e-Commerce
- 28 ก.พ. 63
-
931
-
เรื่องเล่ากลุ่มโรงเรียน ทสรช. ตอน HATTHA (หัตถา) การรวมตัว แห่ง ความหวัง
ในวันนี้นอกจากการให้ความความรู้ในรูปแบบทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทางโครงการยังมีการช่วยเหลือ ติดตาม และสนับสนุน กลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างไม่หยุดยั้ง จนเกิดเป็นโมเดลการรวมร้านค้าบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายความรู้และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ในชื่อว่า HATTHA (หัตถา)
HATTHA (หัตถา) การรวมตัว แห่ง ความหวัง
HATTHA (หัตถา) เป็นการประกอบรวมกันของตัวอักษรภาษาอังกฤษ 6 ตัวที่สื่อความหมายถึงเอกลักษณ์และตัวตนของโครงการ ได้แก่ Handcraft (สินค้าทำมือ), Arty (ศิลปะ), Thai-ness (ความเป็นไทย), Together (การรวมตัว), Hope (ความหวัง) และ Able (ความสามารถ)
นอกจากชื่อแบรนด์ที่เกิดจากการรวมความหมายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ในทางปฏิบัติ HATTHA (หัตถา) ถือเป็นการรวมตัวกันของ กลุ่มโรงเรียน ทรสช. เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือของกลุ่ม อีกทั้งยังเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าและร้านค้า เพื่อให้เกิดการรับรู้แก่กลุ่มคนในวงกว้างตามหลักการตลาด ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายให้มากขึ้น
รวมสินค้า รวมความสามารถ รวมความสำเร็จ แห่ง HATTHA (หัตถา)
ตลอดการดำเนินโครงการกว่า 4 ปี ก่อให้เกิดความสำเร็จและองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการขายสินค้าผ่าน e-Commerce มากมาย และเพื่อส่งต่อองค์ความรู้เหล่านี้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ กลุ่มร้านค้าในเครือโรงเรียน ทสรช. ภายใต้แบรนด์ HATTHA (หัตถา) จึงได้เข้าร่วม งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16 หรืองาน NAC 2020 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดการประชุม
ภายในงาน ผู้เข้าร่วมงานจะได้พบกับบูทสินค้าและน้อง ๆ ตัวแทนจากโครงการ ทสรช. ที่พร้อมจะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการขายสินค้าผ่าน e-Commerce รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น การอบรมเทรนด์เพื่อการออกแบบงานหัตถศิลป์, สมรรถนะทางด้าน e-Commerce เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของโรงเรียนที่เปิดร้านค้าผ่าน e-Marketplace อย่าง SHOPEE อีกด้วย สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page : Smart Hattha