตใจตัวเองและพยายามจัดการความเครียดที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาต่อยอดสู่การจัดทำรายงานวิจัย “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576” ฉบับสมบูรณ์ ภายในปี 66 นี้ เพื่อเป็นอีกกลไก...ที่จะช่วยฉายภาพอนาคตสุขภาพจิตของคนไทย ทำให้การขับเคลื่อนนโยบาย หรือทิศทางการดูแลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างการรับรู้ในวงกว้างถึงผลการศึกษาของทั้ง 4 หน่วยงาน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เพราะเราอยากเห็นคนไทยมีความสุขกว่าที่เคย
“Light Up The Future”
#ETDATHAILAND #ETDA #ForesightCenter #Foresight #LightUpTheFuture #อนาคตสุขภาพจิตไทย #ชีวิตดีเมื่อมีดิจิทัล #NIA #กรมสุขภาพจิต #FutureTalesLabbyMQDC