ขมธอ. 38-2566 |
บริการเก็บเงินปลายทางสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(Cash on Delivery (COD) Service for e-Commerce)
ประกาศเมื่อ : 7 พ.ย. 2566
|
อธิบายภาพรวมของบริการเก็บเงินปลายทางสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดของบริการเก็บเงินปลายทาง เพื่อให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ให้บริการเก็บเงินปลายทางมีแนวทางในการให้บริการที่สอดคล้องกันและมีแนวปฏิบัติที่ดีในการให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคเมื่อเกิดปัญหา ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากการถูกหลอกลวงให้ชำระเงินและรับสินค้าที่ไม่ได้สั่ง หรือกรณีผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าแต่เมื่อชำระเงินและรับสินค้ามาแล้วปรากฏว่าได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่สั่ง และช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แบบเก็บเงินปลายทาง |
|
ขมธอ. 37-2566 |
โครงสร้างข้อมูลการท่องเที่ยว – แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว
(Tourism Data Structure – Tourist Attractions and Tourist Activities)
ประกาศเมื่อ : 9 ต.ค. 2566
|
กำหนดโครงสร้างข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยว (tourist attraction) และกิจกรรมการท่องเที่ยว (tourist activity) รวมถึงการใช้งานส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (application programming interface: API) ตามโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด เพื่อให้ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว (online travel agency: OTA) ผู้พัฒนาระบบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถนำไปใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความเข้าใจตรงกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย |
|
ขมธอ. 36-2566 |
บริการลงลายมือชื่อดิจิทัลที่ใช้การควบคุมจากระยะไกล
(Remote Signing Service)
ประกาศเมื่อ : 30 มิ.ย. 2566
|
อธิบายส่วนประกอบและหลักการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลงลายมือชื่อดิจิทัลที่ใช้การควบคุมจากระยะไกล (remote signing) โดยอาศัยระบบสนับสนุนการลงลายมือชื่อดิจิทัลด้วยเครื่องบริการที่เชื่อถือได้ (trustworthy systems supporting server signing: TW4S) ในการสร้างลายมือชื่อดิจิทัล เพื่อรับประกันว่ากุญแจสำหรับใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (signing key) อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น (sole control) รวมทั้งระบุข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัยของ TW4S เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยสามารถใช้บริการหรือให้บริการลงลายมือชื่อดิจิทัลที่ใช้การควบคุมจากระยะไกลได้โดยมีความน่าเชื่อถือและเป็นมาตรฐานเดียวกัน |
|
ขมธอ. 35-2567 เวอร์ชัน 1.1 |
บริการจัดทำ นำส่ง หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Message Generation, Delivery or Storage Service)
ประกาศเมื่อ : 21 ต.ค. 2567
|
อธิบายภาพรวมของบริการจัดทำ นำส่ง หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อกำหนดของบริการจัดทำหรือนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ให้บริการมีแนวทางในการจัดทำ นำส่ง หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย และช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลที่ใช้บริการจัดทำ นำส่ง หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่าข้อมูลได้รับการปกป้องจากความเสี่ยงของการสูญหาย การโจรกรรม ความเสียหาย หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต |
|
ขมธอ. 34-2566 |
ใบรับรองแพทย์อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Medical Certificate)
ประกาศเมื่อ : 27 ม.ค. 2566
|
กำหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง การลงลายมือชื่อ การตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเอกสารใบรับรองแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดโครงสร้างข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบรับรองแพทย์ในรูปแบบ XML (Extensible Markup Language) และ JSON (JavaScript Object Notation) ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ HL7 FHIR (Fast Healthcare Interoperability Resources) และเพื่อใช้เป็นมาตรฐานประกอบการจัดทำข้อมูลในใบรับรองแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 33-2566 |
การประทับเวลาอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Time-Stamping)
ประกาศเมื่อ : 24 ม.ค. 2566
|
อธิบายคำศัพท์ กระบวนการ และกรณีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการประทับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (electronic time-stamping) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประทับเวลาอิเล็กทรอนิกส์มีความเข้าใจตรงกัน รวมทั้งกำหนดแนวทางในการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการประทับเวลา (time-stamping authority: TSA) เพื่อให้การให้บริการประทับเวลาของ TSA ในประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล |
|
ขมธอ. 32-2565 |
การรวบรวม กลั่นกรอง และเผยแพร่รีวิวของผู้บริโภคบนช่องทางออนไลน์
(Collection Moderation and Publication of Online Customer Reviews)
ประกาศเมื่อ : 29 ก.ย. 2565
|
อธิบายหลักการและข้อกำหนดสำหรับผู้จัดการรีวิว (review administrator) ซึ่งเป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบในการจัดการเนื้อหารีวิวของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้จัดการรีวิวมีแนวปฏิบัติที่ดีในการรวบรวม กลั่นกรอง และเผยแพร่รีวิวของผู้บริโภค (consumer review) บนช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้ รีวิวของผู้บริโภคที่มีความโปร่งใสและมีความเป็นกลางจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคที่จะเขียนรีวิวต่อสินค้าหรือบริการ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะอ่านรีวิวของผู้บริโภครายอื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ปกป้องผู้ประกอบการจากการแสวงหาประโยชน์และความเสียหายที่เกิดจากการปลอมแปลงรีวิว และสนับสนุนผู้ประกอบการในการพิจารณาปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการตามรีวิว |
|
ขมธอ. 31-2565 |
การมอบอำนาจทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Delegation of Authority)
ประกาศเมื่อ : 29 ก.ย. 2565
|
อธิบายภาพรวมของการมอบอำนาจทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการมอบอำนาจ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของการมอบอำนาจ หลักฐานของการมอบอำนาจทางอิเล็กทรอนิกส์ และระบบสนับสนุนของการมอบอำนาจทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบสนับสนุนที่เกี่ยวข้องมาใช้กับการมอบอำนาจทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการมอบอำนาจในรูปแบบกระดาษ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 30-2565 |
การทดสอบสมรรถนะการทำงานเทคโนโลยีชีวมิติ
(Biometric Technology Performance Testing)
ประกาศเมื่อ : 21 เม.ย. 2565
|
เป็นข้อเสนอแนะสำหรับการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเทคโนโลยีชีวมิติในการลงทะเบียน พิสูจน์ยืนยันชีวมิติ และระบุชีวมิติ รวมถึง การทดสอบสมรรถนะการป้องกันการโจมตีหลอกระบบ โดยเหมาะสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสมรรถนะของอัลกอริทึม หรือ ระบบรู้จำชีวมิติอัตโนมัติ |
|
ขมธอ. 29 เล่ม 4-2565 |
เทคโนโลยีชีวมิติ - เล่ม 4: การใช้งานเทคโนโลยีการรู้จำลายม่านตาสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
(Biometric Technology – Part 4: Iris Recognition Technology Usage for Personal Verification)
ประกาศเมื่อ : 22 พ.ย. 2565
|
เป็นข้อเสนอแนะมาตรฐานที่ลงรายละเอียดสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทย ที่จะต้อง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการรู้จำลายม่านตาในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำหรับงานบริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามหน้าที่และความรับผิดชอบ |
|
ขมธอ. 29 เล่ม 3-2565 |
เทคโนโลยีชีวมิติ - เล่ม 3: การใช้งานเทคโนโลยีการรู้จำลายนิ้วมือสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
(Biometric Technology – Part 3: Fingerprint Recognition Technology Usage for Personal Verification)
ประกาศเมื่อ : 22 พ.ย. 2565
|
เป็น ข้อเสนอแนะมาตรฐานที่ลงรายละเอียดสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทย ที่จะต้อง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการรู้จำลายนิ้วมือในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำหรับงานบริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามหน้าที่และความรับผิดชอบ |
|
ขมธอ. 29 เล่ม 2-2565 |
เทคโนโลยีชีวมิติ - เล่ม 2: การใช้งานเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้าสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
(Biometric Technology – Part 2: Facial Recognition Technology Usage for Personal Verification)
ประกาศเมื่อ : 21 เม.ย. 2565
|
เป็นข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลที่มาจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้า เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการนำเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้าไปประยุกต์ใช้กับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำหรับงานบริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ |
|
ขมธอ. 29 เล่ม 1-2565 |
เทคโนโลยีชีวมิติ - เล่ม 1: การใช้งานเทคโนโลยีชีวมิติสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
(Biometric Technology – Part 1: Biometric Technology Usage for Personal Verification)
ประกาศเมื่อ : 21 เม.ย. 2565
|
เป็นข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการอัตลักษณ์บุคคลที่มาจากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการนำเทคโนโลยีชีวมิติไปประยุกต์ใช้กับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำหรับงานบริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ |
|
ขมธอ. 28-2564 |
ความยินยอมสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Privacy Notices and Consent)
ประกาศเมื่อ : 29 ก.ย. 2564 |
อธิบายภาพรวมและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัว (privacy notice) และการขอความยินยอม (consent) จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแนะนำสาระสำคัญของบันทึกการให้ความยินยอม |
|
ขมธอ. 27-2564 |
ข้อกำหนดทางเทคนิคของชุดข้อมูลร่วมสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Core Component Specification for Data Interoperability)
ประกาศเมื่อ : 2 ก.ย. 2564
|
อธิบายชุดข้อมูลร่วมซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับใช้พัฒนาข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้พัฒนานำข้อกำหนดทางเทคนิคไปใช้ออกแบบชุดข้อมูลร่วมต่าง ๆ และเพื่อให้ผู้พัฒนาเข้าใจกระบวนการค้นหาชุดข้อมูลร่วมจากพจนานุกรม
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 26-2564 เวอร์ชัน 2.0 |
ระบบการลงคะแนนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์์
(Electronic Voting System)
ประกาศเมื่อ : 13 ก.ย. 2564 |
เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พัฒนาระบบการลงคะแนนในการพัฒนาระบบ การลงคะแนนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถด้านฟังก์ชันการทำงานและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน |
|
ขมธอ. 25-2563 |
ข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบประมวลผลการศึกษา
(Message Standard for Academic Transcript)
ประกาศเมื่อ : 29 ต.ค. 2563
|
กำหนดโครงสร้างข้อมูลของข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบประมวลผลทางการศึกษาในรูปแบบ XML เพื่อให้สถาบันการศึกษาใช้เป็นมาตรฐานประกอบการจัดทำข้อมูลในใบประมวลผลการศึกษาได้
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 24-2563 |
โครงสร้างข้อมูลของเอกสารรับรองและเอกสารสำแดง
(Data Structure of Verifiable Credentials and Presentations)
ประกาศเมื่อ : 30 ก.ย. 2563 |
กำหนดโครงสร้างข้อมูลสำหรับเอกสารรับรอง (verifiable credential: VC) และเอกสารสำแดง (verifiable presentation: VP) รวมถึงอธิบายความเชื่อมโยงในการใช้งาน VC และ VP ระหว่างเอนทิตีที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 23-2563 |
แนวทางการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Signature Guideline)
ประกาศเมื่อ : 29 พ.ค. 2563
|
เพื่ออธิบายภาพรวมและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้งานมีแนวทางในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 22-2563 |
ข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใบเสร็จรับเงินภาครัฐ
(Message Standard for Government Receipt)
ประกาศเมื่อ : 31 มี.ค. 2563 |
กำหนดโครงสร้างข้อมูลของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นมาตรฐานประกอบการจัดทำข้อมูลในใบเสร็จรับเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 21-2562 |
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับผู้ให้บริการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Information Security for Data Message Generation, Transfer and Storage Service Providers)
ประกาศเมื่อ : 11 ม.ค. 2562
|
อธิบายแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับผู้ให้บริการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ช่วยให้บริการมีความมั่นคงปลอดภัยและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ให้บริการ |
|
ขมธอ. 20-2566 เวอร์ชัน 3.0 |
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล – ข้อกำหนดของ
การยืนยันตัวตน
(Digital Identity – Authentication Requirements)
ประกาศเมื่อ : 23 ก.พ. 2566
|
เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (identity provider: IdP) ในการบริหารจัดการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ เพื่อให้ IdP มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน (authentication assurance level: AAL)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 19-2566 เวอร์ชัน 3.0 |
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล – ข้อกำหนดของ
การพิสูจน์ตัวตน
(Digital Identity –
Identity Proofing Requirements)
ประกาศเมื่อ : 23 ก.พ. 2566
|
เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (identity provider: IdP) ในการพิสูจน์ตัวตนของบุคคลที่ประสงค์จะใช้บริการหรือทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ IdP มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตามระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตน (identity assurance level: IAL)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 18-2566 เวอร์ชัน 3.0 |
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล – กรอบการทำงาน
(Digital Identity – Framework)
ประกาศเมื่อ : 23 ก.พ. 2566
|
อธิบายคำศัพท์ กระบวนการ การประเมินความเสี่ยง และการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมีความเข้าใจตรงกัน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 17-2561 |
การทำธุรกรรมแบบพบเห็นลูกค้าต่อหน้าสำหรับธนาคาร
(Banking Transactions with Face-to-face Interaction)
ประกาศเมื่อ : 30 มี.ค. 2561
|
กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการทำธุรกรรมแบบพบเห็นลูกค้าต่อหน้าที่สาขาหรือเทียบเท่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณเอกสารกระดาษที่ใช้เป็นหลักฐานการทำธุรกรรมและเอกสารกระดาษอื่น ๆ ที่ธนาคารต้องจัดเก็บตามที่กฎหมายกำหนด |
|
ขมธอ. 16-2560 |
ข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการควบคุมวัตถุอันตราย
(Message Standard for Hazardous Substance Control)
ประกาศเมื่อ : 28 ธ.ค. 2560 |
กำหนดแนวทางการใช้งานและโครงสร้างข้อมูลของข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการควบคุมวัตถุอันตรายในรูปแบบ XML สำหรับการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ |
|
ขมธอ. 15-2566 เวอร์ชัน 2.0 |
ข้อมูลในใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการ
(Subscriber Certificate Profile)
ประกาศเมื่อ : 4 ต.ค. 2566
|
ข้อเสนอแนะมาตรฐานฉบับนี้กำหนดประเภทของใบรับรองและข้อมูลในใบรับรองของผู้ใช้บริการ 3 ประเภท ได้แก่ ใบรับรองประเภทบุคคลธรรมดา (natural person certificate) ใบรับรองประเภทนิติบุคคล (juristic person certificate) และใบรับรองประเภทเจ้าหน้าที่นิติบุคคล (enterprise user certificate)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 14-2560 |
การใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Using XML Messages for Inter-Organizational Data Exchange)
ประกาศเมื่อ : 23 พ.ค. 2560 |
สนับสนุนการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ รวมทั้งให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ มีแนวทางในการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในรูปแบบข้อความ XML ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน |
|
ขมธอ. 13-2560 |
รหัสสถานที่ออกหนังสือรับรอง
(Code for Certification Locations)
ประกาศเมื่อ : 26 พ.ค. 2560 |
อธิบายการกำหนดรหัสสถานที่ออกหนังสือรับรอง พร้อมบริหารจัดการมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการค้าระหว่างประเทศผ่านระบบ National Single Window |
|
ขมธอ. 12-2560 |
รหัสสถานพักแรมสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
(Accommodation Codes for Tourism Industry)
ประกาศเมื่อ: 12 เม.ย. 2560 |
บริหารจัดการการกำหนดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว โดยพัฒนาตามแนวมาตรฐานของมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว |
|
ขมธอ. 11-2560 |
การจัดทำหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Certificate)
ประกาศเมื่อ : 20 มี.ค. 2560 |
กำหนดมาตรฐานและวางแนวทางการจัดทำหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ มีผลผูกพันบังคับใช้ทางกฎหมายและสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับการทาธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม |
|
ขมธอ. 10-2560 |
การให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลโดยวิธีการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
(Consent for Information Disclosure via Internet)
ประกาศเมื่อ : 8 มี.ค. 2560 |
เพิ่มวิธีการให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลโดยวิธีการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและตอบสนองต่อความต้องการของเจ้าของข้อมูลผู้ให้ความยินยอมที่มีความหลากหลายมากขึ้นนอกเหนือไปจากการให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลเป็นหนังสือและโดยวิธีโทรสาร |
|
ขมธอ. 9-2560 |
การจำแนกประเภทและระบุหมายเลขไอดีของบริการภาครัฐ
(Classification and Identification of Government Services)
ประกาศเมื่อ : 7 ก.พ. 2560
|
กำหนดแนวทางในการจำแนกประเภทและระบุหมายเลขไอดีของบริการภาครัฐ แบบฟอร์ม/เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการภาครัฐ รวมถึงอธิบายแนวทางการระบุหมายเลขไอดีของบริการภาครัฐด้วยหมายเลขโอไอดี (Object Identifier: OID) ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในระดับสากล และขั้นตอนการจดทะเบียนหมายเลขโอไอดี |
|
ขมธอ. 8-2560 |
แนวทางผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ
(Trusted e-Commerce Merchants Guideline)
ประกาศเมื่อ : 20 ม.ค. 2560 |
เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดี สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ |
|
ขมธอ. 7-2559 |
การจัดทำแค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ด้วยรหัสสินค้าและบริการ
(e-Catalogue with UNSPSC for Products and Services)
ประกาศเมื่อ : 21 ต.ค. 2559 |
สนับสนุนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีช่องทางในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการไทยในระดับสากล อีกทั้งสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านการสื่อสาร การจัดซื้อจัดจ้าง และการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าอย่างเป็นระบบ |
|
ขมธอ. 6-2559 |
การให้บริการรับจดทะเบียนหมายเลขโอไอดีของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Registration for ETDA Object Identifier Tree)
ประกาศเมื่อ : 13 ก.ย. 2559
|
กำหนดโครงสร้างหมายเลขโอไอดีของ สพธอ. รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนเพื่อขอหมายเลขโอไอดีสำหรับระบุวัตถุของกิ่งในลำดับชั้นถัดลงมาจากกิ่ง ETDA ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 5-2559 |
แนวทางการใช้งานรหัสสถานที่เพื่อการค้าและการขนส่งของประเทศไทย
(Guideline for UN/LOCODE of Thailand)
ประกาศเมื่อ : 2 ส.ค. 2559
|
เป็นแนวทางการใช้งานรหัสสถานที่เพื่อการค้าและการขนส่ง (UN/LOCODE) ที่ได้มีการลงทะเบียนกับ สพธอ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ให้เป็น National Focal Point ในการดูแลรหัสสถานที่เพื่อการค้าและการขนส่ง (UN/LOCODE) ของประเทศไทย |
|
ขมธอ. 4-2559 |
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
(Web Application Security Standard)
ประกาศเมื่อ : 7 ก.ย. 2559
|
เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาและทดสอบโปรแกรมประยุกต์บนเว็บอย่างมั่นคงปลอดภัย อันจะช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีผ่านทางช่องโหว่ต่างๆ และสามารถจัดการต่อปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับได้
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 3-2560 เวอร์ชัน 2.0 |
ข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ
(Trade Services Message Standard)
ประกาศเมื่อ : 20 ม.ค. 2560
|
สนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาครัฐและเอกชนให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นจึงได้แก้ไขปรับปรุงโดยยกเลิกข้อเสนอแนะ ฯ เดิมและกำหนดข้อเสนอแนะ ฯ นี้ขึ้นใหม่
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
|
|
ขมธอ. 2-2557 |
บัญชีรายการข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย
(Thai Medicines Terminology: TMT)
ประกาศเมื่อ : 30 ก.ย. 2557
|
ให้สามารถนำมาตรฐานบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (Thai Medicines Terminology: TMT) ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและการบริการสุขภาพด้านยาและเวชภัณฑ์ |
|
ขมธอ. 1-2557 |
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับเว็บไซต์
(Website Security Standard)
ประกาศยกเลิก : 11 พ.ค. 2566
|
ยกเลิกการใช้งาน
|
|