Digital Transformation
- 24 มิ.ย. 63
-
3682
-
Work From Home ภาครัฐ พร้อมไหม กับ New Normal
ETDA เผยผลสำรวจบุคลากรภาครัฐ 20 กระทรวง ช่วง COVID-19 ในภาวะล็อกดาวน์ที่ผ่านมา พร้อมทำงานจากบ้านในระดับปานกลาง
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดสำรวจทางออนไลน์ในหัวข้อ ความพร้อมของภาครัฐในการทำงานในช่วงวิกฤติ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมสู่ New Normal ในระหว่าง 8-12 มิถุนายน 2563 กับบุคคลากรภาครัฐ ทั้ง 20 กระทรวง ว่าช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 หรือช่วงที่มีมาตราการล็อกดาวน์ (Lockdown) ทำงานเฉลี่ยกี่วันต่อสัปดาห์ พึงพอใจที่ได้ทำงานจากบ้านในระดับใด จำแนกตามประเภท/ระดับตำแหน่ง/ลักษณะงานและสายงาน และเพราะอะไร ตลอดจนบางกลุ่มไม่ได้ทำงานเพราะอะไร
ความพร้อมทำงานจากที่บ้าน
76.24% ของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอบว่าทำงานจากบ้าน และ
ส่วนใหญ่ตอบว่ามีความพร้อมในการทำงานจากที่บ้าน ในระดับปานกลาง (46.9%) รองลงมาคือ มาก (34.1%), น้อย (11.9%) และไม่สะดวกเลย (7.1%)
ประเภท /ระดับตำแหน่ง /ลักษณะงาน ที่ส่วนใหญ่ตอบว่า
พร้อม ทำงานจากบ้าน
มาก ได้แก่
- ข้าราชการ ประเภทบริหาร/อำนวยการ (ลักษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค)
- ข้าราชการ ประเภทวิชาการ/ทั่วไป (ลักษณะงานเชิงเทคนิค)
- พนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว (ลักษณะงานเชิงเทคนิค)
พร้อม ทำงานจากบ้าน
ปานกลาง ได้แก่
- ข้าราชการ ประเภทบริหาร/อำนวยการ (ลักษณะงานเชิงเทคนิค)
- ข้าราชการ ประเภทวิชาการ/ทั่วไป (ล้กษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค)
- พนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว (ลักษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค)
สังเกตได้ว่ากลุ่มที่ทำงานข้าราชการ ประเภทวิชาการ/ทั่วไป และพนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว
ที่มีลักษณะงานเชิงเทคนิค มีความพร้อมในการทำงานมากกว่า กลุ่มที่ลักษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค
สายงานพร้อมทำงานจากที่บ้าน
สายงานที่ส่วนใหญ่ตอบว่า
พร้อมทำงาน จากบ้าน
มาก ได้แก่
- สายงานเทคนิค/เทคโนโลยี
- สายงานพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรม
- สายงานวิจัย/วิเคราะห์/ประมวลสถิติ
ในขณะที่ สายงานที่
พร้อมทำงาน จากบ้าน
ปานกลาง ได้แก่
- สายการสอน/การศึกษา
- สายงานกฎหมาย
- สายงานนโยบาย/กลยุทธ์/งบประมาณ/บริหารโครงการ
- สายงานบริหาร
- สายงานบริหารทรัพยากรบุคคล
- สายงานบัญชี/การเงิน
- สายงานพัสดุ/จัดซื้อจัดจ้าง
- สายงานวิชาการ
- สายงานสนับสนุน เช่น ผู้ประสานงาน ,เลขานุการ
- สายงานสื่อสารองค์กร/ลูกค้าสัมพันธ์
สังเกตเห็นว่า สายงานที่มีความ
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอยู่แล้วจะ
มีความพร้อมในการทำงานจากบ้านมากกว่าสายงานอื่น อาจเป็นเพราะมีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีในการทำงานออนไลน์ทำให้การทำงานสามารถยืดหยุ่นในเรื่องของสถานที่ทำงานได้
ความถี่เฉลี่ยและความพอใจทำงานจากที่บ้าน
ส่วนใหญ่ตอบว่า ทำงานจากบ้าน
3 วันต่อสัปดาห์ (22.3%) รองลงมาคือ 2 วันต่อสัปดาห์ (22.0%) 5 วันต่อสัปดาห์ (11.0%) 1 วันต่อสัปดาห์ (10.8%) 4 วันต่อสัปดาห์ (6.7%) 7 วันต่อสัปดาห์ (2.4%) และ 6 วันต่อสัปดาห์ (1.1%)
ทำให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่มีความพร้อมในการทำงานจากบ้านในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถทำงานจากบ้านได้ทุกวัน
ขณะที่
52.4% ที่ระบุว่า
พึงพอใจ กับการทำงานจากบ้าน
มาก ให้เหตุผลว่าพึงพอใจเพราะ
- ประหยัดรายจ่าย เช่น ค่าเดินทาง, ค่าอาหาร, ค่าชอปปิง 16.75%
- ได้มีโอกาสทดลองใช้เทคโนโลยีที่ใช้ทำงานออนไลน์ เช่น ประชุมออนไลน์, จัดเก็บข้อมูลออนไลน์, แก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ 15.79%
- มีเวลาให้กับตัวเอง และครอบครัวเพิ่มมากขึ้น 15.26%
- มีงานแทรก (Adh๐c) น้อยลง เช่น การประชุม หารือโดยไม่ได้นัดหมาย หรือไม่เป็นทางการ 11.62%
- มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น 11.17%
ประเภท /ระดับ /ลักษณะงาน แบบไหน พอใจทำงานจากที่บ้าน
เมื่อจำแนกตามประเภท /ระดับตำแหน่ง/ลักษณะงาน กับความพึงพอใจในการทำงานจากที่บ้าน กลุ่มที่
พอใจ ทำงานจากบ้าน
มาก ได้แก่
- ข้าราชการ ประเภทวิชาการ/ทั่วไป (ลักษณะงานเชิงเทคนิค)
- ข้าราชการ ประเภทวิชาการ/ทั่วไป (ลักษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค)
- พนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว (ลักษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค)
กลุ่มที่
พอใจ ทำงานจากบ้าน
ปานกลาง ได้แก่
- ข้าราชการ ประเภทบริหาร/อำนวยการ (ลักษณะงานเชิงเทคนิค)
- ข้าราชการ ประเภทบริหาร/อำนวยการ (ลักษณะงานไม่ได้เป็นเชิงเทคนิค)
- พนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว (ลักษณะงานเชิงเทคนิค)
สังเกตได้ว่า กลุ่มที่ทำงาน ประเภทวิชาการ/ทั่วไป มี
ความพอใจที่ทำงานจากบ้านมากกว่า ประเภทบริหาร/อำนวยการ
สายงานไหน พอใจทำงานจากที่บ้าน
สายงาน ที่ส่วนใหญ่ตอบว่า
พอใจ ที่ทำงานจากบ้าน
มาก ได้แก่
- สายงานเทคนิค/เทคโนโลยี
- สายงานพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรม
- สายงานวิจัย/วิเคราะห์/ประมวลสถิติ
- สายงานกฎหมาย
- สายงานนโยบาย/กลยุทธ์/งบประมาณ/บริหารโครงการ
- สายงานบริหาร
- สายงานบริหารทรัพยากรบุคคล
ใครไม่พร้อมทำงานจากที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม ยังมี
23.8% ที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า
ไม่ได้ทำงานจากบ้านเลยในช่วงล็อกดาวน์ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า
- ลักษณะงาน/ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบจำเป็นต้องมาทำงานที่ทำงานมากกว่า 33.0%
- ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เข้ามาทำงานทุกวัน 17.3%
- ที่ทำงานไม่มีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน 12.3%
- ข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานไม่พร้อม เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ไม่มี Fax ฯลฯ 10.1%
- ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ช้า หรือไม่เสถียร 7.8%
กรณีศึกษา "e-Meeting Platform กับเจ้าหน้าที่รัฐ"
ผลสำรวจพบ
- ช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ (46.0%) ใช้ e-Meeting Platform ในการประชุม/อบรม/สัมมนา ออนไลน์ เพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- ใช้ e-Meeting Platform ของ ต่างประเทศถึง 96.9%