TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

บริการดิจิทัลและโครงสร้าง

ขั้นตอนที่ 5 ทำให้เกิดการใช้งานจริง​ Documents

ขั้นตอนที่ 5 ทำให้เกิดการใช้งานจริง​

 

5.1 รูปแบบของการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (ผ่าน PDF Reader / TEDA Web Validation / TEDA Web Validation API)

การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้น

T5_01_01_Original-Document-Validation.png
 

จากปัญหาข้างต้นดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้แน่ใจว่า
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีการแก้ไขหลังจากการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
และให้เอกสารเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายและสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลได้

 

วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ความเหมาะสม ข้อดีและข้อควรพิจารณา
1. PDF Reader

ตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม PDF Reader เช่น Adobe Acrobat Reader DC, Nitro PDF Reader, Foxit Reader เป็นต้น

เหมาะสำหรับ...

  • ผู้รับเอกสารเป็นผู้ตรวจสอบเองผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
  • หน่วยงานปลายทางที่นำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ให้บุคคลเป็นผู้ตรวจสอบผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดี
  • หน่วยงานที่ออกเอกสารไม่ต้องพัฒนาระบบตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เอง
  • สามารถตรวจสอบได้แม้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ข้อควรพิจารณา
  • รูปแบบการแจ้งผลการตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เข้าใจง่ายแค่พอสมควร
2. TEDA Web Validation

ตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ TEDA Web Validation Portal

เหมาะสำหรับ...

  • ผู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ตรวจสอบเองผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับการใช้งานเบราเซอร์
  • หน่วยงานปลายทางที่นำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ให้บุคคลเป็นผู้ตรวจสอบเองผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับการใช้งานเบราเซอร์ 
ข้อดี
  • หน่วยงานไม่ต้องพัฒนาระบบตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เอง
  • รูปแบบการนำเสนอผลการตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เข้าใจง่ายกว่าแบบ PDF Reader
  • รองรับการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ตรวจสอบโครงสร้างข้อมูล XML ที่แนบมากับไฟล์ PDF ให้มั่นใจได้ว่า XML มีโครงสร้างข้อมูลที่ถูกต้องกับที่ลงทะเบียนไว้ในระบบ TEDA Schemas
ข้อควรพิจารณา
  • อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
3. TEDA Web Validation API

ตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ API

เหมาะสำหรับ...

  • หน่วยงานปลายทางที่นำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ต้องการตรวจสอบโดยให้ระบบตรวจสอบแทนบุคคล
ข้อดี
  • สามารถตรวจสอบเอกสารจำนวนมากในคราวเดียวกันได้
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับระบบต้นทางของหน่วยงาน เช่น ทำงานร่วมกับฟังก์ชันการตรวจสถานะของใบอนุญาต ทำให้สามารถขยายความสามารถการตรวจเอกสารได้หลากหลาย
ข้อควรพิจารณา
  • หน่วยงานที่ต้องการตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องพัฒนาระบบเพื่อเรียกใช้บริการ API ของ ETDA

  ETDA_STYLE_shadows@4x.png
 
 

1. ตัวอย่างการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วย PDF Reader ด้วย Adobe Acrobat Reader DC

1) ตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัล โดยแถบสถานะแสดงขึ้นเมื่อเปิดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Adobe Acrobat Reader DC

  • เครื่องหมายถูก เมื่อตรวจไม่พบว่ามีการแก้ไขเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หลังลงลายมือชื่อ
  • เครื่องหมายผิด เมื่อตรวจพบว่ามีการแก้ไขเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หลังลงลายมือชื่อ
 

ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการตรวจสอบเมื่อไม่พบการแก้ไข

T5_01_02_Digital-e-Licensing-Validation_Modification-Detection_False.png
 

ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการตรวจสอบเมื่อพบการแก้ไข

T5_01_03_Digital-e-Licensing-Validation_Modification-Detection_True.png
 

2) ตรวจสอบข้อมูลใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ลงลายมือชื่อดิจิทัล โดยคลิก Show Signer’s Certificate เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ลงลายมือชื่อดิจิทัล

ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลและรายละเอียดของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

T5_01_04_Certificate-Validation-Info.png
 

 

2. ตัวอย่างการทำงานของการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบกลาง TEDA Web Validation

TEDA Web Validation จะรองรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการสร้างและบันทึกเป็นรูปแบบ PDF, PDF/A-3 (.pdf) หรือ XML (.xml) โดยสามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

  • มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล/การประทับรับรองเวลาหรือไม่
  • มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • สถานะของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
  • ข้อมูล XML มีโครงสร้างและฟิลด์ตามรายการโครงสร้างที่มีการลงทะเบียนไว้กับ ETDA (TEDA Schemas) ครบถ้วนถูกต้อง ซึ่งจะแสดงเป็นผลการตรวจสอบในแต่ละส่วนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่
 

ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลให้อัปโหลดไฟล์เพื่อตรวจสอบ

T5_01_05_TEDA_Upload-File-to-Validate.png
 

ผลการตรวจสอบทั้งหมด 4 รูปแบบ

สัญลักษณ์ คำอธิบาย
T5_01_07_TEDA_Valid-Result-Page_Valid.png เครื่องหมายถูก หมายถึง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีลายมื่อชื่อดิจิทัลและ/หรือมีการประทับรับรองเวลาในรูปแบบที่ระบบรองรับด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้ Global หรือ NRCA และไม่พบการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสาร ข้อมูล XML มีโครงสร้างและความครบถ้วนถูกต้องของฟิลด์ตามรายการโครงสร้างที่มีการลงทะเบียนไว้กับ ETDA (TEDA Schemas)
T5_01_08_TEDA_Valid-Result-Page_Error.png เครื่องหมายผิด หมายถึง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอย่างน้อย 1 จุดที่พบปัญหา
T5_01_09_TEDA_Valid-Result-Page_Notice.png เครื่องหมายตกใจ (อัศเจรีย์) หมายถึง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอย่างน้อย 1 จุดที่พบข้อควรสังเกต
T5_01_10_TEDA_Valid-Result-Page_Different-Format.png เครื่องหมายคำถาม (ปรัศนี) หมายถึง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นยังไม่มีลายมือชื่อดิจิทัลหรือไม่มีการประทับรับรองเวลาในรูปแบบที่ระบบรองรับ หรือ โครงสร้างข้อมูล (XML Schema)/กฎการใช้งาน (Schematron) ของ XML ไม่ได้ถูกลงทะเบียนไว้กับ ETDA (TEDA Schemas)

  ETDA_STYLE_shadows@4x.png
 

ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการตรวจสอบการประทับรับรองเวลา

T5_01_06_TEDA_Validate-e-Timestamp.png
 
 

3. ตัวอย่างการทำงานของการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบกลาง TEDA Web Validation API

ขั้นตอนการขอใช้บริการ

ขั้นตอนการนำไปใช้งาน

T5_01_11_TEDA_Web-Validation-API.png
 

แหล่งที่มา


 
 
 

5.2 รูปแบบที่แนะนำให้หน่วยงานจัดทำเพื่อให้ผู้ใช้เอกสารสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต้นทาง

การเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต้นทาง

ตัวอย่างการใช้งานที่เกิดขึ้น

T5_02_01_Faultless-Document-Validation.png
 

จากตัวอย่างการใช้งานข้างต้น จึงมีการแนะนำให้ใช้การลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) จากการใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้น ถูกแก้ไขหรือไม่ ก่อนนำไปใช้งาน อย่างไรก็ตาม หากมีการพิมพ์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ลงบนกระดาษแล้ว ก็จะไม่สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือด้วยวิธีดังกล่าวได้

ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่มีการใช้เอกสารทั้งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และกระดาษควบคู่กันนั้น จึงควรมีแนวทางเสริม เพื่อรองรับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบนเอกสาร

 

รูปแบบที่แนะนำให้หน่วยงานจัดทำเพื่อให้ผู้ใช้เอกสารสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับแหล่งต้นทาง

รูปแบบที่แนะนำให้หน่วยงานจัดทำ ความเหมาะสม ข้อดีและข้อควรพิจารณา
1. QR Code

สแกน QR Code ที่ปรากฏบนเอกสารเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

เหมาะสำหรับ...

  • หน่วยงานที่มีระบบฐานข้อมูลและมีทรัพยากรในการพัฒนาระบบเพิ่มเติม
  • การตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือโปรแกรมอ่าน QR Code เป็นต้น
ข้อดี
  • ตรวจสอบได้สะดวกด้วยอุปกรณ์พกพา
ข้อควรพิจารณา
  • ต้องเพิ่มขั้นตอนการประทับ QR Code ลงบนเอกสารในการพัฒนาระบบออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • อาจมีการทำ QR Code ปลอม เพื่อให้ข้อมูลตรงกับเอกสารที่มีการแก้ไข
2. Search Tool

สืบค้นข้อมูลของเอกสารผ่านช่องทางออนไลน์ของหน่วยงานเจ้าของเอกสาร

เหมาะสำหรับ...

  • หน่วยงานที่มีระบบฐานข้อมูลและทรัพยากรในการพัฒนาระบบขั้นพื้นฐาน
  • การตรวจสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต เป็นต้น
ข้อดี
  • พัฒนาระบบน้อยกว่าแบบ QR Code (พัฒนาเฉพาะระบบสืบค้น)
ข้อควรพิจารณา
  • ผู้ใช้ต้องค้นหาด้วยการป้อนข้อมูลบนระบบผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งสะดวกน้อยกว่าการสแกน QR Code
  • เงื่อนไขที่ใช้สืบค้นที่เหมาะสม และการคัดกรองผู้ใช้งาน เพื่อไม่ให้มีการแสดงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต

  ETDA_STYLE_shadows@4x.png
 
 
 

5.3 แนวทางการเก็บรักษาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตลอดช่วงชีวิตของเอกสาร

แนวทางการเก็บรักษา

แนวทางการเก็บรักษาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถเก็บรักษาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อความในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายต้องการ  ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

ผู้ออกและผู้รับบริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเก็บรักษาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไว้ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาไว้ตามระเบียบนี้แล้ว

  • เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
  • เก็บรักษาหรือแสดงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นอยู่ในขณะที่สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลนั้น
  • เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง และปลายทางของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือได้รับข้อความ
 

นอกเหนือจากที่กล่าวดังข้างต้น หน่วยงานใดที่รับผิดชอบในการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด อาจกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความนั้นได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติ

 
 

 

5.4 แนวทางการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตลอดช่วงชีวิตของเอกสาร (กรณีแก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์ / ต่ออายุ)

วัตถุประสงค์ของแนวทางการแก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์ / ต่ออายุ

แนวทางการแก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์ / ต่ออายุ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ยังคงความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลได้ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

 

รูปแบบการแก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์ / ต่ออายุ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่แนะนำ

เนื่องจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข ดังนั้นจึงให้แก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์/ต่ออายุผ่านระบบ โดยวิธีการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ใหม่แทนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เดิม

 

แก้ไข หรือโอนกรรมสิทธิ์ / ต่ออายุ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยทำการออกเอกสารใหม่

 

T5_04_03_Modify-Transfer-Renew_As-Is_New_Online.png
 
 
 

 

5.5 แนวทางการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตลอดช่วงชีวิตของเอกสาร (กรณียกเลิก)

วัตถุประสงค์ของแนวทางการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

แนวทางการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การบริการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบครบวงจร จึงมีการแนะนำแนวทางในการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

 

แนวทางการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่แนะนำ

เพื่อให้การบริการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบครบวงจร จึงแนะนำแนวทางการให้บริการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ โดยที่ระบบสามารถทำการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้อัตโนมัติ ณ ที่เก็บไฟล์ของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ 

 

ให้บริการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ
โดยที่ระบบสามารถทำการยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้อัตโนมัติ

T5_05_03_Cancel_To-Be_Online.png
 
 

วิธีการตรวจสอบในกรณีที่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ถูกยกเลิก

วิธีการตรวจสอบในกรณีที่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ถูกยกเลิก ข้อควรพิจารณา

เมื่อยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ระบบทำการเปลี่ยนสถานะของเอกสารเป็นสถานะ "ยกเลิก" บนที่เก็บไฟล์ของเอกสาร ดังนั้นเมื่อตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แล้วจะแสดงสถานะของเอกสารว่าถูกยกเลิก

หากเปิดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ใน PDF Reader จะไม่สามารถทราบได้ว่าเอกสารถูกยกเลิกแล้ว


  ETDA_STYLE_shadows@4x.png

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ e-Licensing Transformation ได้ที่