TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

Knowledge Sharing

วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19 ตอนที่ 1

e-Commerce Documents
  • 23 มิ.ย. 63
  • 2234

วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19 ตอนที่ 1

เครื่องมือในการเขียนแผนธุรกิจ หรือ Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในการช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจผ่านปัจจัยทั้ง 9 ด้านที่มองว่าครอบคลุมส่วนสำคัญ ๆ ต่อธุรกิจทุกประเภท ซึ่งจากสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ที่ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจต่าง ๆ อาจจะยังเผชิญอยู่ สามารถเลือกเครื่องมือดังกล่าว มาวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีแนวทางการเขียนแผนธุรกิจที่รัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้

4 ปัจจัย สร้างความหลากหลาย ช่วยเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยง

info_BusinessCanvas-02-(1).jpg
1.กลุ่มลูกค้า (Customers Segment)  ความหลากหลายของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs แบบ B2B (Business-to-Business) เพราะ หากผู้ประกอบการผูกขาดลูกค้าหรือเลือกเจาะจงลูกค้าเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น เหตุภัยพิบัติ สถานการณ์โรคระบาด จะทำให้ธุรกิจเสียรายได้โดยทันที โดยไม่มีตลาดกลุ่มลูกค้าอื่นรองรับ ยกตัวอย่างเช่น
  • ปี 2562 นักท่องเที่ยวจีนเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 มีจำนวน 10.99 ล้านคน คิดเป็น 27.63% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ธุรกิจท่องเที่ยวหลายธุรกิจจึงเลือกที่จะทำการตลาดกับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนโดยเฉพาะ เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 จึงส่งผลต่อให้ธุรกิจท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบโดยตรง
info_BusinessCanvas-03.jpg
2.ช่องทางการขาย (Channels)  เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเกิดเป็นพฤติกรรม “ความปกติใหม่” (New normal) หลายอย่าง โดยเฉพาะในมิติของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ที่เปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เช่น การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารออนไลน์ การจัดกิจกรรมอีเวนต์ออนไลน์ เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและขยายช่องทางการขายให้หลากหลายมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ เช่น
  • ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบตามใจเชฟ (Omakase) ที่โดยปกติแล้วจะต้องเข้ารับบริการที่ร้านอาหารเท่านั้น แต่หลายร้านได้ปรับตัวเข้าสู่การขายเชต อาหารออนไลน์และจัดส่งถึงบ้าน (delivery) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  • ร้าน ชีวิต ชีวา ร้านขนมหวานที่ต้องปิดหน้าร้านตามมาตรการ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ผู้ประกอบการจึงปรับช่องทางการขายใหม่โดยการเพิ่มเติมช่องทางการขายออนไลน์ และปรับรูปแบบการนำเสนอสินค้า ให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าและประสบการณ์ (Value Proposition) เทียบเท่ากับการนั่งทานที่ร้าน
info_BusinessCanvas-04-(3).jpg

3.ทรัพยากร (Key Resource)  ในที่นี้รวมถึงวัตถุตั้งต้นในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ประกอบการควรสำรองไว้เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ไม่ให้กระบวนการผลิตและกระบวนการทำงานหยุดชะงัก อันอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดความน่าเชื่อถือและทำให้คู่แข่งได้เปรียบจนสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจากภาวะสินค้าและบริการของเราขาดตลาด
  • จากบทความเรื่อง ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า “นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกออกมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกว่าจะมีผลกระทบผ่านห่วงโซ่อุปทานโลกจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นโรงงานผลิตและส่งออกสินค้าขั้นกลางรายใหญ่ของโลก จำเป็นต้องหยุดการผลิตตามที่ทางการจีนมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด “อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” ถือเป็นกรณีศึกษาจากการพึ่งพาทรัพยากรเจ้าใดเจ้าหนึ่งที่ไม่มีตัวแทนหรือทางเลือกนั่นเอง 
info_BusinessCanvas-05.jpg
4.กระแสรายรับ (Revenue Streams)
  องค์ประกอบนี้จะช่วยให้ ธุรกิจยั่งยืนและมีความมั่นคงมากขึ้นหากผู้ประกอบการมีรายได้หลายช่องทางในการทำธุรกิจ โดยไม่พึ่งพิงช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น
  • PANPURI – แบรนด์ด้านสุขภาพและสปา ที่ผลิตภัณฑ์สปาเป็นรายได้หลักได้เพิ่มบริการด้านสปา ออนเซ็น และเปิดตัวผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ในช่วงปลายปี 2562 และเมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 แบรนด์ PANPURI ก็ได้ผลักดันการขายผลิตภัณฑ์ทางออนไลน์อย่างเต็มที่ ทั้งการจัดโปรโมชั่นออนไลน์ การโปรโมตผ่าน KOL หรือ Communities Beauty Online พร้อมเปิดตัวไลน์ผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางการทำเงินที่มากขึ้นของธุรกิจได้

นี่เป็นเพียง 4 องค์ประกอบแรกของเครื่องมือในการเขียนแผนธุรกิจ หรือ Business Model Canvas ที่เป็นตัวอย่างบทเรียนและสถานการณ์การปรับตัวของแต่ละธุรกิจเพื่อก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตการระบาดของโรค COVID-19 เป็นหนึ่งในแนวทางที่หวังให้ผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจและผู้ประกอบการได้ทบทวนแผนธุรกิจ ให้สามารถรับกับสถานการณ์ปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้นและเดินหน้าไปด้วยกันได้

สำหรับองค์ประกอบอื่น ๆ จะเป็นอย่างไร อย่าลืมติดตามกันต่อใน วางแผนธุรกิจอย่างไรให้รัดกุมขึ้น จากวิกฤต COVID-19 (ตอนที่ 2)

ที่มา
  1. "Business Model Canvas for User Experience". grasshopperherder.com. 2012-06-19. Retrieved 2012-06-20
  2. โคโรนา : นักท่องเที่ยวจีนหาย-รายได้หด ธุรกิจท่องเที่ยวไทยอนาคตไม่สดใส สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563 
  3. รวมร้าน ซูชิ โอมากาเสะ สั่ง delivery ได้ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563 
  4. ชีวิต ชีวา สั่งออนไลน์ได้แล้ว สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563
  5. ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563

Rating :
Avg: 4 (1 ratings)