TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

Knowledge Sharing

วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19 ตอนที่ 2

e-Commerce Documents
  • 15 ก.ค. 63
  • 1157

วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19 ตอนที่ 2

หลังจากทราบ 4 ปัจจัยแรกของเครื่องมือในการเขียนแผนธุรกิจ หรือ Business Model Canvas ในบทความ วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19 ตอนที่ 1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ จะนำอีก 3 ปัจจัย มาใ้วิเคราะห์ เพื่อจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้แม้ต้องประสบกับภาวะวิกฤต

info_BusinessCanvas-2-02.jpg

1.การปรับต้นทุน (Cost Structure)
          ไม่เพียงแต่การปรับลดต้นทุน แต่รวมไปถึงการปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจในขั้นตอนที่ส่งผลต่อต้นทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ผู้ประกอบการประเภทการบริการ ร้านอาหาร สปา โรงแรม ที่มักใช้บริการ Online Travel Agency (OTA) เพื่อทำการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า ซึ่งช่องทางดังกล่าวผู้ประกอบการจะถูกหักค่าบริการกว่า 30% นับเป็นกระบวนการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อต้นทุนเป็นอย่างมาก แต่ถ้าผู้ประกอบการสามารถทำการตลาดผ่านเว็บไซต์ของตนเองได้โดยตรงจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการในส่วนนี้ได้

info_BusinessCanvas-2-03(1).jpg

2.กระบวนการหลัก (Key Activities)

          เมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ ผู้ประกอบการต้องปรับกิจกรรมหลักหรือกระบวนการผลิตหลักของธุรกิจให้ทันท่วงที เพราะยิ่งดำเนินการในส่วนนี้ได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งถือเป็นการสร้างโอกาสในภาวะวิกฤตได้มากเท่านั้น

คุณสุชาดา เจ้าของเกรียงไกรโภชนาโต๊ะจีน ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เรื่องการห้ามให้มีการจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ได้ปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจหลักจากการให้บริการจัดโต๊ะจีน เป็นบริการอาหารแบบโต๊ะจีนส่งถึงที่ เพื่อใช้วัตถุดิบปรุงอาหารที่ได้ลงทุนไปไม่ให้เกิดการเน่าเสีย และให้พนักงานเสิร์ฟโต๊ะจีนทำหน้าที่เป็นพนักงานส่งอาหาร เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดในวิกฤตครั้งนี้

info_BusinessCanvas-2-04(1).jpg

3.ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationships)

          ผู้ประกอบการต้องสร้างคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความจงรักภักดี (Loyalty) จนทำให้เกิดการซื้อ/ใช้บริการซ้ำ หรือเกิดการบอกปากต่อปาก (Mouth to mouth) ที่มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ เช่น

  • Yves Saint Laurent Beauté - YSL Thailand เครื่องสำอาง Hi-end ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้เช่นกัน เพราะเส้นทางการซื้อสินค้าของลูกค้า (Customer journey) มีความเฉพาะตัวบุคคลเป็นอย่างมาก ทำให้การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้านัก เพราะเมื่อเกิดการผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องสำอางจะไม่สามารถเปลี่ยนคืนได้อีกทั้งสินค้ายังมีราคาที่สูงมาก YSL Thailand จึงใช้โอกาสนี้ในการปรับเปลี่ยนบริการลูกค้าสัมพันธ์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยลูกค้าที่เข้ามาสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะได้รับการดูแลจาก Beauty Assistant (BA) โดยตรง นับเป็นการรักษาคุณค่าการบริการของแบรนด์ (Branding value) ให้คงอยู่เหมือนเช่นการซื้อสินค้าผ่านเคาน์เตอร์เครื่องสำอาง

เครื่องมือในการเขียนแผนธุรกิจ หรือ Business Model Canvas พร้อมตัวอย่างสถานการณ์การปรับตัวของแต่ละธุรกิจเพื่อก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตการระบาดของโรค COVID-19 ในทั้ง 2 ตอนนั้น เป็นตัวอย่างจริงที่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจที่กำลังจะเข้าสู่สภาวะปกติใหม่ (New normal) และเดินหน้าธุรกิจได้ผ่านภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ไปได้

ที่มา
  1. "Business Model Canvas for User Experience". grasshopperherder.com. 2012-06-19. Retrieved 2012-06-20
  2. อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อความตั้งใจเลือกใช้บริการโรงแรมที่พักในประเทศไทย
  3. พิษโควิด-19 โต๊ะจีนนครปฐมเจ๊งพันล้าน ปรับตัวสู่ดีลิเวอรี่
  4. YSL BEAUTY ADVISORS

วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19

Rating :
Avg: 0 (0 ratings)