e-Commerce
- 05 ส.ค. 64
-
1460
-
ETDA กับ พม. ร่วมมือในโครงการ ทอฝัน by พม.
เมื่อพูดถึง ทอฝัน by พม. ซึ่งมีช่องทางการจัดจำหน่ายทางการตลาด โดยเฉพาะในออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักมากมาย เบื้องหลังการจัดจำหน่ายก็คือ ETDA
ในยุค New Normal ออนไลน์เป็นอะไรที่สำคัญมาก วันนี้ เราสั่งของกันทุกวัน เพราะว่าออนไลน์สะดวกมาก ส่วนผู้ค้าก็สะดวกสบายเหมือนกัน เพราะได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย แล้วที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไร
มีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ETDA อยู่ภายใต้กระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งหน้าที่หลักก็คือการส่งเสริมการทําธุรกรรมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย แล้วก็นําธุรกรรมออนไลน์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการทําธุรกิจต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคเอกชน ETDA ก็จะเข้าไปช่วยส่งเสริมเรื่องนี้ รวมทั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม.
ก่อนจะเป็น ทอฝัน by พม.
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว หรือ
สค. ภายใต้ พม. เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายที่มีการทำงานรวมกันกับ ETDA เพราะกลุ่มคนเปราะบางก็เป็นกลุ่มที่ต้องการทำธุรกรรมออนไลน์และนำไปใช้ในแง่การสร้างอาชีพ ซึ่งที่ผ่านมา พม. และ สค. ได้มีการฝึกอาชีพให้ทั้งกลุ่มสตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ และคนพิการ รวมทั้งผู้ที่มีรายได้น้อยอยู่แล้ว เช่น การทำอาหาร งานฝีมือ ฯลฯ แต่ก็ต้องช่วยในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ด้วย
มีธรรม เล่าว่า
“ปีที่แล้วเราก็ทํางานร่วมกันแล้ว คือทางท่านอธิบดีเองแล้วก็ทางกระทรวง พม. ต้องการจะนำเอาออนไลน์เข้าไปช่วยในการส่งเสริมอาชีพ หลาย ๆ คนก็ผลิต พอยิ่งมีโควิดก็ไม่รู้จะขายที่ไหน ก็ต้องขายออนไลน์น่าจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุด”
การทำงานในปี 2563 ที่ผ่านมา คือการลงพื้นที่ไปสอนก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นการสอนผ่านทางออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น และผู้เรียนรู้ก็เป็นผู้สูงอายุด้วย
“ปีที่แล้ว ประสบความสำเร็จดีนะครับ แต่ว่าก็ทำได้เพียงระดับนึง ท่านอธิบดี สค. ก็เลยคิดว่า แทนที่จะให้เขาผลิตด้วย ขายด้วย ควรจะต้องมีคนกลางไปช่วยบริหารจัดการตรงนี้ เขาจะได้ไม่ต้องกังวลส่วนนี้ และก็จะได้ใช้ความรู้ในการผลิตสินค้าหรือบริการเต็มที่” มีธรรม กล่าว
วันนี้ของ ทอฝัน by พม.
นั่นเป็นที่มาที่ทำให้ ETDA ได้สานต่อมาสู่
โครงการ ทอฝัน by พม. โดยสร้างทีมในการเข้าไป Rebranding และบริหารจัดการงานหลังบ้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสต็อกสินค้า การจัดส่ง การชำระเงิน และช่องทางในการจัดจําหน่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเพจ
ทอฝัน by พม. หรือว่าจะต้องติดต่อกับทางแอปพลิเคชัน เช่น
https://shopee.co.th/torfun.shop
“เราดูแลให้หมดเลย แล้วเราเองขยายช่องทางให้ด้วย ในการที่จะเอาของเขา ไปอยู่ในอื่นด้วย เพราะว่าเราเข้าใจว่ายิ่งใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น โอกาสที่จะถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็จะยิ่งมากขึ้นด้วยเหมือนกัน ที่สําคัญกว่านั้นก็คือการชําระเงิน ก็ใช้การทําธุรกรรมออนไลน์เป็นหลัก”
นอกจากการวางระบบ ก็มี
การติดตามผลจากการที่เข้าไปช่วยดูแลระบบหลังบ้านทั้งหมด ว่ามีการจําหน่ายสินค้าได้ดีขึ้นหรือไม่ ยอดการจําหน่ายทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งผลตอบรับก็ดีมาก บางที่ก็ผลิตไม่ทัน
ที่สำคัญคือเรื่องการ Rebranding และ
ส่งเสริมในเรื่องการตลาดออนไลน์ เช่น การเล่าที่มาที่ไปของสินค้า ที่เรียกว่า
Storytelling “อย่างเช่น ใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นออร์แกนิกล้วน ๆ หรือทำจากกลุ่มคนเปราะบางจริง ๆ ที่ไม่มีโอกาสทําธุรกิจหรือทําอาชีพอื่น ๆ พอเขาเห็นเรื่องราวต่าง ๆ บางคนก็รีบซื้อเลย ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือด้วย” หรือ
การนำเสนอภาพสินค้าให้น่าสนใจ “ของจริง ๆ เห็นด้วยตาเปล่าดีมาก แต่เวลาถ่ายรูปอะไรก็แล้วแต่อาจจะไม่เท่าไหร่ แต่พอเราปรับแต่ง ก็ดูดีขึ้น”
มีธรรม ฝากว่า หากหน่วยงาน องค์กร หรือชุมชนใด ที่ต้องการให้ ETDA เข้าไปส่งเสริม สามารถติดต่อมาได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ
เมื่อพูดถึง ทอฝัน by พม. ซึ่งมีช่องทางการจัดจำหน่ายทางการตลาด โดยเฉพาะในออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักมากมาย เบื้องหลังการจัดจำหน่ายก็คือ ETDA