TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

Knowledge Sharing

e-Commerce เพื่อชุมชน ตอน บ้านศาลาใหม่ ชุมชนร่วมใจยกระดับคุณภาพชีวิตจากวัตถุดิบท้องถิ่น

e-Commerce Documents
  • 26 ส.ค. 63
  • 892

e-Commerce เพื่อชุมชน ตอน บ้านศาลาใหม่ ชุมชนร่วมใจยกระดับคุณภาพชีวิตจากวัตถุดิบท้องถิ่น

จากปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงาน ก่อให้เกิดการรวมตัวกันของศิษย์เก่าและนักเรียน โรงเรียนจรรยาอิสลาม จังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนาอาชีพ หวังยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ จนเกิดเป็นชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่ จังหวัดนราธิวาส ผลิตและจำหน่าย “ผ้าฮิญาบ” และ “จักสานกระจูด” ขึ้น

109990041_106102111188271_6423209583375582879_o-(1).jpg

ชุมชนบ้านศาลาใหม่ จังหวัดนราธิวาส

30 บาท/เดือน นำมาเป็นต้นทุนการผลิต และทุกสิ้นปีหากได้กำไรก็จะนำมาปันผลให้แก่สมาชิก ปัจจุบันได้ผลิตสินค้าส่งภายในประเทศให้แก่ “ร้านภูฟ้า” ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เดิมชุมชนนี้มีอาชีพหลักคือการผลิตผ้าฮิญาบส่งออกไปขายยังประเทศมาเลเซีย ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังได้พบเห็นสินค้าผ้าฮิญาบของชุมชน จึงเสนอแนะให้ คุณครูฮาลีเม๊าะห์ มะหลง ประธานกลุ่ม เพิ่มช่องทางการขายภายในประเทศอีกหนึ่งช่องทาง เพราะเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากเช่นกัน น่าจะเป็นการขยายตลาดและกลุ่มลูกค้าได้ดี นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ คุณครูฮาลีเม๊าะห์ ได้ก่อตั้ง “กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่” ขึ้น เพื่อขายสินค้าชุมชนอย่างเป็นระบบ

ปัจจุบันชุมชนนี้ได้กลายเป็น 1 ใน 21 ชุมชน ของกลุ่มอาชีพประชาชน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งนอกจากผ้าฮิญาบแล้ว ชุมชนยังได้ผลิตสินค้าจักสานจากต้นกระจูด ซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่นอีกด้วย

117384743_125359499262532_5722371961842993299_o.jpg 117644877_135293698269112_6776101124546236718_o.jpg

พืชท้องถิ่น กลายเป็น สินค้าชุมชน

กระจูด เป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีคุณสมบัติที่เหมาะแก่การจักสานเป็นอย่างมาก ด้วยความยืดหยุ่น ไม่แตกหัก และคงทน ทำให้ประธานกลุ่มเล็งเห็นว่าควรนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นชนิดนี้มาสร้างรายได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่ จึงได้เกิดการเรียนรู้ ทดลอง และลองผิดลองถูก จนในที่สุดชุมชนก็สามารถผลิตจักสานจากกระจูดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ และส่งขายให้ “ร้านภูฟ้า” ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ควบคู่กับการขายผ้าฮิญาบ

11(1).jpg 12(1).jpg
(ภาพถ่ายก่อนมีการประกาศและคำสั่งเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19)
 
ขยายช่องทางการขายอย่างไม่หยุดยั้ง จากออฟไลน์สู่ออนไลน์

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินโครงการ ส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน (Thailand e-Commerce Sustainability) เพื่อผลักดันให้การทำอีคอมเมิร์ซช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มรายได้ และสร้างชาติ ภายใต้แนวคิด e-Commerce Nation จึงได้ผสานความร่วมมือและเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่ ในการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความรับรู้แก่สินค้าชุมชนและเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่ง 

ปัจจุบันสมาชิกชุมชนได้เรียนรู้การขายออนไลน์อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย การทำการตลาดออนไลน์ การถ่ายภาพและวิดีโอ รวมถึงการเขียนคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการขาย ซึ่งขณะนี้ทางชุมชนอยู่ในช่วงทดลองการขายออนไลน์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ผู้สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่ หรืออยากติดตามเป็นกำลังใจให้กับชุมชน สามารถติดต่อได้ที่: Facebook Fanpage: กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านศาลาใหม่
 

Rating :
Avg: 5 (1 ratings)