TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

OUR SERVICES

บริการของเรา

กฎหมายดิจิทัล

กฎหมายดิจิทัล

KNOWLEDGE

SHARING

คลังความรู้

กรณีศึกษาการใช้ Digital ID ในเอสโตเนีย ต้นแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของนิติบุคคลแห่งยุคดิจิทัล

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาปฏิวัติวิถีชีวิตและการดำเนินธุรกิจ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ประเทศเอสโตเนียได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นผู้นำด้าน Digital ID และ e-Government

กรณีศึกษาการใช้งานจริงของ Digital ID สำหรับคนต่างด้าว เรียนรู้จากเกาหลีใต้ สู่การประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

โลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกมิติของชีวิตประจำวัน อัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital ID) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำธุรกรรม การเข้าถึงบริการ และการยืนยันตัวตนในโลกออนไลน์ การพัฒนา Digital ID ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลาย เช่น คนต่างด้าว

ปฏิทินกิจกรรม

EVENT CALENDAR

ETDA

NEWS

26 มี.ค. 68

21 มี.ค. 68

เมื่อเร็วนี้ๆ - นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดการประชุมวิชาการ

20 มี.ค. 68

เคยสงสัยไหมว่า ทุกครั้งที่คุณกดไลก์ โพสต์ข้อความ แชร์รูปภาพ หรือแสดงความคิดเห็นลงบนโลกออนไลน์ คุณกำลังทิ้งร่องรอยอะไรไว้บ้าง? การกระทำที่ดูเหมือนเล็กน้อยเหล่านี้ ไม่ได้หายไปตามกาลเวลาเหมือนรอยเท้าบนผืนทราย แต่กลับกลายเป็น 'ร่องรอยดิจิทัล' หรือ ‘รอยเท้าดิจิทัล’ (Digital Footprint) ที่อาจติดตัวคุณไปตลอดกาล

ศัพท์ความรู้

คำที่ถูกค้นหามากที่สุด

  • e-Commerce

    e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง [1]   e-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) ที่ขอบเขตกว้างกว่า โดยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมทางออนไลน์ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์, การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่าง ๆ บนเครือข่าย, การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย, การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร และการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น [2]   ที่มา: [1] สวทช. [2] ICT Law Center

  • ISP (Internet Service Provider)

    Internet service provider (ISP) หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เช่น Dial, DSL, เคเบิลโมเด็ม ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น   แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://www.thefreedictionary.com/isp

  • กฎหมายอาญา

    หมายถึง กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและสังคม โดยกฎหมายอาญากำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิด แบ่งได้ ๕ ประการ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘) ดังนี้ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน

PARTNERS

INTERNAL