TOP

Sitemap

Sitemap Descriptions

เกี่ยวกับ สพธอ.

บริการของเรา

ข่าวประชาสัมพันธ์

ETDA เดินหน้า หลักสูตร “Digital Citizen” เสริมแกร่งพลเมืองดิจิทัลไปแล้วเกือบ 500 คน

Digital Citizen Documents
  • 10 ก.ย. 64
  • 4647

ETDA เดินหน้า หลักสูตร “Digital Citizen” เสริมแกร่งพลเมืองดิจิทัลไปแล้วเกือบ 500 คน

ภายใต้ โครงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำคู่มือการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ Electronic Transactions Development Agency (ETDA) (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้นำกรอบความฉลาดทางดิจิทัล มาจัดทำเป็นหลักสูตรอบรม “การสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต” หรือ “Digital Citizen” ที่เหมาะกับคนไทย โดยนำไปจัดอบรมในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เน้นกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชน และผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการใช้งานดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสม และมั่นคงปลอดภัย 

Slide3.JPG

เพียงเดือนเดียว ผ่านหลักสูตรไปแล้ว เกือบ 500 คน ทั่วประเทศ

การจัดอบรมเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล จัดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และไฮบริด ที่ผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ครอบคลุมทั่วประเทศ เช่น ภาคเหนือ (น่าน) ภาคใต้ (ตรัง) ภาคอีสาน (นครพนม เลย ขอนแก่น) ภาคกลาง (สระบุรี ลพบุรี) ภาคตะวันออก (ชลบุรี) รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมไปแล้ว 453 คน เป็นเยาวชน 237 คน และเป็นผู้สูงอายุ 216 คน

Slide5.JPG

กรอบความฉลาดทางดิจิทัล 5 ด้าน

เนื้อหาการอบรม ครอบคลุมกรอบความฉลาดทางดิจิทัลทั้ง 5 ด้าน ที่ ETDA และ มข. ได้ร่วมพัฒนา มุ่งสร้างความรู้และความตระหนักในประเด็นสำคัญที่อ่อนไหวของเยาวชนและผู้สูงอายุ ได้แก่

DQ_Thailand3.png

ด้านที่ 1 อัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identity) เพื่อให้สามารถการสร้างอัตลักษณ์ที่ดีและมีมารยาทในโลกดิจิทัล
ด้านที่ 2 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม (Digital Use) เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ทั้งในมิติของเวลา อุปกรณ์ การจัดการอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
ด้านที่ 3 การจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security) เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยง ป้องกัน และรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามออนไลน์ได้
ด้านที่ 4 การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูล ข่าวสาร และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ และสุดท้าย
ด้านที่ 5 การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งรู้จัก เข้าใจ และจัดการกับร่องรอยดิจิทัลที่ส่งผลดีต่อตนเองได้

Slide6.JPG

พบสกิลการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัลต่ำสุด แต่หลังอบรมสมรรรถนะสูงขึ้นทุกกลุ่ม

จากการจัดอบรม มีการประเมินผลการอบรมโดยการทดสอบก่อนและหลังการอบรม โดยในการทดสอบก่อนการอบรมถือเป็นการประเมินสมรรถนะพื้นฐานก่อนการอบรมทั้ง 5 ด้าน โดยพบว่า ในกลุ่มเยาวชน มีสมรรถนะพื้นฐานก่อนการอบรมในด้านอัตลักษณ์ดิจิทัลสูงที่สุด (ร้อยละ 57.35) และด้านการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัลต่ำสุด (ร้อยละ 43.55) ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสมรรถนะพื้นฐานก่อนการอบรมในด้านอัตลักษณ์ดิจิทัลสูงที่สุด (ร้อยละ 49.31) และด้านการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัลต่ำสุด (ร้อยละ 46.80) เช่นกัน

Slide2.JPG

เมื่อผ่านการอบรมแล้ว พบว่า สมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลในทุกด้านสูงขึ้น ทั้งในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุ
  • กลุ่มเยาวชนมีผลการทดสอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงขึ้นจากก่อนการอบรมที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.48 เป็นร้อยละ 74.10 โดยมีผลการทดสอบด้านการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) สูงสุดถึงร้อยละ 77.63
  • กลุ่มผู้สูงอายุ มีผลการทดสอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงขึ้นจากก่อนการอบรมที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.99 เป็นร้อยละ 73.75 โดยมีผลการทดสอบด้านการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) สูงสุดถึงร้อยละ 79.69
อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบหลังการอบรมของทั้งสองกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security)

หากพิจารณาผลการทดสอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลหลังการอบรมเปรียบเทียบตามภูมิภาคต่าง ๆ พบว่า กลุ่มเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีผลการทดสอบสูงสุด ร้อยละ 89.25 และกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ภาคกลาง (รวมภาคตะวันออก) มีผลการทดสอบต่ำสุด ร้อยละ 70.73 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุในภูมิภาคที่มีผลการทดสอบสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงสุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีผลการทดสอบสูงสุด ร้อยละ 97.25 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุที่มีพื้นที่ต่ำสุดคือ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีผลการทดสอบเพียง 70.11

Slide4.JPG

เตรียมเผยคู่มือ สื่อประกอบการเรียนรู้ และคอร์สออนไลน์ ภายในปีนี้ 

ผลจากการนำร่องหลักสูตร ทาง ETDA และ มข. จะนำไปปรับปรุงแนวทางการสอนและบทเรียนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคู่มือเนื้อหา และสื่อประกอบการเรียนรู้ รวมทั้งบทเรียนออนไลน์ ที่เหมาะสำหรับทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมาย และผู้สนใจทั่วไป ที่สามารถนำไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ติดตาม นำไปใช้ และถ่ายทอดต่อได้ฟรี สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ ETDA www.etda.or.th หรือช่องทางโซเชียลมีเดียของ ETDA ต่าง ๆ ของ ETDA เช่น เฟซบุ๊ก ETDA Thailand

20210910_dq_news_kku_web_book-(1).jpg

เผยแพร่คอร์สออนไลน์แล้วบนแพลตฟอร์ม ADTE ชวนทุกคนมาเรียนรู้ ฟรี

course cover
ล่าสุด ในเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม ADTE หรือ Academy for Digital Transformation by ETDA ได้เผยแพร่หลักสูตรออนไลน์ Digital Citizen : วัยเก๋า ฉลาดรู้เน็ต และ Digital Citizen : วัยใส ฉลาดรู้เน็ต ผู้สนใจสามารรถเข้าไปเรียนรู้ได้ที่ https://adte.etda.or.th/ โดยแพลตฟอร์มนี้จะทยอย นำหลักสูตรต่าง ๆ ของ ETDA มาเผยแพร่เพื่อร่วมสร้างคนดิจิทัลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
course cover

หลักสูตร “Digital Citizen” เสริมแกร่งพลเมืองดิจิทัล

Rating :
Avg: 5 (3 ratings)