e-Standard
- 05 มิ.ย. 67
-
1237
-
(สิ้นสุดการเวียนร่าง) เวียนร่างข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล – คนต่างด้าวที่ทำธุรกรรมในประเทศไทย (ภายใน 19 มิ.ย. 67)
*** สิ้นสุดการเวียนร่าง ***
สพธอ. เวียนร่างข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล – คนต่างด้าวที่ทำธุรกรรมในประเทศไทย (Digital Identity - Foreigners in Thailand) และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมภายในวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 ได้ที่
ลิงก์ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม
ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล – คนต่างด้าวที่ทำธุรกรรมในประเทศไทย ฉบับนี้
- เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (identity provider: IdP) ในการพิสูจน์ตัวตนของคนต่างด้าวที่ประสงค์จะใช้บริการหรือทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เพื่อให้ IdP มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (identity assurance level: IAL) รวมทั้ง
- อธิบายชุดรายการข้อมูลสำหรับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (authoritative source: AS) ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (IdP) และผู้อาศัยการยืนยันตัวตน (relying party: RP) มีความเข้าใจตรงกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และส่งเสริมการใช้งานดิจิทัลไอดี (digital identity) ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีความมั่นคงปลอดภัย
ข้อเสนอแนะมาตรฐานฉบับนี้เป็นส่วนต่อขยายของชุดมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (เลขที่ มธอ. 11)
- โดย มธอ. 11 เล่ม 1 จะอธิบายกรอบการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
- และ มธอ. 11 เล่ม 3 จะเป็นข้อกำหนดของการยืนยันตัวตนและระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน (authentication assurance level: AAL) ซึ่งสามารถใช้ได้กับการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการที่เป็นคนต่างด้าว
- ขณะที่ มธอ. 11 เล่ม 2 จะเป็นข้อกำหนดของการพิสูจน์ตัวตนและระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (IAL) ซึ่งมุ่งไปที่กรณีใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ หรือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) (หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันเป็นรูปแบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด) เป็นหลักฐานแสดงตนในการพิสูจน์ตัวตน อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะมาตรฐานฉบับนี้จะมุ่งไปที่กรณีคนต่างด้าวใช้เอกสารสำคัญประจำตัวที่แตกต่างกันเป็นหลักฐานแสดงตนในการพิสูจน์ตัวตน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรศัพท์: 02-123-1234 # 90927 (ศุภวัส สิทธิธนสกุล)
อีเมล:
[email protected]