1 |
|
|
|
ธนาคารโลก ได้จัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business Ranking: EoDB) เป็นประจำทุกปี ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการจัดอันดับกว่า 190 ประเทศทั่วโลก รายละเอียด |
การจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจมีการประเมินตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ ทั้งหมด 10 ด้าน ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมพื้นฐานในการประกอบธุรกิจตั้งแต่การจัดตั้งธุรกิจไปจนถึงการปิดกิจการ ได้แก่
1) การเริ่มต้นประกอบธุรกิจ
2) การขออนุญาตก่อสร้าง
3) การขอใช้ไฟฟ้า
4) การจดทะเบียนทรัพย์สิน
5) การขอสินเชื่อ
6) การคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย
7) การชำระภาษี
8) การค้าระหว่างประเทศ
9) การบังคับใช้ข้อตกลง และ
10) การแก้ไขสภาวะล้มละลาย
ประเทศไทยถูกจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ โดยธนาคารโลกอยู่ที่อันดับ 21 ของโลก ในปี 2563 (2020) ซึ่งอันดับดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 6 อันดับ อันเป็นผลมาจากการปรับตัวของอันดับในด้านการคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย และด้านการขออนุญาตก่อสร้างที่มีการปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก
โดยในช่วงระหว่างปี 2561-2563 (2018-2020) ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ดีขึ้นในหลายด้าน ยกเว้นด้านการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ด้านการขอสินเชื่อ ด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านการบังคับใช้ข้อตกลง ที่มีอันดับความยากง่ายในการดำเนินการดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนที่สำคัญในเรื่องของการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในด้านการชำระภาษี การจดทะเบียนทรัพย์สิน รวมถึงด้านการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากอันดับในด้านดังกล่าวของไทยอยู่แค่ในช่วงอันดับที่ 62-68 ของโลกเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับหลาย ๆ ด้านที่ถูกจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก เช่น ด้านการคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย หรือด้านการขอใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาค ในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีคะแนนความยากง่ายในการประกอบธุรกิจที่ต่างจากประเทศผู้นำ 10 อันดับแรกของโลกอยู่พอสมควรในหลายด้าน ยกเว้นด้านที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย
ปีที่จัดทำล่าสุด : 2020 จำนวนประเทศที่จัดอันดับ : 190 ประเทศ
|
2 |
|
|
|
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ได้มีการจัดทำดัชนีความพร้อมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C E-Commerce Index) ขึ้น เพื่อวัดและประเมินความพร้อม รวมถึงระดับการพัฒนาในด้านที่เกี่ยวข้องกับการค้าผ่านช่องทางออนไลน์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่าง ๆ ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ความเป็นเจ้าของบัญชี จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ความน่าเชื่อถือของบริการไปรษณีย์ และความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ต รายละเอียด |
ในปี 2563 (2020) ความพร้อมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภคของประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 42 จากการจัดอันดับ 152 ประเทศทั่วโลก โดยพบว่า อันดับของประเทศไทยขยับดีขึ้นจากปีก่อนหน้า 6 อันดับ และในภาพรวม นับจากปี 2559 (2016) ประเทศไทยมีอันดับที่ปรับตัวดีขึ้นมากถึง 27 อันดับ (จากอันดับที่ 69)
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2016-2020) การพัฒนาที่เห็นได้ชัดคือ การพัฒนาในด้านจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นจากปี 2559 (2016) ส่วนการพัฒนาในด้านอื่น ๆ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งความเป็นเจ้าของบัญชี ความน่าเชื่อถือของบริการไปรษณีย์ รวมถึงความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศ
หากเปรียบเทียบการพัฒนาของประเทศไทยกับประเทศที่มีความพร้อมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภคในอันดับต้น ๆ ของโลก จะพบว่าความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศ และจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ยังคงเป็นจุดอ่อนหนึ่งที่ไทยต้องเร่งพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศเหล่านั้น
ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคอาเซียนในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย
|
3 |
|
|
|
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เป็นสถาบันหลักในด้านการบริหารของ สหภาพยุโรป ซึ่งมีหน้าที่จัดทำขึ้นเฉพาะกิจในปี 2559 โดยธนาคารโลก เพื่อใช้ศึกษาและประเมินระดับความแพร่หลายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาคส่วนต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ รายละเอียด |
|
4 |
|
|
|
องค์การสหประชาชาติ (UN) มีการสำรวจและจัดทำดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Development Index: EGDI) เป็นประจำทุก 2 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความพร้อมของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้ง ยังสะท้อนถึงความสามารถของภาครัฐในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน โดยในปีล่าสุด (2020) UN ได้ทำการจัดอันดับกับ 193 ประเทศทั่วโลก และพิจารณาความพร้อมของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ใน 3 ด้าน คือโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทุนมนุษย์ และการให้บริการออนไลน์ของภาครัฐ รายละเอียด |
ในปี 2563 (2020) UN ได้จัดอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ใน 193 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 57 ของโลก โดยอันดับดังกล่าวสูงขึ้นกว่า 16 อันดับเมื่อเปรียบเทียบกับอันดับในปี 2561 (2018) และจะเห็นได้ว่าอันดับดัชนีดังกล่าวของไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต
ทั้งนี้ จุดอ่อนของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย คือ การพัฒนาด้านทุนมนุษย์ ที่อันดับของประเทศไทยถือว่ายังต่ำเมื่อเทียบกับด้านอื่น ๆ รวมถึงด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ซึ่งแม้จะมีอันดับที่สูงกว่าด้านทุนมนุษย์ แต่อันดับดังกล่าวก็ยังอยู่ในอันดับที่ 62 จาก 193 ประเทศ ซึ่งถือว่าไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับด้านการให้บริการออนไลน์ (อันดับที่ 43 ของโลก)
หากเปรียบเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำ
|
5 |
|
|
|
องค์การสหประชาชาติ (UN) มีการจัดทำดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation Index: EPI) ซึ่งใช้สะท้อนถึงประสิทธิภาพด้านการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและประชาชน รวมถึงความพร้อมใช้งานของการบริการบนเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน โดยดำเนินการจัดทำทุก 2 ปี เช่นเดียวกับดัชนี EGDI รายละเอียด |
ในปี 2563 (2020) ประเทศไทยมีอันดับดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในอันดับที่ 51 ของโลก ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากการจัดอันดับในปี 2561 (2018) ที่อยู่ที่อันดับ 82 ของโลก ทำให้ปัจจุบัน ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสูงมาก
อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ค่อนข้างมาก และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีระดับของการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่น้อยกว่าประเทศเหล่านั้นอยู่ค่อนข้างมาก
|
6 |
|
|
|
จัดทำขึ้นในปี 2558-2559 โดยความร่วมมือระหว่างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) มหาวิทยาลัย Royal Melbourne Institute of Technology (RMIT University) จากประเทศออสเตรเลีย และบริษัทที่ปรึกษาทีอาร์พีซี (TRPC) จากประเทศสิงคโปร์ โดยดัชนีดังกล่าวถูกใช้เพื่อการศึกษาและประเมินระดับการประยุกต์ใช้ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายละเอียด |
|
7 |
|
|
|
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual สภาเศรษฐกิจโลก (WEF) ได้จัดทำดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก 4.0 (Global Competitiveness Index 4.0) ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2561 (2018) รายละเอียด |
* WEF ได้มีการนำข้อมูลปี 2560 (2017) มาจัดอันดับดัชนี GCI 4.0 ด้วย ทำให้ในการวิเคราะห์สามารถเปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละประเทศในช่วงระหว่างปี 2560-2562 (2017-2019) ได้
ดัชนีนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อวัดและประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของ 141 ประเทศทั่วโลก โดยพิจารณาจาก 12 เสาหลัก ครอบคลุม 103 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ เป็นการปรับปรุงจากกรอบแนวคิดเดิม คือ ความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index) โดยนำเรื่องดิจิทัลเข้ามาเพิ่มเติมในการจัดอันดับ
** เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ WEF ไม่สามารถจัดทำดัชนี GCI 4.0 ในปี 2020 ได้ นอกจากนี้ WEF ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงกรอบแนวคิดในการจัดทำดัชนีชี้วัดนี้
ในปี 2562 (2019) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก 4.0 ของประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 40 ของโลก จากการจัดอันดับ 141 ประเทศ โดยอันดับดังกล่าวลดลงเล็กน้อยจากอันดับที่ 38 ในปีก่อนหน้า แต่โดยรวม อันดับของประเทศไทยระหว่างปี 2560-2562 (2017-2019) ยังถือว่าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
หากพิจารณาตามเสาหลัก (Pillar) จะพบว่า มีหลายด้านที่อันดับของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เช่น ด้านสถาบัน ปรับตัวดีขึ้นจากอันดับที่ 69 ในปี 2560 (2017) เป็นอันดับที่ 67 ในปี 2562 (2019) ด้านตลาดสินค้า ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ จากอันดับที่ 90 เป็น 92 และ 84 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังพบว่า ในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค สุขภาพ การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และสมรรถภาพทางนวัตกรรม มีการปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2560 (2017) ในขณะที่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทักษะ ตลาดแรงงาน และระบบการเงิน กลับมีอันดับที่ต่ำลง
ทั้งนี้ สภาพตลาดสินค้าในประเทศ ทักษะของคนในประเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน ถือเป็นด้านที่เป็นจุดอ่อนของประเทศไทยที่ต้องเร่งพัฒนา เพราะอันดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการพัฒนาในด้านอื่น ๆ
หากเปรียบเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาค ในปี 2562 (2019) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ห่างจากประเทศเหล่านั้นอย่างมากในเกือบทุกด้าน จึงควรเร่งพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
|
8 |
|
|
|
อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitive Index : GCI) ที่จัดทำโดย World Economic Forum (WEF) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้วัดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศ ทั้งระดับ จุลภาค (Microeconomic) และ ระดับมหภาค (Macroeconomic) รายละเอียด |
โดยนิยาม “ขีดความสามารถ ในการแข่งขัน (Competitiveness)” ไว้ว่า เป็นการวัดความมีประสิทธิภาพของสถาน นโยบาย และปัจจัยที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของประเทศ นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็ง และจุดอ่อนของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาทิศทางของนโยบายในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและเพิ่ม ประสิทธิภาพของประเทศ อันจะส่งผลถึงความอยู่ดีกินดีของประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศต่อไป
|
9 |
|
|
|
ธนาคารโลก ได้มีการจัดทำดัชนีทุนมนุษย์ (Human Capital Index หรือ HCI) ขึ้นครั้งแรกในปี 2553 (2010)* เพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินระดับการพัฒนาทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตกำลังคนและผลิตภาพของตัวแรงงานรุ่นใหม่ที่จำเป็นในอนาคต โดยในส่วนของการพิจารณาตัวชี้วัดคล้ายคลึงกับ HDI ที่ UNDP จัดทำขึ้น รายละเอียด |
* World Bank จัดทำดัชนี HCI ไว้ในตั้งแต่ปี 2553 (2010) ก่อนจะหยุดจัดทำไป และได้กลับมาจัดทำอีกครั้งหนึ่งในปี 2560 (2017), 2561 (2018) และ 2563 (2020)
** ในมิติด้านการศึกษา World Bank ต้องการวัดและประเมินคุณภาพของการศึกษาที่เด็กนักเรียนแต่ละประเทศได้รับ รวมถึงจำนวนปีเฉลียของการเข้ารับการศึกษา อย่างไรก็ดี การวัดและประเมินเชิงคุณภาพข้างต้นไม่สามารถกระทำได้โดยตรง ทำให้ World Bank เลือกพิจารณา 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ จำนวนปีที่คาดว่าจะได้รับการศึกษา และ คะแนนทดสอบเชิงเหตุผล เข้ามาคำนวณได้เป็น จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ (Learning-adjusted Years of School)
ในปี 2563 (2020) ประเทศไทยมีอันดับดัชนีทุนมนุษย์อยู่ในอันดับที่ 63 จากการจัดอันดับ 174 ประเทศ ทั้งนี้ อันดับของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้นจากเมื่อปี 2561 (2018) ทั้งสิ้น 2 อันดับ โดยเป็นผลมาจากตัวชี้วัดอย่างจำนวนปีที่คาดว่าจะได้รับการศึกษา และอัตราการรอดชีวิตของผู้ใหญ่ ที่มีแนวโนัมค่าตัวชี้วัดปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีอันดับดัชนี HCI อยู่ในอันดับที่ 5 ของภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศอาเซียนที่มีอันดับสูงกว่าไทย ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ดารุสซาลาม และมาเลเซีย ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ถูกจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก จะพบว่า หลายตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงทุนมนุษย์ของประเทศไทยยังห่างจากประเทศชั้นนำค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคะแนนทดสอบเชิงเหตุผลของคนไทย (คะแนนของประเทศไทยอยู่ที่ 427 คะแนน ในปี 2563 (2020) ขณะที่คะแนนโดยเฉลี่ยของประเทศผู้นำใน 10 อันดับแรกของโลก อยู่ที่ 539 คะแนน) รวมถึงจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ (จำนวนปีของประเทศไทยอยู่ที่ 8.7 ปี ในปี 2563 (2020) ขณะที่ประเทศผู้นำใน 10 อันดับแรกของโลกมีค่าเฉลี่ยของจำนวนปีที่สูงถึง 11.8 ปี)
|
10 |
|
|
|
สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการ (IMD) มีการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของโลก (World Competitiveness Ranking: WCR) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 (2532) โดยมีวัตถุประสงค์ในการ
จัดทำเพื่อวัดและเปรียบเทียบการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ทั้ง 4 ด้าน ใน 64 ประเทศทั่วโลก รายละเอียด |
สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการ (IMD) ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของ 64 ประเทศทั่วโลก เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของแต่ละประเทศใน 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน
ในปี 2564 (2021) ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของโลกอยู่อันดับที่ 28 จากการจัดอันดับ 64 ประเทศทั่วโลก ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้า 1 อันดับ และในภาพรวมเมื่อเทียบกับการจัดอันดับในปี 2560 (2017) พบว่า อันดับของประเทศไทยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก โดยอันดับลดลงเพียง 1 อันดับเท่านั้น
โดยผลจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง (จากอันดับที่ 8 ในปี 2562 (2019) เป็นอันดับที่ 14 และ 21 ตามลำดับ) แต่ในเชิงของการพัฒนาประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีอันดับที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐานถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่น ๆ เนื่องจากอยู่ในอันดับที่ 43 ของโลก จาก 64 ประเทศ ขณะที่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ (3 ด้านที่เหลือ) ทำได้ดีกว่าและอยู่ในช่วงอันดับที่ 20 และ 21 ของโลก
|
11 |
|
|
|
ดัชนีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Development Index หรือ IDI) จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2552 (2009) โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เพื่อใช้เป็นดัชนีที่สะท้อนระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละประเทศ โดยพิจารณาการเข้าถึง การใช้งานและทักษะความสามารถในการใช้งานด้าน ICT ของคนในประเทศ อย่างไรก็ดี ITU ได้หยุดจัดทำดัชนี IDI ไปในปี 2560 (2017) และอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบดัชนีนี้ใหม่ รายละเอียด |
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้จัดทำดัชนีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (IDI) โดยพิจารณาจาก 11 ตัวชี้วัด
หมายเหตุ: ดัชนีนี้เป็นการจัดทำตามกรอบในปี 2017 โดยในปี 2020 ITU อยู่ระหว่างการปรับปรุงกรอบแนวทางการคำนวณและจัดทำดัชนี IDI
|
12 |
|
|
|
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้มีการจัดทำดัชนีด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์โลก (Global Cybersecurity Index) ขึ้น เพื่อชี้วัดระดับการพัฒนาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศต่าง ๆ ทั้งในด้านมาตรการทางกฎหมาย ด้านเทคนิค ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และด้านการสร้างความร่วมมือ รายละเอียด |
ในปี 2563 (2020) ITU ได้จัดอันดับและประเมินคะแนนด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ใน 194 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยมีคะแนนดัชนีอยู่ที่ 86.5 คะแนน หรืออยู่ในอันดับที่ 44 ของโลก
โดยมิติที่ประเทศไทยทำได้ดี คือ มาตรการทางกฎหมาย ซึ่งได้รับคะแนนดัชนีย่อยมากที่สุดจาก 5 ด้าน แต่มิติที่ประเทศไทยยังต้องปรับปรุงและเป็นจุดอ่อน คือ มาตรการทางเทคนิค ซึ่งได้รับคะแนนดัชนีย่อยน้อยที่สุดจาก 5 ด้าน และมิติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
หากเปรียบเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 ของภูมิภาคในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ตามลำดับ และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังต้องพัฒนาในมิติมาตรการทางเทคนิค และมิติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างมาก เพื่อให้มีความสามารถทางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และทัดเทียมกับประเทศผู้นำของโลกได้
|
13 |
|
|
|
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) และมหาวิทยาลัย INSEAD ดำเนินการจัดทำดัชนีด้านนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index: GII) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ การจัดอันดับดัชนี GII ณ ปัจจุบัน ทาง WIPO เลือกพิจารณาองค์ประกอบของตัวชี้วัดใน 7 มิติ และได้มีการจัดอันดับกับ 131 ประเทศทั่วโลก รายละเอียด |
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีด้านนวัตกรรมโลก (ดัชนี GII) อันดับที่ 44 จาก 131 ประเทศในปี 2563 (2020) ซึ่งอันดับดังกล่าวลดลงจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ แต่ในภาพรวม ประเทศไทยมีแนวโน้มทิศทางของการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ดีขึ้นจากในอดีต โดยประเทศไทยมีอันดับที่ปรับตัวดีขึ้นถึง 8 อันดับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
โดยระหว่างปี 2559-2563 (2016-2020) ประเทศไทยมีแนวโน้มทิศทางของการพัฒนาที่ดีขึ้นในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านสถาบัน มิติด้านทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยรวมไปถึงมิติด้านความรู้และผลลัพธ์ทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ในปี 2563 (2020) อันดับของไทยในมิติดังกล่าวมีการปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้า จึงต้องมีการปรับปรุงมิติเหล่านี้ให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ในมิติด้านศักยภาพของธุรกิจ มีแนวโน้มทิศทางของการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนที่สำคัญที่ต้องเร่งพัฒนา คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย เนื่องจากอันดับในมิติย่อยทั้งสองอยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับอันดับในมิติย่อยอื่น ๆ เช่นเดียวกับอันดับในมิติด้านสถาบัน ที่ถึงแม้จะมีการปรับตัวที่ดีขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังถือว่าอยู่ในอันดับ
ที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับมิติย่อยในด้านอื่น ๆ ส่วนด้านที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย คือ ด้านศักยภาพของตลาด และด้านศักยภาพของธุรกิจ
หากเปรียบเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ของภูมิภาคในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีอันดับดัชนีที่น้อยกว่าประเทศที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก อยู่พอสมควร
|
14 |
|
|
|
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งเป็นเครือข่ายด้านการพัฒนาระหว่างประเทศภายใต้สังกัด UN มีการจัดทำดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) ขึ้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงระดับของการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์และประชาชนภายในประเทศ จาก 189 ประเทศ ทั้งนี้ UNDP ได้มีการพิจารณาความสำคัญของการพัฒนามนุษย์ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การมีชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาพดี ความรู้ และมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี
รายละเอียด |
ในปี 2562 (2019) ประเทศไทยมีอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งถูกจัดอันดับ โดย UNDP อยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก จากการจัดอันดับ 189 ประเทศ ทั้งนี้ อันดับของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 (2015) ที่อยู่ในอันดับที่ 86 ของโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาของประเทศในตัวชี้วัดต่าง ๆ ทั้งอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าจะได้รับการศึกษา จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา และรายได้มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว โดยแปรค่าแบบ PPP
โดยประเทศไทยมีอันดับดัชนี HDI เป็นรองจากประเทศสิงคโปร์ บรูไน ดารุสซาลาม และมาเลเซีย เมื่อเปรียบเทียบด้วยกันกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน และถือว่าอันดับของประเทศไทยยังห่างจากประเทศผู้นำ 10 อันดับแรกของโลกอยู่มาก โดยเฉพาะมูลค่ารายได้มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว โดยแปรค่าแบบ PPP (มูลค่าระดับรายได้
มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวของประเทศผู้นำดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 59,620 ดอลาร์สหรัฐ แต่สำหรับประเทศไทยมีมูลค่าฯ เพียง 17,781 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น หรือห่างกันกว่า 3.35 เท่า)
|
15 |
|
|
|
ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ The United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) มีสถานะเป็นองค์การชํานาญพิเศษสังกัดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการพัฒนา ระหว่างประเทศ ...รายละเอียด |
|
16 |
|
|
|
สถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการ (IMD) ได้จัดอันดับขีดความสามารถ ความพร้อมในการปรับตัว และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 63 ประเทศทั่วโลก โดยประเมินจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความรู้ เทคโนโลยี และความพร้อมในอนาคต แบ่งออกเป็น 9 ปัจจัยย่อย ครอบคลุม 52 ตัวชี้วัด รายละเอียด |
ในปี 2563 (2020) ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของโลกที่อันดับ 39 จาก 63 ประเทศ ซึ่งการจัดอันดับดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้า 1 อันดับ และในภาพรวมเมื่อเทียบกับอันดับในปี 2559 (2016) (ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) พบว่า อันดับของประเทศไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
โดยปัจจัยที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลดีขึ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology) และปัจจัยด้านความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) ส่วนปัจจัยด้านความรู้ (Knowledge) นั้น ไม่ได้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในหลายเรื่อง ได้แก่ ด้านการฝึกอบรมและการศึกษา ด้านทัศนคติการปรับตัว รวมถึงด้านความคล่องตัวทางธุรกิจ ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2559-2563 (2016-2020) มีอันดับลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้ง ยังอยู่ในอันดับที่ต่ำหากเทียบกับการจัดอันดับของประเทศในด้านอื่น ๆ
ส่วนด้านที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย ได้แก่ ด้านเงินทุน และด้านโครงสร้างเทคโนโลยี ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 17 และ 25 จากการจัดอันดับ 63 ประเทศในปี 2563 (2020)
นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคในปี 2563 (2020) โดยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีการพัฒนาที่ห่างจากประเทศผู้นำค่อนข้างมาก
|
17 |
|
|
|
สถาบัน Portulans ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ได้จัดทำดัชนีบ่งชี้ระดับความพร้อมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Network Readiness Index: NRI) ขึ้นในปี ค.ศ. 2019 โดยเป็นการปรับปรุงกรอบการจัดทำดัชนี NRI ที่ WEF เคยจัดทำไว้ในอดีต ดัชนี NRI ในปีล่าสุดที่ถูกจัดทำขึ้น คือ ปี ค.ศ. 2020 ประกอบด้วยการจัดอันดับความพร้อมของการพัฒนาด้าน ICT และด้านดิจิทัลของ 134 ประเทศทั่วโลก ผ่านมุมมอง 4 มิติ คือ เทคโนโลยี ประชากร การกำกับดูแล และผลกระทบ รายละเอียด |
NRI เป็นดัชนีที่สะท้อนระดับความพร้อมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาประเทศ ที่ครอบคลุมทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ประกอบด้วย 4 มิติหลัก ซึ่งในแต่ละมิติประกอบด้วยดัชนีย่อยรวมทั้งหมด 12 ดัชนี และมีการพิจารณา
ตัวชี้วัด 60 ตัวชี้วัด
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดัชนีบ่งชี้ระดับความพร้อมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปี 2563 (2020) ที่อันดับ 51 ของโลก จาก 134 ประเทศ โดยปรับตัวดีขึ้น 5 อันดับจากปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ ดัชนีย่อยต่าง ๆ ของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้นในหลายมิติ ยกเว้นมิติการเข้าถึง และเนื้อหา ที่อันดับคงที่ และมิติภาคประชาชน เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ที่มีอันดับลดลงจากปีก่อนหน้า
จุดอ่อนสำคัญของประเทศไทย คือ การพัฒนาเรื่องเนื้อหา ความพร้อมของภาคธุรกิจ รวมถึงการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ซึ่งมีอันดับที่ไม่สูงนัก หากเทียบกับอันดับในมิติอื่น ๆ ขณะที่จุดแข็งของประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาเรื่องการเข้าถึง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ซึ่งในปี 2563 (2020) ประเทศไทยอยู่ในช่วงอันดับที่ 39-42 จากการจัดอันดับ 134 ประเทศ
หากเปรียบเทียบกับอาเซียน พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของภูมิภาคนี้ โดยในปี 2563 (2020) ประเทศไทยมีอันดับรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย และหากเปรียบเทียบกับประเทศใน 10 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยยังมีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ที่ห่างจากประเทศเหล่านี้ ทำให้ต้องมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านที่ทำได้ไม่ดี หรือเป็นจุดอ่อนของประเทศ ณ ปัจจุบัน
|