e-Commerce
- 03 เม.ย. 63
-
5159
-
ETDA แนะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขายของออนไลน์อยู่บ้านนั่งนับเงิน ช่วงโควิด-19
จากสถาการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพของคนไทย ที่ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวันเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
ขณะที่หลายธุรกิจต้องปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้หลายคนต้องหยุดงานแบบไม่รับเงินเดือน และส่วนหนึ่งกลายเป็นคนว่างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังทยอยให้ความช่วยเหลือผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนว่างงานเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 เป็นร้อยละ 62 ของค่าจ้างเป็นเวลา 90 วัน ฯลฯ
ในฐานะหน่วงงานที่ส่งเสริมให้คนไทยใช้ออนไลน์ยกระดับคุณภาพชีวิต สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ จึงได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่รู้จะยุติลงเมื่อใดนี้ เพื่อหาลู่ทางให้คนที่กำลังว่างงานได้เห็นโอกาสใหม่ในการทำอาชีพทางออนไลน์
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. ที่เปรียบเทียบการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ของคนไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า แพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ มียอดการเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้น เช่น
Shopee เพิ่มขึ้นกว่า 478.6% และ
Lazada เพิ่ม 121.5% สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้การขายของออนไลน์สามารถทำได้ง่ายขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้ามารวมกันอยู่บนโลกออนไลน์แล้ว
ที่สำคัญ
การขายสินค้าออนไลน์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ยังมีข้อดีกว่าการขายสินค้าบนออฟไลน์ เพราะการขายสินค้าบนออนไลน์ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ซื้อขายได้ 24 ชั่วโมง เวลามีความยืดหยุ่นทั้งกับผู้ซื้อ ผู้ขาย และยังสามารถเลือกช่องทางการขาย ทำการตลาด โฆษณาหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง
ต่างจากการขายสินค้าออฟไลน์ ที่มีข้อจำกัดคือ ต้องมีหน้าร้าน ต้องจ่ายค่าเช่า ต้องเปิดปิดตามเวลา แล้วช่วงวิกฤตเช่นนี้ ลูกค้าลดลง ส่วนสถานประกอบการ ห้าง ร้านต้องปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ขณะที่รายย่อยขาดทุนหนัก เพราะขายของไม่ได้ ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องแบกรับในแต่ละวัน เป็นต้น
แม้จะมองเห็นโอกาส แต่จะขายของออนไลน์ประเภทให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลจาก
รายงานสถานการณ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำเดือนมีนาคม 2020 ของ
aCommerce และ
BRANDIQ ที่ทำดัชนีวัดการเติบโตของการซื้อสินค้า/บริการออนไลน์ พบว่า
กลุ่มสินค้าขายดี และมีโอกาสโตในช่วงนี้ คือ กลุ่มสินค้า Healthcare และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่กลุ่มสินค้าที่ขายได้น้อยลง และ
ควรพักก่อนช่วงนี้ คือ กลุ่มสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม แฟชั่น และผลิตภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง
ด้าน
ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เผยว่าหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ช่วงเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคมนี้ อัตราการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของคนไทยสูงขึ้นเกือบเท่าตัวในทุกหมวดสินค้า แต่ดูเหมือนมี
หมวดเดียวเท่านั้นที่อัตราการซื้อลดลงคือ หมวดสุขภาพความงาม เนื่องจากอาจเป็นเพราะคนอยู่บ้านและที่พักมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องแต่งสวย-หล่อ เหมือนออกนอกบ้าน ถือเป็นจังหวะดีที่ผู้ประกอบการ รวมถึงคนว่างงาน จะพลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส ทำตัวเองให้รอดด้วยการเปลี่ยนมาทำธุรกิจจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ (อ่านต่อที่
https://www.etda.or.th/content/e-commerce-in-light-of-covid-19.html)
อย่างไรก็ตาม การจะทำธุรกิจออนไลน์ให้รอดถึงฝั่งฝันในช่วงวิกฤตโควิด-19 สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ต้องคำนึง นอกจากการปรับกลยุทธ์การขายให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ของที่นำมาขายต้องไม่ผิดกฎหมาย สินค้าและบริการต้องดี มีมาตราฐาน และหากยังไม่มีความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซเพียงพอ ไม่รู้จะนำสินค้าขึ้นแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างไร เรียนรู้ฟรีที่เว็บไซต์
SME Go Online หลักสูตรอีคอมเมิร์ซเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs/OTOP
ทั้งนี้ หากผู้ซื้อผู้ขาย พบปัญหาซื้อ-ขายออนไลน์ สามารถปรึกษาและร้องเรียนได้ที่
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC หรือ
1212 Online Complaint Center ของ ETDA ที่เปิดให้บริการทั้งช่องทาง
ด้วยความมุ่งหวังของ ETDA ให้คนไทย Go Online เพื่อโอกาสและชีวิตที่ดีกว่า