TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

Knowledge Sharing

7 แนวทางสำคัญในการขับเคลื่อน Data Sharing

Digital Service Documents
  • 21 ก.ค. 66
  • 1316

7 แนวทางสำคัญในการขับเคลื่อน Data Sharing

ในยุคที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูลกลายเป็นทรัพยากรหลักในโลกยุคใหม่ ทุกองค์กรพยายามผลักดันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในหลายมิติสู่การเป็น Data-driven Organization ทุกประเทศก็แข่งขันกันผลักดัน Data Economy ให้เป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ การแบ่งปันข้อมูลหรือ Data Sharing กลายเป็นสารเร่งสำคัญที่จะมาช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

หลายประเทศเริ่มมีการทำ Data Sharing ระหว่างภาคธุรกิจ เพื่อยกระดับการให้บริการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สหภาพยุโรปผลักดัน Data Space เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการรักษาผู้ป่วย ให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลและดูแลผู้ป่วยที่ส่งต่อข้ามโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องขอข้อมูลใหม่ทุกครั้ง ออสเตรเลียผลักดัน Consumer Data Right ให้ลูกค้าธนาคารสามารถขอกู้เงินหรือใช้บริการอื่นจากธนาคารใดก็ได้ โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามการจะผลักดันให้เกิด Data Sharing ในประเทศไทยได้จริง ยังมีความท้าทายในหลายด้าน ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นที่องค์กรส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นถึงกรณีการใช้ประโยชน์หรือ Use Case จากการแบ่งปันข้อมูล จึงมักไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหน นอกจากนี้ภาคธุรกิจก็มักมีความกังวลเรื่องกฎหมาย โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมาย PDPA และแม้ว่าการทำ Data Sharing จะสามารถสร้างประโยชน์องค์รวมได้มาก แต่ก็ยังขาดมาตรการจูงใจที่เป็นระบบ

เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำ Data Sharing ในภาคธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างมาตรฐานในการใช้ข้อมูลที่ปลอดภัยและเคารพสิทธิด้านข้อมูลส่วนบุคคล ประเทศไทยสามารถดำเนินการ 7 แนวทางสำคัญ ได้แก่

  1. การจัดตั้ง Data Sharing Committee เพื่อขับเคลื่อนการทำ Data Sharing โดยครอบคลุมการกำหนด ทิศทางนโยบาย ออกกฎหมาย และมาตรฐาน
  2. การพัฒนาบริการ Data Sharing Assistant Platform เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูล รับเรื่องร้องเรียน และให้คำปรึกษา แก่ธุรกิจที่ต้องการทำ Data Sharing
  3. การสร้าง Data Integration Hub มาเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางที่ปลอดภัยและใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลเดียวกัน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธุรกิจ
  4. การผลักดันให้มี Data Marketplace แพลตฟอร์มกลางสําหรับการชื้อ-ขาย ข้อมูลระหว่างองค์กร ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเหมาะสม
  5. การทำ Data Sharing Promotion เพื่อสร้างการรับรู้ให้ความรู้ และพัฒนาทักษะที่จําเป็นสําหรับ Data Sharing เช่น จัดทำสื่อหรือจัดงานประชาสัมพันธ์
  6. การส่งเสริม Funding & Benefits หรือกองทุนที่สนับสนุนการทำ Data Sharing ของภาคธุรกิจ โดยการจัดสรรงบประมาณลงทุน และการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
  7. การจัดให้มี Data Sharing Testbed & Regulatory Sandbox ในการจำลองสภาวะแวดล้อม (Test Environment) สําหรับทดสอบการใช้เทคโนโลยีแบ่งปันข้อมูล และการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล
Data Sharing จะส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ภาครัฐจะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจได้จากหลากหลาย Use case ที่ต่อยอดจากการแบ่งปันข้อมูล ภาคเอกชนจะมีข้อมูลมากขึ้นเพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ร่วมกับหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วนพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ Data Sharing เกิดขึ้นจริง เพื่อเร่งผลักดัน Data Economy และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจไทย ให้แข่งขันได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนท่ามกลางความพลิกผันในโลกยุคดิจิทัลต่อไป

Rating :
Avg: 5 (2 ratings)